Monday, October 13, 2008

สมุนไพรส่งเสริมเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน

เรียบเรียงโดย ผศ.ดร.นิสิต พิศุทธานันท์

ภาควิชาเภสัชเคมีและเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์

มหาวิทยาลัยนเรศวร โทรศัพท์ (055) 261000-4 ต่อ 3618

สมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน เป็นสมุนไพรที่ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยเบื้องต้น การคัดเลือกสมุนไพรที่ส่งเสริมให้ใช้ในชุมชน เป็นการใช้สมุนไพรเดี่ยว ซึ่งต่างจากการใช้ยาสมุนไพรตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยที่เป็นการรักษาแบบองค์รวม และมักใช้ยาเป็นตำรับประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิด แต่อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรเดี่ยวมีการยอมรับจากนักวิชาการในปัจจุบันมากกว่า เพราะมีข้อมูลจากผลการวิจัยสนับสนุน

เป้าหมายของการพัฒนาสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยา ในมุมมองที่น่าจะเป็นไปได้คือ การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเป็นที่ยอมรับของประชาชน ประชาชนมีความรู้และใช้สมุนไพรในการรักษาอาการเล็กๆน้อยๆ มีการบริโภคสมุนไพรเพื่อเสริมสุขภาพมากขึ้น ประชาชนมีทางเลือกในการใช้ยาสำเร็จรูปที่ผลิตจากสมุนไพรที่มีคุณภาพ

สมุนไพรส่งเสริมเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน แบ่งตามฤทธิ์รักษาได้ดังนี้

กลุ่ม 1 รักษาอาการไอและระคายคอจากเสมหะ
















































ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

ดีปลี

ผลแก่แห้ง

ประมาณครึ่งผล

ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือ

กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ

มะขาม

เนื้อในฝักแก่

หรือ

มะขามเปียก

จิ้มเกลือ รับประทานพอสมควร

มะนาว

ผลสดคั้นน้ำ

น้ำมะนาวเข้มข้นใส่เกลือเล็กน้อย

จิบบ่อยๆ หรือทำเป็นน้ำมะนาว

ดื่มบ่อยๆก็ได้

มะแว้งเครือ

ผลแก่สด

5-10 ผล

โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำ

ใส่เกลือ จิบบ่อยๆ หรือเคี้ยวผลสด

แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ

มะแว้งต้น

ผลแก่สด

5-10 ผล

โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำ

ใส่เกลือ จิบบ่อยๆ หรือเคี้ยวผลสด

แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ

เพกา

เมล็ด

ครึ่งถึง 1 กำมือ

(1.5 - 3 กรัม )

ใส่น้ำ 300 ซีซี ต้มไฟอ่อนพอเดือด

นาน 1 ชั่วโมง ดื่มวันละ 3 ครั้ง



กลุ่ม 2 รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด




























ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

กระเทียม

กลีบสด

5-7 กลีบ (5 กรัม )

ปอกเปลือก รับประทานดิบๆ หลังอาหาร

กระวาน

ผลแก่จัด

ตากแห้งบดเป็นผง

ครั้งละ 1 ช้อนชาครึ่ง

ถึง 3 ช้อนชา (1 - 2

กรัม )

ชงน้ำอุ่น ดื่ม หรือ

ใช้บรรเทาอาการไซ้ท้องเนื่องจากการใช้ยาระบายเช่น

มะขามแขก

กะทือ

เหง้าสด

ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (20 กรัม )

ย่างไฟพอสุกตำกับน้ำปูนใสคั้นเอาน้ำดื่ม





















































กระชาย

เหง้าและราก

ครึ่งกำมือ

( สด 5-10 กรัม

แห้ง 3-5 กรัม )

ต้มเอาน้ำดื่ม

กะเพรา

ใบและยอด

1 กำมือ ( สด 25 กรัม แห้ง 4 กรัม )

ต้มเอาน้ำดื่ม เหมาะสำหรับเด็กท้องอืด

กานพลู

ดอกตูมแห้ง

5-8 ดอก

(0.1-0.5 กรัม )

ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง

ชงน้ำดื่ม

1-3 ดอก

แช่ไว้ในกระติกน้ำร้อนที่ใช้ชงนมให้เด็กอ่อน

ข่า

เหง้าแก่

ขนาดเท่าหัวแม่มือ

( สด 5 กรัม

แห้ง 2 กรัม )

ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม

ขิง

เหง้าแก่

ขนาดเท่าหัวแม่มือ

( 5 กรัม )

ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม

ขมิ้น

เหง้าแก่

ล้างสะอาด หั่นเป็นชิ้นบางๆ ผึ่งแดด 1-2 วันบดให้ละเอียด

ผสมน้ำผึ้ง

ปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย เก็บในขวดสะอาด

รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ดวันละ 3-5 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน ถ้ามีอาการ

ท้องเสียให้หยุดยา

ดีปลี

ผลแก่แห้ง

1 กำมือ

(10-15 ดอก )

ต้มเอาน้ำดื่ม



































ตะไคร้

ลำต้นแก่ สด

1 กำมือ

(40-60 กรัม )

ทุบพอแหลก ต้มเอาน้ำดื่ม

มะนาว

เปลือกผลสด

ครึ่งผล

คลึงหรือทุบเล็กน้อยพอให้น้ำมันออก

ชงน้ำร้อนดื่ม

เร่ว

เมล็ดในผลแก่

ครั้งละ 3-9 ผล

(1- 3 กรัม )

บดเป็นผง รับประทานวันละ 3 ครั้ง

แห้วหมู

หัวใต้ดิน

1 กำมือ

(60-70 หัว

หรือ 15 กรัม )

ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม

สด 5 หัว

โขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน



กลุ่ม 3 รักษาอาการท้องผูก
















































ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

ขี้เหล็ก

ใบทั้งอ่อนและแก่

4-5 กำมือ

ต้มเอาน้ำ ดื่มก่อนอาหารหรือเวลามีอาการ

คูน

เนื้อในฝักแก่

เท่าหัวแม่มือ

(4 กรัม )

ต้มกับน้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย

ดื่มก่อนนอนหรือก่อนอาหารเช้า

ชุมเห็ดไทย

เมล็ดแห้ง

2 - 2 ช้อนคาวครึ่ง

(10-13 กรัม )

คั่ว แล้วต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม

ชุมเห็ดเทศ

ดอกสด

2-3 ช่อ

ต้มรับประทานกับน้ำพริก

ใบ

12 ใบ

ล้างสะอาด หั่น ตากแห้ง ต้มหรือชงน้ำดื่ม

บดเป็นผงผสมน้ำผึ้ง

ปั้นเม็ดเท่าปลายนิ้วก้อยรับประทานครั้งละ 3 เม็ดก่อนนอน

















มะขามแขก

ใบแห้ง

1-2 กำมือครึ่ง

(3-10 กรัม )

ต้มกับน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม

ฝัก

4-5 ฝัก

ต้มกับน้ำดื่มถ้ามีอาการไซ้ท้องให้ใช้ร่วมกับยาขับลม

เช่น กระวาน กานพลู



กลุ่ม 4 รักษาอาการท้องเสีย










































ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

ทับทิม

เปลือกผลแห้ง

1 ใน 4 ผล

ฝนกับน้ำฝนหรือน้ำปูนใสให้ข้นๆ

รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง

หรือต้มกับน้ำปูนใส ดื่มน้ำที่ต้ม

ฝรั่ง

ใบแก่

10-15 ใบ

ปิ้งไฟ ชงน้ำดื่ม

ผลอ่อน

1 ผล

ฝนกับน้ำปูนใส รับประทานเวลามีอาการ

มังคุด

เปลือกผลตากแห้ง

ต้มกับน้ำปูนใส หรือฝนกับน้ำ ดื่ม

ถ้ามีอาการปวดเบ่ง มีมูกเลือด

ใช้เปลือกผลแห้งประมาณครึ่งผล (4 กรัม )

ย่างไฟให้เกรียม ฝนกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว

หรือบดเป็นผง ละลายน้ำข้าวหรือ

น้ำต้มสุก ดื่มทุก 2 ชั่วโมง

สีเสียดเหนือ

เนื้อไม้

ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำ กรอง เคี่ยว

ให้งวด จะได้ก้อนแข็งสีดำเป็นเงา เรียกว่า

ก้อนสีเสียด นำมาบดเป็นผง ประมาณ

1/3-1/2 ช้อนชา (0.3-1 กรัม ) ต้มน้ำดื่ม









































กล้วยน้ำว้า

ผลห่าม

ครั้งละครึ่งถึง 1 ผล

รับประทาน

ผลดิบ

ฝานเป็นแว่น ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผง

ชงน้ำดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนแกง วันละ 4 ครั้ง

ก่อนอาหารและก่อนนอน

ผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานครั้งละ

4 เม็ด วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารและก่อนนอน

ถ้ามีอาการท้องอืด เฟ้อ ให้ใช้ร่วมกับยาขับลม

เช่น น้ำขิง

ฟ้าทะลาย

ใบสด

1-3 กำมือ

ต้มกับน้ำ 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหาร

หรือเวลามีอาการ

ล้างสะอาด ผึ่งลมให้แห้ง บดเป็นผงผสม

น้ำผึ้งปั้นลูกกลอน รับประทานครั้งละ

3-6 เม็ด วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารและ

ก่อนนอน

ใบแห้ง

ขยำเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ขวดแก้ว เทเหล้า

40 ดีกรีให้ท่วมตัวยา ปิดฝาให้แน่น

เขย่าขวดวันละครั้ง ครบ 7 วัน เปิดฝา

กรองเอาแต่น้ำ เก็บใส่ขวดสะอาดปิด

มิดชิด รับประทาน 1-2 ช้อนโต๊ะ

วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร



กลุ่ม 5 รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน
























ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

ขิง

เหง้าแก่

เท่าหัวแม่มือ

( สด 5 กรัม )

ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม

ยอ

ผลสดดิบหรือห่าม

ครั้งละ 2 กำมือ

(10 - 15 กรัม )

ฝานบางๆ ย่างหรือ

คั่วไฟอ่อนให้เหลืองกรอบ

ต้มหรือชงกับน้ำ จิบทีละน้อยบ่อยๆ ครั้ง

จะได้ผลดีกว่าดื่มครั้งเดียวจนหมด



กลุ่ม 6 รักษาโรคพยาธิลำไส้






























ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

ฟักทอง

เมล็ด

60 กรัม

ทุบให้แตก ผสมน้ำตาลและนม

หรือน้ำ จนได้ 500 ซีซี

แบ่งดื่ม 3 ครั้ง ทุก 2 ชั่วโมง

หลังจากนั้นอีก 2 ชั่วโมง

รับประทานยาระบาย

มะเกลือ

ผลดิบสด

สีเขียว

ไม่ช้ำไม่ดำ

จำนวนเท่าอายุ

คนไข้

แต่ไม่เกิน 25 ผล

ตำโขลกพอแหลก ผสมกับ

หัวกะทิสด คั้นเอาแต่น้ำ

ดื่มให้หมดก่อนอาหารเช้า

หลังจากนั้นอีก 3 ชั่วโมง

รับประทานยาระบาย

มะขาม

เมล็ดแก่คั่ว

กะเทาะเปลือก

20-30 เมล็ด

เอาเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือ

จนนุ่ม รับประทาน























มะหาด

แก่นไม้

( เนื้อไม้ )

ปวกหาด

1-2 ช้อนชา

(3-5 กรัม )

แก่นไม้ต้มเคี่ยวจนเกิดฟอง

ช้อนฟองขึ้นตากแห้ง

ได้ผงสีเหลือง เรียก “ ปวกหาด ”

บดละเอียด ผสมน้ำต้มสุกที่

เย็นแล้ว รับประทานก่อนอาหาร

หลังจากนั้น 2 ชั่วโมง

รับประทานยาระบาย

เล็บมือนาง

เมล็ด

เด็กใช้ 2-3 เมล็ด

(4-6 กรัม )

ผู้ใหญ่ใช้ 5-7 เมล็ด

(10-15 กรัม )

ทุบพอแตก ต้มเอาน้ำดื่มหรือ

หั่นทอดไข่รับประทาน

สะแก

เมล็ดแก่

แห้ง

1 ช้อนคาว

(1 กรัม )

ตำละเอียด ทอดกับไข่

ให้เด็กรับประทานตอนท้องว่าง



กลุ่ม 7 รักษาอาการเบื่ออาหาร
























ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

ขี้เหล็ก

ใบ

ใบแห้ง 30 กรัมหรือ

ใบสด 50 กรัม

ต้มเอาน้ำดื่มก่อนนอน

ใบอ่อน ดองเหล้า 7 วัน คนทุกวัน

สม่ำเสมอ ดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชา

ก่อนนอน

















บอระเพ็ด

เถาหรือต้นสด

2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม )

ตำ คั้นเอาน้ำดื่ม

ต้มเคี่ยวกับน้ำ ใช้น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยว

ให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มวันละ 2 ครั้ง

ก่อนอาหาร เช้า เย็น หรือเวลามีอาการ



กลุ่ม 8 รักษาอาการขัดเบา














































ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

กระเจี๊ยบแดง

กลีบเลี้ยง

หรือ

กลีบรองดอก

ตากแห้ง บดเป็นผง

ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา

(3 กรัม )

ชงน้ำเดือด 1 ถ้วยแก้ว (250 ซีซี )

ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส

วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวัน

จนกว่าจะหาย

ขลู่

ใบ

1 กำมือ

( สด 40-50 กรัม

แห้ง 15-20 กรัม )

หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ

1 ถ้วยชา (75 ซีซี ) วันละ 3 ครั้ง

ก่อนอาหาร ติดต่อกันทุกวัน

จนกว่าจะหาย

ชุมเห็ดไทย

เมล็ดแห้งคั่ว

1-3 ช้อนคาว

(5-15 กรัม )

ใส่น้ำ 1 ลิตร ตั้งไฟต้มให้เหลือ

600 ซีซี แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง

ครั้งละ 200 ซีซี หลังอาหาร

ติดต่อกันทุกวันจนกว่าจะหาย

ตะไคร้

ลำต้นแก่

1 กำมือ

( สด 40-60 กรัม

แห้ง 20-30 กรัม )

ต้มกับน้ำ ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา

วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ติดต่อกันทุกวันจนกว่าจะหาย

ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไฟอ่อนๆ

พอเหลือง ชงเป็นชา

ดื่มวันละ 3 ครั้งๆละ 1 ถ้วยชา

ติดต่อกันทุกวันจนกว่าจะหาย

สับปะรด

เหง้า

1 กอบมือ

( สด 200-250 กรัม

แห้ง 90-100 กรัม )

ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา

วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร

ติดต่อกันทุกวันจนกว่าจะหาย























หญ้าคา

ราก

1 กำมือ ( สด 40-50 กรัม

แห้ง 10 -15 กรัม )

หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้งก่อนอาหารติดต่อกันทุกวันจนกว่าจะหาย

หญ้าหนวดแมว

ใบแห้ง

4 หยิบมือ (4 กรัม )

ชงกับน้ำร้อน 1 ขวดแม่โขง

เหมือนชงชา ดื่มวันละ 1 ขวด

โดยแบ่งดื่ม 3 ครั้งหลังอาหาร

คนเป็นโรคหัวใจห้ามรับประทานเพราะมีสาร potassium มาก

อ้อยแดง

ลำต้น

1 กำมือ

( สด 70-90 กรัม

แห้ง 30-40 กรัม )

หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม

ครั้งละ 1 ถ้วยชา

วันละ 2 ครั้งก่อนอาหาร

ติดต่อกันทุกวันจนกว่าจะหาย



กลุ่ม 9 รักษาโรคกลากเกลื้อน






















ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

กระเทียม

กลีบกระเทียม

ใช้ไม้ไผ่เล็กๆ ขูดบริเวณที่เป็น

ให้ผิวแดง ฝานกลีบกระเทียม

แล้วนำมาถู

หรือตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น

บ่อยๆ หรือวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น

ทองพันชั่ง

ใบหรือราก

ใบ 5-8 ใบ หรือ

ราก 2-3 ราก

( อาจเพิ่มได้ตามอาการ )

ตำให้ละเอียด แช่เหล้า 7 วัน

ใช้ไม้ไผ่เล็กๆ ขูดบริเวณที่เป็น

ให้ผิวแดง ใช้น้ำยาที่ได้ ทาบ่อยๆ

















ข่า

เหง้าแก่

ล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่นบางๆ

หรือทุบให้แตก นำไปแช่เหล้าขาว

ทิ้งไว้ 1 คืน

ใช้ไม้ไผ่เล็กๆ ขูดบริเวณที่เป็น

ให้ผิวแดง ใช้น้ำยาที่ได้ ทา

วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น

ชุมเห็ดเทศ

ใบสด

ขยี้หรือตำให้ละเอียด

เติมน้ำเล็กน้อย

ใช้ไม้ไผ่เล็กๆ ขูดบริเวณที่เป็น

ให้ผิวแดง ใช้น้ำยาที่ได้ ทา

วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น

หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน

หรือใช้ใบสดรวมกับกระเทียม

อย่างละเท่าๆกัน ผสมปูนแดง

ที่ใช้กินกับหมากเล็กน้อย

ตำผสมกัน

ใช้ไม้ไผ่เล็กๆ ขูดบริเวณที่เป็น

ให้ผิวแดง ใช้น้ำยาที่ได้ ทา

วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น



กลุ่ม 10 รักษาอาการฝี แผลพุพอง แมลงสัตว์กัดต่อย




















































ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

ขมิ้น

เหง้า

ยาว 2 นิ้ว

ฝนกับน้ำต้มสุก ทาบริเวณที่เป็น

วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ผงขมิ้น

ทาก็ได้

ชุมเห็ดเทศ

ใบและก้านสด

1 กำมือ

ต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ

1 ส่วน ชะล้างบริเวณที่เป็น

วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น

ถ้าเป็นมากให้ใช้ประมาณ

10 กำมือ ต้มอาบ

ตำลึง

ใบสด

1 กำมือ

ล้างสะอาด ตำจนละเอียด

ผสมน้ำเล็กน้อย คั้นน้ำ

มาทาบริเวณที่เป็น ทาซ้ำบ่อยๆ

เทียนบ้าน

ใบและดอกสด

1 กำมือ

ตำละเอียด พอกและทา

บริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง

ระวังสีเปรอะเปื้อนเสื้อผ้า

ผักบุ้งทะเล

ใบและเถาสด

1 กำมือ

ล้างสะอาด ตำให้ละเอียด

คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่บวมแดงจากพิษแมงกะพรุน

พญายอ

ใบสด

10-15 ใบ

ล้างสะอาด ตำให้ละเอียด

เติมเหล้าขาวพอชุ่มยา

ใช้พอกบริเวณที่มีอาการ

พลู

ใบสด

1-2 ใบ

ตำให้ละเอียด ผสมกับเหล้าขาว

ใช้พอกบริเวณที่มีอาการ

ห้ามใช้กับแผลเปิด











เสลดพังพอน

ใบสด

1 กำมือ

ตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำ

หรือตำผสมเหล้าเล็กน้อย

ทาบริเวณที่เป็น



กลุ่ม 11 รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม






























ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

ไพล

เหง้า

ประมาณ 1 เหง้า

ตำ คั้นเอาน้ำ ทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ

ตำให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อย

คลุกเคล้ากัน แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ

อังไอน้ำให้ร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อย เช้า เย็น จนกว่าจะหาย

ไพลหนัก 2 กิโลกรัม

ทำน้ำมันไพล

โดยทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ จนเหลือง

หรี่ไฟ แล้วตักไพลออก ใส่กานพลูผง

ประมาณ 4 ช้อนชา ทอดต่อ

ด้วยไฟอ่อนๆประมาณ 10 นาที กรอง

แล้วรอจนน้ำมันอุ่น ใส่การบูร ลงไป

4 ช้อนชา เทใส่ภาชนะปิดมิดชิด

รอจนเย็น จึงเขย่าให้การบูรละลาย

ใช้ทาถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น

หรือเวลาปวดเมื่อย



กลุ่ม 12 รักษาอาการชันนะตุ
















ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

มะคำดีควาย

ผล

5 ผล

ทุบพอแตก ต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย

ทาที่หนังศีรษะบริเวณที่เป็น

วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น จนกว่าจะหาย

ระวังอย่าให้เข้าตา จะทำให้แสบตา



กลุ่ม 13 รักษาอาการไข้
























ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

ปลาไหลเผือก

รากแห้ง

ครั้งละ 1 กำมือ

(8-15 กรัม )

ต้มกับน้ำ ดื่มก่อนอาหาร

วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น

หรือเวลามีอาการ

ย่านาง

รากแห้ง

ครั้งละ 1 กำมือ

(8-15 กรัม )

ต้มกับน้ำ ดื่มก่อนอาหาร

วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น

หรือเวลามีอาการ



กลุ่ม 14 รักษาโรคเหา


















ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

น้อยหน่า

ใบสดหรือเมล็ด

ใบสดประมาณ 1 กำมือ

หรือเมล็ด 10 เมล็ด

ตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันมะพร้าว

1-2 ช้อนโต๊ะ ขยี้ให้ทั่วศีรษะ

ใช้ผ้าโพกไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง

แล้วสระผมให้สะอาด ระวังอย่าให้เข้าตา

เพราะจะแสบมากและทำให้ตาอักเสบได้



กลุ่ม 15 รักษาอาการแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก




























ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

ขนาดที่ใช้

วิธีใช้

บัวบก

ทั้งต้นสด

1 กำมือ

ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด

คั้นน้ำ ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ

กากก็ใช้พอกด้วย

มะพร้าว

น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ใส่ในภาชนะ

คนพร้อมๆกับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน

จนเข้ากันดี ใช้ทาที่แผลบ่อยๆ

ว่านหางจระเข้

ใบสดเลือกใบที่อยู่โคนต้น

ปอกเปลือกเขียวออก ล้างยางเหลือง

ออกให้หมด ขูดเอาวุ้นใสมาพอก

บริเวณแผล วันละ 2 ครั้งเช้าเย็น

จนกว่าแผลจะหาย



กลุ่ม 16 ที่ใช้แต่งสี


































ชื่อพืช

ส่วนที่ใช้

สารสำคัญ

ใช้แต่งสี

กระเจี๊ยบแดง

กลีบเลี้ยง

anthocyanin

ให้สีแดงเข้ม

อาหาร เครื่องดื่ม

ขมิ้น

เหง้า

curcumin

ให้สีเหลืองเข้ม

อาหารคาว เช่น แกงกระหรี่

ข้าวหมกไก่ แกงเหลือง

อาหารหวาน เช่น

ข้าวเหนียวเหลือง

คำฝอย

ดอกแห้ง

safflower yellow

ให้สีเหลืองส้ม

อาหาร

คำแสด

เมล็ด

bixin

ให้สีแดง

อาหารประเภทไขมัน เช่น

ฝอยทอง เนย ไอศกรีม

ใช้ย้อมผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม























เตย

ใบสด

xantophyll, chlorophyll

ให้สีเขียว

อาหารหวาน เช่น ลอดช่อง สลิ่ม

ขนมเปียกปูน วุ้นกะทิ น้ำเก๊กฮวย

ขนมเค้ก เป็นต้น

ใบ โขลกพอแหลก ต้มกับน้ำ

ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ทำเป็นชาใบเตย

ฝาง

แก่นไม้

sappen red

ให้สีชมพูเข้ม

อาหาร น้ำยาอุทัย

อัญชัน

ดอกสด

anthocyanin

ให้สีน้ำเงิน

เติมน้ำมะนาวเปลี่ยนเป็น

สีม่วง

อาหาร มักนิยมใช้แต่งสีน้ำเงิน

ของขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู





เอกสารอ้างอิง

• สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข . ยาสมุนไพร ในงานสาธารณสุข . พิมพ์ครั้งที่ 1. กทม .: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก , 2537.

• คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล . สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ . พิมพ์ครั้งที่ 1. กทม .: บริษัท

อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด , 2535.

• สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข .

สมุนไพรใกล้ตัว . กทม .: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก , 2534.

• จำรูญ มีขนอน , บรรณาธิการ . รายงานการประเมินผลโครงการสมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐาน โดยการสนับสนุนของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน . พิมพ์ครั้งแรก . กทม .: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก , 2533.

• สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข . สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานสำหรับบุคลากรสาธารณสุข . กทม .: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก , 2530

0 comments: