Tuesday, December 9, 2008

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด


ในประเทศไทยมะเร็งปอด (lung cancer) เป็นโรคที่เป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆ ทั้งในเพศชายและหญิง สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าคนไทยเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์ว่า ในแต่ละปีทั่วโลกมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ข้อมูลทั่วโลกยังพบว่า มะเร็งปอดเป็นโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตมากติดอันดับ 1 ใน 5 ทุกประเทศ

โรคมะเร็งปอดพบมากในคนอายุ 50-75 ปี เพศชายพบมากกว่าเพศหญิง พบมากในภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งนิยมสูบบุหรี่พื้นเมือง ขี้โย หรือยามวนซึ่งมีปริมาณทาร์และสารก่อมะเร็งอื่นๆ สูง ผลการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบชาวบ้านในพื้นที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดจากหมอกควันพิษและเสียชีวิตมาก เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ สาเหตุเพราะสภาพพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ และความกดอากาศสูง ทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กต่ำกว่า 2 .5 ไมครอน กระจายอยู่ในพื้นที่ราบแอ่งก้นกระทะ รวมทั้งสูดดมก๊าซเรดอน จากแร่ธาตุยูเรเนียม ที่มีอยู่มากผิดปกติกระจายตัวใต้พื้นดินสู่ผิวดิน ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกบ้านติดกับผิวดิน ทำให้สูดดมก๊าซเรดอนโดยไม่รู้ตัว ผลการวิจัยพบผู้ป่วยมะเร็งปอดสูงถึง 80-90 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิตถึง 40 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงเป็น 5 เท่าของค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ

สาเหตุ

  1. การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานาน ๆ
  2. มีส่วนสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปอด กล่าวคือ 80% ของผู้ที่เป็นมะเร็งปอดสูบบุหรี่จัด ซึ่งเกณฑ์ที่ถือว่าสูบบุหรี่จัด ได้แก่ การสูบบุหรี่ อย่างน้อยวันละ 20 มวน ติดต่อกัน 20 ปี ขึ้นไป หรืออย่างน้อย วันละ 10 มวน สูบติดต่อกันประมาณ 30 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 จะเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ และประมาณร้อยละ 5 จะเป็นผู้ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่น การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด ในบุหรี่ 1 มวนจะมีสารซึ่งเป็นส่วนประกอบประมาณ 4,000 ชนิด และในจำนวนนี้จะมีประมาณ 60 ชนิดที่เป็นสารพิษหรือสารก่อมะเร็ง สารเหล่านี้เมื่อผ่านเข้าปอดจะทำลายเซลล์ปอดทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ เมื่อระยะเวลานานขึ้นเซลล์เหล่านี้จะกลายเป็นเซลล์มะเร็งโอกาสในการเกิดมะเร็งปอดในผู้สูบบุหรี่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุที่เริ่มสูบบุหรี่ ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ จำนวนบุหรี่ที่สูบในแต่ละวัน และความลึกในการสูบบุหรี่เข้าปอด จากข้อมูลพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ถึง 10 เท่า และถ้าสูบบุหรี่วันละ 1 ซอง หรือ 20 มวน โอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดจะเพิ่มเป็น 20 เท่า การหยุดสูบบุหรี่จะช่วยลดการเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดได้และจะเห็นผลชัดเจนเมื่อหยุดสูบบุหรี่ได้นานมากกว่า 5 ปี ขึ้นไปการสูบซิการ์หรือไปป์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติเช่นกัน ระยะเวลาที่สูบ ปริมาณแต่ละวัน และความลึกของการสูบ ล้วนมีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากน้อยต่างกัน สำหรับผู้ที่ไม่ได้สูบเข้าปอดก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในช่องปากได้อีกด้วย
  3. ผู้ที่สูบบุหรี่และเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอด แผลเป็นในปอด อันเป็นผลมาจากการเป็นโรคเรื้อรังมานาน เช่น วัณโรคปอด อาจจะเป็นจุดก่อให้เกิดมะเร็งได้
  4. ผู้ป่วยส่วนน้อยอีก 10-15% ที่ไม่สูบบุหรี่อาจมีประวัติได้รับสารก่อมะเร็งบ่อยๆ เช่น
  5. มลภาวะในอากาศจากอุตสาหกรรมโลหะหนัก ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเหมืองแร่ เช่น
  6. แอสเบสตอส แร่เรดอน เยื่อหิน (asbestos) พบได้ในเหมืองหรือโรงงานที่ผลิตหรือใช้สารนี้ เช่น โรงงานที่ผลิตหรือใช้สารนี้ เช่น โรงงานผลิตผ้าเบรค คลัทช์ ฉนวนกันความร้อน และโรงงานทอผ้า ละอองของสารเยื่อหินสามารถล่องลอยในอากาศ เมื่อสูดดมเข้าไปสารจะไปตกค้างในปอด ทำอันตรายต่อเซลล์ปอด ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดตามมา ผู้ที่สูดดมสารนี้จำนวนมากมีโอกาศเกิดโรคมะเร็งปอดได้มากกว่าคนปกติถึง 3 – 4 เท่า ผู้ที่สูดดมเอาสารแอสเบสตอส ซึ่งพบในฉนวนกันความร้อนในบ้าน ผ้าเบรค และคลัส
    ก๊าซเรดอน (radon) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส เป็นก๊าซธรรมชาติที่พบในดินและก้อนหิน ก๊าซชนิดนี้สามารถทำอันตรายต่อปอดและทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ ผู้ที่ทำงานในเหมืองอาจได้รับอันตรายจากก๊าซนี้ได้แอสเบสตอส นิเกล และสารกัมมันตรังสี
  7. ควันมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ความสกปรกของอากาศในเมืองใหญ่ ๆ ทำให้ภาวะอากาศเป็นพิษ เกิดจากควันดำของท่อไอเสีย ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ
  8. ปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งปอด ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นผลร่วมกัน จาก
  9. ลักษณะเสี่ยงทางพันธุกรรม กับ สารที่ระคายต่อเซลล์ของปอดจากภายนอก ที่สำคัญคือ สารพิษจากควันบุหรี่ สารกัมมันตภาพรังสี และอาจจะเกี่ยวกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
  10. การรับประทานอาหารเสริมวิตามินอีในปริมาณมากๆ เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด การรับวิตามินอีเพิ่มขึ้นทุกๆ 100 มิลลิกรัมกรัม/วัน จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด ร้อยละ 7
  11. เซลล์มะเร็ง

    ปกติเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเมื่อเสื่อมและตาย ร่างกายก็จะสร้างเซลล์ใหม่มาทดแทนภายใต้การควบคุมของร่างกาย 
    แต่เมื่อไม่สามารถควบคุมได้ ร่างกายจะสร้างเซลล์ให้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นก้อนเนื้อที่ผิดปกติ หรือเนื้องอก แต่หากเนื้อส่วนนั้นเข้าไปแทรกแซง ทำลายอวัยวะอื่นๆ ก็จะเรียกว่า เนื้อร้ายหรือมะเร็ง

  1.  
    1. ข้อมูลทางการวิจัยพบว่า ความผิดปกติแรกเริ่มจะเกิดในระดับโครโมโซมของเซลล์ ซึ่งในเซลล์ที่เป็นปกติอยู่จะสามารถแก้ไขความผิดปกตินั้นได้เอง แต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดความผิดปกติบ่อยครั้งขึ้น หรือเซลล์นั้นไม่สามารถแก้ไขความผิดปกติที่เกิดได้ก็จะทำให้เกิดเซลล์ที่ผิดปกติอย่างถาวร ซึ่งจะเจริญเติบโตแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด

โรคมะเร็งปอดแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้สองกลุ่มคือ non-small cell lung cancer (NSCLC) และ small cell lung cancer (SCLC)

ซึ่งมะเร็งปอดทั้งสองกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโต และแพร่กระจายของโรคแตกต่างกัน วิธีที่ใช้รักษาจึงมีความแตกต่างกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

non-small cell lung cancer (NSCLC) เป็นมะเร็งปอดที่พบได้บ่อยกว่า small cell lung cancer (SCLC)

แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 3 ชนิด คือ squamous cell carcinoma (epidermoid carcinoma) , adenocarcinoma และ large cell carcinoma

small cell lung cancer (SCLC) เป็นกลุ่มมะเร็งที่พบได้น้อยกว่า non-small cell lung cancer (NSCLC)

แต่มะเร็งกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโตได้เร็วและมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้บ่อยกว่ากลุ่ม non-small cell lung cancer (NSCLC)

ชนิดของมะเร็งปอด

 

 

ในส่วนของมะเร็งปอด มักเกิดจากเซลล์ของเยื่อบุหลอดลม แบ่งได้ 2 กลุ่ม

 

 

 

 

 

  1. กลุ่มมะเร็งชนิดที่มีเซลล์ขนาดเล็ก พบได้ร้อยละ 15-20 เป็นก้อนเล็กที่มักจะใช้ยาเคมีบำบัดในการรักษา
  2. กลุ่มมะเร็งชนิดเซลล์ขนาดใหญ่ พบสูงถึงร้อยละ 80 ของมะเร็งปอด ก้อนเนื้ออยู่ได้นานกว่าชนิดแรก มักจะพบในปอดส่วนกลางใกล้ขั้วปอด ในผู้ที่สูบบุหรี่จัด ถัดไปมักพบที่ปอดส่วนนอก ของคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ บางครั้งเป็นผลจากการเป็นแผลที่ปอด เช่น แผลวัณโรค แผลปอดบวม

อาการ

มะเร็งปอดส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้อาจมีอาการไอ หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด ปอดอักเสบบ่อยๆ เจ็บลึกที่หน้าอก และอาการเสียงแหบ เป็นต้น ผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกอาจไม่แสดงอาการใดๆ ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ในระยะโรคลุกลามและโอกาสรักษาหายขาดลดลง

ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดบางราย อาจมีอาการแรกเริ่ม คือ ไอเรื้อรัง มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักตัวลด เสียงแหบ เสมหะมีเลือดปน และหายใจหอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก เพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ส่วนใหญ่เมื่อผู้ป่วยมีอาการข้างต้นก็ยังไม่ยอมพบแพทย์เพื่อตรวจ จนทำให้ร้อยละ 85 เสียชีวิตในเวลาต่อมา

ผู้ป่วยเป็นมะเร็งปอดในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ ต้องมีอาการรุนแรงหรือรู้ตัวอีกทีมะเร็งก็อยู่ในระยะลุกลามและแพร่กระจายแล้ว ดังนั้น ผู้ป่วยมะเร็งปอดกว่า 90 % จึงเสียชีวิตภายใน 1 - 2 ปี ระยะเริ่มแรกของโรค ไม่มีอาการใดๆ ที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นมะเร็งปอด แต่อาจพบอาการไอเรื้อรัง

อาการต่างๆที่อาจพบ ได้แก่

  1. ไอแห้งๆ อยู่นานกว่าธรรมดา ลักษณะไอแห้งๆ นานกว่าธรรมดา บางครั้ง มีเสมหะ หรือมีเลือดออกเป็นเพียงสายๆติดปนกับเสมหะออกมา
  2. ไอมีเสมหะ
  3. ไอเป็นเลือด แต่เลือดมักออกปนมากับเสมหะ
  4. ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยไม่มาพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา ทำใหโอกาสที่จะรักษาหายลดน้อยลง
  5. น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ซีด อ่อนเพลีย
  6. เสียงแหบ เพราะมะเร็งลุกลามไปยังประสาทบริเวณกล่องเสียง
  7. บวมที่หน้า คอ แขน และอกส่วนบน เนื่องจากมีเลือดดำคั่ง
  8. หายใจลำบาก และหอบเหนื่อย เนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อที่ปอดสำหรับหายใจเหลือน้อยลงไม่เพียงพอกับ 
    ความต้องการของร่างกาย
  9. กลืนลำบาก เนื่องจากหลอดอาหารถูกกด
  10. เจ็บปวด เนื่องจากมะเร็งลุกลามแพร่กระจายไปในกระดูกผนังอก
  11. อัมพาด เนื่องจากมะเร็งแพร่กระจาย ไปยังสมองหรือไขสันหลัง
  12. การวินิจฉัย

    1. ถ่ายภาพเอกซเรย์ปอด
    2. ตรวจเสมหะที่ไอออกมาเพื่อหาเซลล์มะเร็ง การตรวจเสมหะเพื่อหาเซลล์มะเร็งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดและเมื่อต้องการยืนยันผลการวินิจฉัยในกรณีที่ยังไม่ทราบแน่ชัด จะต้องมีการตัดเนื้อเยื่อมาตรวจเพิ่มเติม
    3. ส่องกล้องตรวจภายในหลอดลม แพทย์จะทำการส่องกล้องซึ่งมีขนาดเล็ก ผ่านทางช่องปาก หรือจมูกเข้าไปในท่อหลอดลมลงไปยังหลอดลมย่อย และสามารถเก็บเสมหะหรือตัดก้อนเนื้องอกผ่านทางกล้องนี้ได้เพื่อนำไปตรวจวินิจฉัย
    4. ใช้เข็มเจาะปอดแทงผ่านผนังทรวงอก โดยการแทงเข็มผ่านผิวหนังที่บริเวณทรวงอกไปยังก้อนที่ปอดเพื่อตัดชิ้นเนื้อมาตรวจ การเจาะน้ำในช่องปอดในกรณีที่มีน้ำในช่องปอด สามารถใช้เข็มแทงผ่านเข้าไปในช่องปอด เพื่อนำน้ำในช่องปอดมาตรวจหาเซลล์มะเร็งได้
    5. ขลิบชิ้นเนื้อจากหลอดลม หรือต่อมน้ำเหลืองเหนือไหปลาร้า เพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา บางรายอาจต้องทำการผ่าตัดทรวงอกเป็นการผ่าตัดเปิดเข้าไปในช่องทรวงอก เพื่อตัดเนื้อเยื่อที่สังสัยมาตรวจ ซึ่งเป็นการผ่าตัดใหญ่ วิธีนี้จะทำก็ต่อเมื่อไม่สามารถทำด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นได้

    เมื่อปี พ.ศ. 2550 นักวิทยาศาสตร์จากเมืองไทเป ไต้หวัน ประสบความสำเร็จในการพัฒนาชุดตรวจมะเร็งปอด โดยได้วิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อปอดที่นำมาจากผู้ป่วยมะเร็งปอด 125 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการรักษา และแยกเอายีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งปอด มาใช้พัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัย โดยใช้เทคโนโลยีดีเอนเอไมโครอาเรย์ (DNA Microarray) ด้วยเทคโนโลยีนี้ ทำให้ทีมวิจัยวินิจฉัยยีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปอดได้ถึง 672 ยีน ในจำนวนนี้ มียีนสำคัญ 4 ยีนที่เกี่ยวข้องกับโอกาสของการหายจากโรค และยีนสำคัญอีก 12 ยีน ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิดโรค ความรู้ที่ได้จากการศึกษายีนที่เกี่ยวข้องกับโรค นำไปสู่การพัฒนาเทคโลยีสำหรับชุดตรวจวินิจฉัยมะเร็งปอดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีทำให้แพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยมะเร็งปอดเป็นมะเร็งในระยะใด แม้กระทั่งในระยะที่ยังไม่มีอาการ ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่วิธีการรักษาด้วยวิธีต่างๆ อย่างเหมาะสม

    การรักษา

     

    1. ส่วนการรักษาในผู้ที่พบว่าเป็นโรคมะเร็งปอดแน่นอนแล้ว แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะรักษาด้วยวิธีใดจึงจะเหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาถึง อายุ ภาวะความแข็งแรงของร่างกาย ระยะของโรคชนิดของชิ้นเนื้อ และการยอมรับของผู้ป่วย
    2. การรักษาอาจใช้วิธีการผ่าตัด การฉายแสง เคมีบำบัด รวมทั้งการรักษาแบบประคับประคอง แพทย์จะทำการประเมินในขั้นต้นว่า ผู้ป่วยอยู่ในระยะเริ่มต้น หรือระยะลุกลามของโรค โดยการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของปอด รวมไปถึงตับและต่อมหมวกไต และการตรวจหาการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่พบบ่อยคือ กระดูกและสมอง
    3. มะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายได้ ถ้ามาพบแพทย์ในระยะเริ่มแรก และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเริ่มต้นของโรค การรักษาที่ดีที่สุดคือ ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก อาจร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด และการฉายแสง แต่ทั้งนี้สภาพร่างกายทั่วไป โดยเฉพาะสมรรถภาพการทำงานของปอดและหัวใจ จะต้องดีพอสำหรับการผ่าตัดด้วย
    4. หลังจากตรวจพบและทำการรักษา ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับการตรวจพบและการเริ่มรักษาในระยะใด ซึ่งมีผลต่อผู้ป่วยมะเร็งชนิดเซลล์ขนาดใหญ่
    5. ส่วนการป่วยเป็นมะเร็งชนิดเซลล์ขนาดเล็ก การคาดการณ์เวลาที่เหลือของชีวิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับการรักษาในระยะใด เพราะโรคจะแพร่เร็ว เมื่อโรคอยู่ในระยะลุกลาม การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและ/หรือการฉายแสง หวังผลให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้นบ้าง และไม่ทุกข์ทรมานมากนัก แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง และมีผลแทรกซ้อนจากการรักษาได้บ่อย แพทย์จำเป็นต้องคัดเลือกผู้ป่วยให้เหมาะสมในผู้ป่วยบางราย แม้หลังการรักษาอาการทุเลาลงแล้ว แต่วันดีคืนดีมะเร็งที่เหลือต้นตอเพียงน้อยนิดก็แบ่งตัวได้อีก ...อย่างรวดเร็ว และไม่หยุดยั้ง รอดพ้นจากการควบคุมของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยมะเร็งที่เคยเข้ารับการรักษาแล้วมีอาการดีขึ้น จำเป็นต้องเข้ารับตรวจติดตามผลการรักษาสม่ำเสมอ พยาธิแพทย์จำเป็นต้องมีวิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งชนิดนี้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การรักษาเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง

      การป้องกัน

    1. วิธีป้องกันโรคมะเร็งปอดที่ดีที่สุดคือการไม่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่สูบบุหรี่อยู่แล้วก็ให้เลิกสูบบุหรี่
    2. ตรวจร่างกายประจำปี โดยเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นมะเร็ง มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม เหมือง ผู้ที่สูบกัญชา สูดดมควันน้ำมันดีเซลจากท่อไอเสีย คนกรุงที่ต้องเผชิญกับมลภาวะเป็นพิษต่างๆ สำหรับการค้นหาโรคในกลุ่มเสี่ยง คือผู้ที่สูบบุหรี่มาก การตรวจเอกซเรย์ปอดประจำปี อาจจะมีประโยชน์บ้าง โดยช่วยให้พบรอยโรคได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะในรายที่เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังขึ้นแล้ว หรือในรายที่เป็นมะเร็งในช่องปากและกล่องเสียงมาก่อน
    3. ใส่ใจในอาหารการกินให้ถูกต้อง ไม่กินอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารที่มีรอยไหม้จากการปิ้ง-ย่าง อาหารหมักดอง มีดินประสิว ของทอดที่ใช้น้ำมันเก่าทอดซ้ำ ไม่กินปลาน้ำจืดดิบ เพราะที่เกล็ดและที่เนื้อปลามักจะมีตัวอ่อนพยาธิใบไม้ตับหากกินแบบสุกๆ ดิบๆ ไม่สูบหรือสูดดมบุหรี่ ไม่มีเซ็กส์มั่ว ไม่มัวเมาสุรา ไม่ตากแดดจ้า
    4. หมั่นสังเกตความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่น หากพบว่ามีก้อนเนื้อขึ้นที่บริเวณใดก็ตาม ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา รวมทั้งการออกกำลังกาย มองโลกในแง่ดี มีจิตใจที่สดชื่น ร่าเริง สร้างความสุขเพื่อเป็นเกราะกั้นความทุกข์ที่จะนำโรคภัยไข้เจ็บมาหาอีกต่อหนึ่ง

    ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
    ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

    [ ... ]

    มะเร็งที่โคนลิ้น

    มะเร็งที่โคนลิ้น


    โดยทั่วไปอาจแบ่งลิ้นออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่อยู่ในช่องปาก (oral tongue) และส่วนโคนลิ้น (base of the tongue) ซึ่งอาจเกิดเป็นโรคมะเร็งได้ทั้งสองส่วน ลิ้นส่วนที่อยู่ในช่องปาก เป็นบริเวณส่วนหน้าสองในสามของลิ้นทั้งหมด สังเกตได้จากเป็นส่วนที่โผล่ออกมาจากปากขณะแลบลิ้นเต็มที่ โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณนี้ เรียกว่า mouth (oral) cancer

    ส่วนของโคนลิ้นอยู่บริเวณหนึ่งในสามส่วนหลังของลิ้นทั้งหมด ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับลำคอมาก โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณนี้ เรียกว่า oropharyngeal cancer

    สาเหตุ

    1. สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด
    2. ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ การสูบบุหรี่ การสูบซิการ์ และการสูบไปป์
    3. การบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคนี้
    4. ส่วนใหญ่เซลล์มะเร็งของลิ้นจะเป็นชนิดเซลล์สความัส squamous cell carcinoma ซึ่งเป็นเซลล์ที่แบนคล้ายผิวหนัง ปกคลุมเยื่อบุช่องปาก เยื่อบุโพรงจมูก กล่องเสียง ต่อมไทรอยด์ และลำคอ

    อาการ

    1. ปื้นสีแดงหรือขาวบนลิ้น ที่สังเกตพบว่าไม่หายไป
    2. เจ็บคอเรื้อรัง
    3. บริเวณบนลิ้นที่รู้สึกเจ็บปวด
    4. กลืนแล้วเจ็บ
    5. อาการชาในปาก
    6. เลือดออกจากลิ้น

     

    การวินิจฉัย

    1. ส่วนใหญ่สามารถให้การวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติอาการโดยละเอียด ร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างถี่ถ้วน

    2. การตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำมาตรวจทางพยาธิวิทยา

    3. การตรวจทางรังสีและการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ ช่วยประเมินความรุนแรงและการกระจายของโรค

    การรักษา

    1. ผลการรักษาโรคที่อยู่ในระยะแรกๆ ดีกว่าผลการรักษาเมื่อโรคลุกลามไปมากแล้ว

    2. หลักสำคัญในการรักษาอยู่ที่ขนาดของมะเร็งและการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง

    3. วิธีการรักษาประกอบด้วยการผ่าตัด ฉายแสง และเคมีบำบัด

    4. สำหรับก้อนมะเร็งที่มีขนาดเล็ก การผ่าตัดถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น และแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง อาจพิจารณาผ่าตัดรักษาวิธี radical neck dissection ร่วมกับการฉายแสง

    5. มะเร็งที่มีขนาดใหญ่มากหรือลุกลามไปมาก อาจพิจารณารักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีรักษา ร่วมกับการผ่าตัดวิธี glossectomy

    ผลจากการรักษา

    1. การผ่าตัดมะเร็งจะมีผลต่อการพูดออกเสียง การกินอาหาร การดื่มน้ำ และลักษณะภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป

    2. การฉายแสงมีผลทำให้คอแห้ง ปากเป็นแผล และการรับรสที่เปลี่ยนไป

    3. ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดขึ้นกับชนิดของยา ส่วนใหญ่นิยมใช้ cisplatin และ 5 fluorouracil (5FU) บางรายอาจได้รับยา carboplatin, bleomycin หรือ methotrexate

    ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
    ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
    [ ... ]

    มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphoma)

    มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphoma) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยท์ ซึ่งเพิ่มจำนวนและเจริญเติบโตผิดปกติ ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตเร็วมาก มักพบบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่คอ รักแร้ และขาหนีบ แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดโรคฮ้อดกินส์ และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮ้อดกินส์ การแบ่งชนิดว่าเป็นชนิดใด ต้องอาศัยการตรวจเซลล์ทางพยาธิวิทยา ด้วยกล้องจุลทรรศน์ มะเร็งทั้งสองชนิดมีลักษณะการดำเนินโรค ความรุนแรง และวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน จากลักษณะและชนิดของเซลล์มะเร็ง สามารถแบ่งออกเป็นเกรดต่ำถึงเกรดสูงตามความรุนแรงของโรค โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในคนไทยพบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 8 หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด

    โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮ้อดกิ้นส์ ส่วนมากพบในเด็กและวัยหนุ่มสาว การแพร่กระจายค่อนข้างช้าและมักจะแพร่กระจายไปตามอวัยวะข้างเคียง หากเป็นระยะแรก อาจให้การรักษาได้ทั้งวิธีฉายแสงและเคมีบำบัด สำหรับระยะที่เป็นมาก ก็ต้องใช้วิธีการให้เคมีบำบัดเป็นหลัก ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮ้อดกิ้นส์ 62,000 คนทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ชายร้อยละ 60 และเป็นผู้หญิงร้อยละ 40 ผู้เสียชีวิตจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮ้อดกิ้นส์ประมาณปีละ 25,000 คน

    โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮ้อดกิ้นส์ มักพบในผู้ใหญ่ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และพบในคนไทยมากกว่าชนิดฮ้อดกินส์ แพร่กระจายค่อนข้างเร็ว ดังนั้นจึงต้องใช้เคมีบำบัดเป็นหลักในการรักษาไม่ว่าจะอยู่ในระยะใด และอาจต้องใช้การฉายแสงเข้าช่วยด้วยหากมีก้อนที่ใหญ่มาก ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮ้อดกิ้นส์ 286,000 คนทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ชายร้อยละ 58 และเป็นผู้หญิงร้อยละ 42

    โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮ้อดกิ้นส์ แบ่งออกได้เป็น 30 ชนิดย่อย ถ้าอาศัยการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

    1. ชนิดค่อยเป็นค่อยไป มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้จะมีอัตราการแบ่งตัวของมะเร็งค่อนข้างช้า
    2. ชนิดรุนแรงและลุกลาม จะมีอัตราการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายใน 6 เดือน- 2 ปี

    การรักษาวิธีมาตราฐาน

    1. รังสีรักษา
    2. เคมีบำบัด
    3. สารชีวภาพ
    4. ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

    รังสีรักษา

    1. การรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสี เรียกว่า
    2. radiation therapy
    3. รังสีรักษาเป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้รังสีเอ็กซ์พลังงานสูง หรือรังสีชนิดอื่นๆ ทำลายเซลล์มะเร็ง หยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ปริมาณรังสีที่ใช้รักษาเพื่อมุ่งหวังให้หายขาด จะใช้ปริมาณ 6000-7500 cGy ทั้งนี้ขึ้นกับตำแหน่ง และขนาดของก้อนมะเร็ง โดยปกติจะฉายรังสีแก่ผู้ป่วยวันละ 180-200 cGy โดยฉาย 5 วันต่อสัปดาห์ ใช้เวลาทั้งสิ้น 6-8 อาทิตย์
    4. ปัจจุบัน นิยมใช้ทั้งวิธีรังสีรักษาชนิดภายนอก และวิธีรังสีรักษาชนิดภายใน
    5. รังสีรักษาชนิดภายนอกใช้เครื่องมือซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดรังสีชนิดที่อยู่ภายนอกร่างกาย ทำการฉายรังสีไปยังเซลล์มะเร็งในส่วนต่างๆของร่างกาย เครื่องฉายรังสี Cobalt-60 หรือ linear accelerators ที่มีพลังงาน 4-10 MV เครื่องฉายรังสีที่มีพลังงานสูงจะทำให้บริเวณใต้ผิวหนังได้รับรังสีน้อย จึงต้องระวังโดยเฉพาะเวลาฉายต่อมน้ำเหลือง ส่วนเครื่องฉายรังสีชนิดลำอิเลคตรอน มีประโยชน์มากในการรักษามะเร็งที่อยู่ตื้นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ปกติใช้ลำอิเลคตรอนในช่วงพลังงาน 6-20 MeV บางครั้งอาจจะใช้ลำอิเลคตรอนร่วมกับการฉายแสงชนิดเมกะโวลท์ เพื่อให้ได้ก้อนมะเร็งได้รับรังสีสม่ำเสมอและทั่วถึงตามที่ต้องการ
    6. ส่วนวิธีรังสีรักษาชนิดภายในเป็นการใช้สารกัมมันตภาพรังสี ซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบของสอดไว้ในเข็ม ผลิตเป็นเม็ด ขดลวด หรือสายสวน แล้วฝังไว้ในก้อนมะเร็ง หรือฝังไว้ตำแหน่งที่ใกล้เคียง การใช้สารกัมมันตรังสีมีประโยชน์อย่างมากในการรักษามะเร็งเฉพาะที่ ทำให้บริเวณนั้นได้รับปริมาณรังสีสูง และอวัยวะใกล้เคียงได้ปริมาณรังสีต่ำ สารกัมมันตรังสีที่ใช้ เช่น Radium-226 หรือ Iridium-192 เป็นต้น
    7. การที่จะเลือกใช้วิธีใด แพทย์จะพิจารณาจากชนิดของมะเร็งและระยะของโรค สำหรับการวางขอบเขตบริเวณที่จะฉายรังสีด้วยเครื่องฉายรังสีจำลองก่อนผู้ป่วยจะได้รับการฉายรังสีจริง จะต้องวางขอบเขตที่จะรับการฉายรังสีก่อน ควรจะใช้เครื่องฉายรังสีจำลองช่วย เพื่อให้มีความแม่นยำและขีดแนวเลเซอร์ทั้งด้านบนและด้านข้าง ไม่ให้ลบเลือน เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมตลอดเวลาการฉายรังสี

    เคมีบำบัด

    1. การรักษาด้วยเคมีบำบัด เรียกว่า
    2. chemotherapy
    3. การใช้ยาเคมีบำบัดเป็นการรักษาหลักอย่างหนึ่งของโรคมะเร็ง โดยมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันตามชนิดของโรคและข้อบ่งชี้ ยาเคมีบำบัดแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน แม้แต่ยาในกลุ่มเดียวกัน ก็มีการศึกษาและวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน ดังนั้น การใช้ยาเคมีบำบัดจึงควรจะมีความรู้ทางด้านยาโดยละเอียด
    4. วิธีการให้ยาเคมีบำบัดแบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่
    5. ยาเคมีบำบัดชนิดรับประทาน และยาเคมีบำบัดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด
    6. สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮ้อดกิ้นส์บางราย อาจจำเป็นต้องได้รับเคมีบำบัด
    7. เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเซลลมะเร็งเข้าไปในระบบประสาท
    8. ระยะเวลาของการให้ยาเคมีบำบัด
    9. ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรคมะเร็งที่ผู้ป่วยเป็นรวมทั้งผลการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยแต่ละราย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้วิเคราะห์แนะนำและกำหนดเวลา ตลอดจนเลือกยาที่ได้ผลดีที่สุดต่อผู้ป่วย
    10. ความถี่ของการให้ยาเคมีบำบัดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสูตรยาที่ใช้และสภาพร่างกายของผู้ป่วย เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน บางครั้งอาจต้องหยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ร่างกายมีเวลาพักและซ่อมแซมเซลล์ปกติให้แข็งแรงพอที่จะให้ยาครั้งต่อไปได้
    11. ผู้ป่วยบางรายอาจท้อแท้ เนื่องจากระยะเวลาอันยาวนานของการรักษา ถ้าหากมีความกังวลใจ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล แพทย์อาจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแผนการรักษาให้เหมาะสมขึ้น
    12. ควรติดตามผลการรักษาเป็นระยะ โดยมาตรวจตรงตามแพทย์นัด ให้ยาตรงตามแผนการรักษา การได้ยาไม่ครบหรือระยะเวลาไม่ตรงกำหนด จะก่อให้เกิดผลเสียต่อการรักษา ถ้ามีเหตุจำเป็นที่จะต้องเลื่อนระยะเวลาการให้ยาควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนทุกครั้ง

    สารชีวภาพ

    1. การรักษาด้วยสารชีวภาพ โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า
    2. biologic therapy บางครั้งอาจมีผู้เรียกชื่ออื่นๆ ได้แก่ biotherapy และ immunotherapy ปัจจุบันได้รับการนำมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น Rituximab (Rituxan), Rituximab (Mabthera), Ibritumomab (Zevalin), Tositumomab (Bexxar), Epratuzumab (Lymphocide), Alemtuzumab (MabCampath)
    3. การรักษาด้วยสารชีวภาพเป็นวิธีการรักษาที่ใช้หลักการกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายของผู้ป่วยกำจัดหรือทำลายเซลล์มะเร็ง
    4. สารชีวภาพที่นำมาใช้อาจเป็นสารที่สร้างขึ้นในร่างกาย หรือเป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการ โดนสารชีวภาพออกฤทธิ์กระตุ้นและส่งเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติ ต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง
    5. การรักษาด้วยสารชีวภาพวิธีหนึ่งที่นิยมนำมาใช้รักษาโรคมะเร็ง เรียกว่า
    6. การรักษาด้วยแอนติบอดีชนิดโมโนโคลน (monoclonal antibody therapy) ซึ่งปัจจุบันได้นำมาใช้รักษาโรคมะเร็งตอมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮ้อดกิน โดยเป็นแอนติบอดีชนิดที่สังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่ง
    7. แอนติบอดีชนิดโมโนโคลน มีความสามารถพิเศษในการจับกับเซลล์มะเร็ง หรือจับกับโปรตีนบางชนิดที่ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ทำให้สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ ช่วยหยุดยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
    8. แอนติบอดีชนิดโมโนโคลนอยู่ในรูปแบบยาหยดเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือด
    9. อาจใช้โดยลำพัง หรือนำมาผสมกับสารอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์ ได้แก่ ยาบางชนิด สารพิษบางชนิด รวมทั้งสารกัมมันตรังสี
    10. แอนติบอดีชนิดโมโนโคลนที่นำมารวมกับสารกัมมันตรังสี เรียกว่า แอนติบอดีชนิดโมโนโคลนปิดฉลากสารเรืองแสง

    ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

    1. วิธีติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เรียกว่า
    2. watchful waiting
    3. ถือเป็นวิธีมาตราฐานในการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮ้อดกิ้นส์ เนื่องจากโรคนี้มีความหลากหลายของการดำเนินโรคค่อนข้างมาก การติดตามอาการอย่างใกล้ชิดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

    การรักษาวิธีใหม่

    1. วัคซีน
    2. เคมีบำบัดขนาดสูงร่วมกับการกลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

    วัคซีน

    1. การรักษาโรคมะเร็งด้วยวัคซีนเรียกว่า
    2. vaccine therapy
    3. ถือว่าเป็นแนวทางการรักษาวิธีใหม่ โดยใช้หลักทางชีวภาพกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำลายเซลล์มะเร็ง

    เคมีบำบัดขนาดสูงร่วมกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

    1. การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดขนาดสูง ร่วมกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เรียกว่า high-dose chemotherapy with stem cell transplant
    2. หลักการของวิธีนี้ เป็นการทดแทนเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในร่างกายผู้ป่วยหลังจากได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เซลล์ต้นกำเนิดที่นำมาใช้อาจเป็นชนิดเซลล์ของผู้ป่วยเอง หรือเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาค ถ่าเป็นเซลล์ของผู้ป่วยเอง สามารถเก็บได้จากเลือดหรือไขกระดูก แล้วนำมาแช่แข็งเก็บไว้
    3. ภายหลังการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดขนาดสูง จึงนำเซลล์ต้นกำเนิดที่เก็บไว้มาให้ผู้ป่วยด้วยวิธีหยดเข้าทางหลอดเลือด
    4. เซลล์ต้นกำเนิดที่ให้กลับเข้าไปในร่างกายผู้ป่วย สามารถเจริญเติบโตและทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดได้อย่างดี ช่วยให้ผลการรักษาประสบความสำเร็จมากขึ้น
    5. การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดขนาดสูง ร่วมกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ยังไม่ถือเป็นวิธีมาตราฐานในการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮ้อดกิน จัดเป็นแนวทางการรักษาใหม่วิธีหนึ่งที่ผลการศึกษาวิจัยออกมาค่อนข้างดี

    ทางเลือกวิธีรักษาโรคระยะที่หนึ่งและสองชนิดไม่รุนแรง

    1. ฉายแสงไปยังตำแหน่งของก้อนมะเร็งโดยตรง
    2. ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
    3. ฉายแสงไปยังตำแหน่งของก้อนมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
    4. เคมีบำบัดร่วมกับการฉายแสง

    ทางเลือกวิธีรักษาโรคระยะที่หนึ่งและสองชนิดลุกลาม

    1. เคมีบำบัดมากกว่าหนึ่งขนาน ร่วมกับรังสีรักษาที่บริเวณก้อนมะเร็ง
    2. การรักษาด้วยแอนติบอดีชนิดโมโนโคลน ร่วมกับเคมีบำบัดมากกว่าหนึ่งขนานและสเตียรอยด์
    3. รังสีรักษาหากมีข้อบ่งชี้พิเศษ

    ทางเลือกวิธีรักษาโรคระยะที่สอง สาม และสี่ ชนิดไม่รุนแรง

    1. ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด
    2. เคมีบำบัดร่วมกับสเตียรอยด์ หรือเคมีบำบัดอย่างเดียว
    3. เคมีบำบัดมากกว่าหนึ่งขนาน ร่วมกับสเตียรอยด์
    4. การรักษาด้วยแอนติบอดีชนิดโมโนโคลน ร่วมกับเคมีบำบัดมากกว่าหนึ่งขนาน หรือแอนติบอดีชนิดโมโนโคลนอย่างเดียว
    5. แอนติบอดีชนิดโมโนโคลนปิดฉลากสารเรืองแสง
    6. รังสีรักษาที่บริเวณก้อนมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงสำหรับโรคระยะที่สาม
    7. เคมีบำบัดร่วมกับการฉายแสงทั้งตัว หรือแอนติบอดีชนิดโมโนโคลนปิดฉลากสารเรืองแสง ตามด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
    8. เคมีบำบัดร่วมกับวัคซีน

    ทางเลือกวิธีรักษาโรคระยะที่สอง สาม และสี่ ชนิดลุกลาม

    1. เคมีบำบัดมากกว่าหนึ่งขนาน
    2. เคมีบำบัดมากกว่าหนึ่งขนาน ร่วมกับรังสีรักษา หรือแอนติบอดีชนิดโมโนโคลน
    3. เคมีบำบัดมากกว่าหนึ่งขนาน ร่วมกับรังสีรักษาป้องกันการแพร่กระจายไปที่ระบบประสาท
    4. การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดในกรณีที่มีโอกาสที่โรคกลับเป็นซ้ำ

    ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
    ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

    [ ... ]

    โรคมะเร็งผิวหนัง (skin cancer)


    โรคมะเร็งผิวหนัง (skin cancer)เป็นโรคมะเร็งที่พบมากประมาณร้อยละ 5 ของโรคมะเร็งทั้งหมด พบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า มะเร็งผิวหนังเป็นมะเร็งที่สามารถพบได้เร็วกว่ามะเร็งชนิดอื่น เนื่องจากเห็นได้จากภายนอก สามารถรักษาให้หายขาดได้ ธรรมชาติของมะเร็งผิวหนังจะขยายตัวค่อนข้างช้า บางรายอาจนานถึง 5-10 ปี แต่ถ้าไม่รักษาจะมีผลต่ออวัยวะใกล้เคียงไปจนถึงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้

    สาเหตุ

    1. การถูกแสงแดดมากเกินไป เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงแดดในช่วงเวลา 10.00-15.00 น. ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมีความเข้มข้นของรังสีอัลตร้าไวโอเล็ทสูงสุด ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนังมักเกิดจากแสงแดด ผิวหนังส่วนที่ถูกแสงแดดจะพบว่าเป็นมะเร็งมากกว่าผิวหนังส่วนอื่นๆ
    2. โรคมะเร็งผิวหนังมักพบในแผลเรื้อรังที่มีการระคายเคืองเป็นเวลานานๆ หูด ไฝ ปาน ที่มีการระคายเคืองเรื้อรังอาจกลายเป็นมะเร็งได้ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการเป็นแผลเรื้อรังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงยีน โดยมีการทำลายยีนที่ควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังตามปกติ นอกจากนี้ยังพบโรคมะเร็งผิวหนังที่บริเวณแผลเป็นจากรอยไหม้เพิ่มมากขึ้น
    3. เกิดจากการระคายเคืองของสารเคมี เช่น การได้รับสารหนูในปริมาณสูง โดยเฉพาะยาที่มีส่วนประกอบของสารหนู ทั้งยาแผนโบราณ ยาจีน ยาไทย เมื่อรับประทานนานๆ จะทำให้เป็นโรคผิวหนัง และกลายเป็นมะเร็งในที่สุด บางรายอาจได้รับจากแหล่งน้ำและอาหาร
    4. การถูกแสงเอกซเรย์ในปริมาณสูงทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้
    5. ปัจจัยทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง

    กลุ่มเสี่ยง

    1. ผู้ที่ถูกแสงแดดมาก
    2. ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง
    3. ชนผิวขาวที่ไวต่อการถูกแสงแดดไหม้ (sunburn)

    อาการ

    อาการของมะเร็งผิวหนังส่วนใหญ่เริ่มจากมีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน หรือเริ่มต้นเป็นแผลเล็กๆ แล้วค่อยๆ ขยายขึ้น ขรุขระ อาจมีสีดำที่ขอบๆ และเมื่อเป็นมากจะเป็นก้อนที่คล้ายดอกกะหล่ำปลี โรคมะเร็งผิวหนังส่วนใหญ่มักพบบริเวณใบหน้า แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว

    โรคมะเร็งผิวหนังชนิดต่างๆ

    1. โรคมะเร็งผิวหนังที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า (Basal Cell Carcinoma)
    2. โรคมะเร็งผิวหนังที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า (Squamous Cell Carcinoma)
    3. โรคมะเร็งผิวหนังที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี (Malignant Melanoma)

    มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า

    1. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้าเป็นโรคมะเร็งผิวหนังที่ร้ายแรงน้อย เพราะเกิดบริเวณชั้นตื้นๆ มักเกิดการทำลาย เฉพาะบริเวณตำแหน่งที่เป็น ถ้าเป็นบริเวณใกล้เคียงอวัยวะที่สำคัญ เช่น ตา จมูก ปาก หู อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะนั้นได้
    2. มะเร็งชนิดนี้มักพบบริเวณ หู จมูก ใบหน้า หน้าอก หลัง พบบ่อยบริเวณที่ถูกแดด เช่น ใบหน้า และใช้ระยะเวลานานในการแพร่กระจายโรค
    3. ลักษณะที่พบมีหลายแบบ ได้แก่ มีลักษณะเป็นตุ่มนูนใส ขอบม้วน อาจมีสีดำหรือแตกเป็นแผล เป็นก้อนเนื้อนูนสีเดียวกับผิวหนัง หรือ ชมพูใส มีขอบ อาจมีเลือดออกบ่อยๆ บางรายมีลักษณะคล้ายสิว เป็นๆ หายๆ มักมีเลือดออก บางรายพบลักษณะเป็นก้อนแบนแข็งติดกับผิวหนัง ลักษณะเป็นก้อนขุย มีสะเก็ดดำเลือดออก
    4. มักมีอาการระคายเคืองบริเวณก้อนเนื้อ แผลเรื้อรังเป็นๆ หายๆมีเลือดออก
    5. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้าพบได้ตั้งแต่ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มักพบบ่อยในผู้ที่มีอายุ 60-80 ปี

    มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า

    1. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า มีลักษณะนูน แดง ผิวหนังแตกเป็นแผล เลือดออกง่าย ลักษณะคล้ายกับมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า แต่การลุกลามมักเร็วกว่ามะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า โดยมักจะลุกลามลงลึกสู่ด้านล่างของเซลล์ผิวหนัง ถ้าคลำดูผิวหนังด้านล่างมักจะพบว่าเป็นก้อนแข็งๆ
    2. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้าพบบ่อยบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ขอบใบหูสามารถแพร่กระจายจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งได้ โตและขยายเป็นวงกว้างได้เร็วและลึกกว่ามะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า
    3. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้าพบได้ตั้งแต่ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มักพบบ่อยในผู้ที่มีอายุ 60-80 ปี

    มะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี

    1. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีมีลักษณะคล้ายไฝหรือขี้แมลงวัน หรือเป็นจุดดำบนผิวหนัง
    2. ไฝบนฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใต้เล็บ มีโอกาสเป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีมากกว่าที่อื่น ๆ
    3. สัญญาณอันตรายของมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงของผิว ของไฝหรือขี้แมลงวันเช่น มีการตกสะเก็ด
    4. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีกระจายอย่างรวดเร็วสู่อวัยวะภายใน สามารถทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว จัดเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงที่สุด

    ผื่นแอคตินิค เคราโตสิส

    เป็นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ โดยมีลักษณะเป็นผื่นขุยๆ มักพบบริเวณหน้า แขน ลำตัว หลังมือ หรือบริเวณที่ได้รับแสงแดดมาก ถ้าไม่รักษาจะกลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้

    การวินิจฉัย

    ในด้านการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนัง สามารถทำได้ไม่ยาก โดยการตรวจร่างกายอย่างละเอียด และการตัดชิ้นเนื้อไปวิเคราะห์ชนิดของเซลล์มะเร็งด้วยกล้องจุลทรรศน์ เป็นการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา

    ไฝบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็งผิวหนัง

    1. ไฝที่มีลักษณะขอบไม่เรียบ
    2. สีไฝไม่สม่ำเสมอ
    3. ขนาดโตมากกว่า 6 มม.
    4. เมื่อแบ่งเส้นผ่าศูนย์กลางแล้ว ลักษณะของไฝสองข้างจะไม่เหมือนกัน

    การรักษา

    1. การตรวจพบในระยะเริ่มแรกถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้นมาก
    2. การรักษามะเร็งผิวหนังมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง
    3. การรักษามะเร็งผิวหนังโดยใช้วิธีการผ่าตัดเอาส่วนที่เป็นมะเร็งออกให้กว้าง และบางครั้งต้องตัดต่อมน้ำเหลืองที่เป็นทางกระจายของมะเร็ง แล้วแต่ตำแหน่งที่เป็นออก
    4. การใช้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา เสริมการผ่าตัดจะทำให้มีโอกาสหายขาดมากขึ้นในมะเร็งระยะลุกลาม
    5. การจี้ไฟฟ้า และการรักษาด้วยแสงเลเซอร์ ได้ผลดีในบางราย
    6. การฉายแสงหรือการใช้วิธีเคมีบำบัดซึ่งเป็นยาฆ่าเซลล์มะเร็ง
    7. ถ้าเป็นผื่นแอคตินิค เคราโตซิส สามารถใช้การจี้ด้วยความเย็นในการรักษาก็เพียงพอ
    8. ถ้าลุกลามเป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า ใช้วิธีการจี้ไฟฟ้า ร่วมกับการขูดผิวหนังหรือการตัดออก และการผ่าตัดพิเศษที่เรียกว่า Moh's Surgery ซึ่งจะเลือกวิธีการใด ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย สภาพร่างกายของผู้ป่วย และลักษณะของเนื้อที่ผิดปกติ
    9. ถ้าเป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า ต้องใช้วิธีการผ่าตัด Moh's Surgery

    การป้องกัน

    1. การหลีกเลี่ยงจากแสงแดดเป็นการป้องกันมะเร็งผิวหนังที่ดีที่สุด
    2. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง เช่น การรับประทานยาที่มีส่วนผสมของสารหนู
    3. หมั่นสังเกตความผิดปกติของไฝหรือขี้แมลงวัน หากพบว่ามีผิวหนังที่ผิดปกติให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
    4. ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน
    5. สวมเสื้อที่มิดชิด สวมหมวกปีกกว้างหรือกางร่ม
    6. ควรเริ่มป้องกันแสงแดดตั้งแต่วัยเด็ก
    7. หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลา 10.00-15.00 น.
    8. ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF > 15
    9. หลีกเลี่ยงภาวะที่เสี่ยงต่อการระคายเคืองของผิวหนัง เช่น การสัมผัสสารเคมีบ่อยๆ หรือ การใช้วัตถุขัดถูผิวหนังอย่างแรงๆบางชนิด

    imageที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
    ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

    [ ... ]

    การเลือกอาหารอย่างชาญฉลาด



    ถาม:หลักโภชนาการที่ถูกต้อง หมายถึงอะไร
    ตอบ:เรื่องของการรับประทานอาหาร ให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ก็คงจะเหมือนกับที่เราคุยกัน ในสมัยก่อนว่า ควรรับประทานอาหาร ให้ครบทั้ง 5 หมู่ แต่ในปัจจุบันนี้ อาจจะมีรายละเอียดเพิ่มเติม อาทิ สัดส่วนของอาหาร อาหาร 5 หมู่ ไม่ได้หมายถึง การรับประทานอาหาร แต่ละหมู่เท่าๆ กันหมด แต่กลุ่มที่เป็นอาหารหลัก คือ กลุ่มข้าวที่เป็นธัญญพืช ผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าวกล้อง ข้าวเหนียว ก๋วยเตี๋ยวบะหมี่ ส่วนปริมาณที่เพิ่มขึ้นมา ก็คือ ผักและผลไม้ ซึ่งจะได้ประโยชน์ ทั้งใยอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ส่วนปริมาณที่จะต้องจำกัด รับประทานอาหาร ในปริมาณที่พอสมควรเท่านั้น ก็คือ พวกเนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อแดง น้ำมัน นอกเหนือจากนั้น ก็คือ เรื่องของการดูแล เรื่องน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคขาดอาหาร และโรคที่เกิดจากโภชนาการอาหารเกิน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับอาหารประเภทอื่นๆ ก็คือ พวกอาหาร และเกลือโซเดียมในปริมาณที่สมควร งดเหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์ ส่วนการกระจายอาหารในแต่ละมื้อ ก็ควรจะให้ครบถ้วนทั้ง 3 มื้อ
       
    ถาม:ในแต่ละวันแต่ละบุคคล ควรรับประทานอาหารอย่างไร ถึงจะได้สัดส่วนที่เหมาะสม
    ตอบ:จริงๆ แล้วด้านหลักก็ คือ การกำหนดน้ำหนักตัวให้เป็นปกติ คงไม่สามารถบอกได้ว่า การรับประทานข้าว 1 จานแล้ว น้ำหนักตัวจะเท่ากัน กระบวนการเผาผลาญหรือ การใช้ชีวิตประจำวัน ในแต่ละคนไม่เหมือนกัน ก็คงจะต้องให้แต่ละบุคคลเป็นเทียบ ถ้าหากคิดว่าน้ำหนักตัวในคนเรา อยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ และได้มาตรฐาน รับประทานอาหาร ให้น้ำหนักตัว ให้ได้มาตรฐาน ถ้าหากน้ำหนักน้อยเกินไป ก็ควรเพิ่มปริมาณของอาหารขึ้น แต่ถ้าน้ำหนักมากเกินไป ก็คงจะต้องลดปริมาณ จากที่เคยรับประทานอาหารอยู่
       
    ถาม:ในกรณีที่ไม่สามารถรับประทานอาหาร ให้ครบทั้ง 3 มื้อ ควรทำอย่างไร สามารถชดเชย ในมื้อต่อไปได้หรือไม่
    ตอบ:ถ้าถามแง่ที่ว่าชดเชยได้หรือไม่ จริงๆ ก็ได้ แต่ไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะในมื้อเช้า ซึ่งจริงๆ เป็นมื้อที่สำคัญมาก ของร่างกาย เพราะร่างกายอดอาหาร ตั้งแต่มื้อเย็นก่อนหน้า ซึ่งประมาณ 8 -12 ช.ม. ถ้าหากเราตื่นเช้า แล้วก็ยังไม่ได้อาหาร แต่ต้องใช้พลังงาน ร่างกายก็จะเสียสมดุล อาจจะมีปัญหาน้ำตาลในเลือดต่ำ พลังงานที่จะไปเลี้ยงสมอง ก็จะต่ำลง โดยเฉพาะที่น่าเป็นห่วง ก็คือ เด็กนักเรียน ที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า จริงๆ อาหารเช้าไม่จำเป็น จะต้องเป็นการรับประทานข้าวเสมอไป รับประทานอะไรก็ได้
       
    ถาม:สำหรับผู้ที่ต้องควบคุมน้ำหนัก ในมื้อเย็นที่ต้องงดอาหาร จะทำให้ร่างกายนั้น ขาดสมดุล
    ตอบ:ถึงแม้จะแนะนำว่า ต้องลดน้ำหนัก คือ ลดปริมาณอาหาร โดยทั่วไปเรามักจะแนะนำ ให้ลดปริมาณอาหาร ในแต่ละมื้อลง แต่ไม่ใช่ลดเป็นมื้อๆ ซึ่งมีข้อมูลทางการศึกษา ที่ยืนยัดชัดเจนว่า ถ้าอดอาหารเป็นมื้อๆ จะทำให้การควบคุมน้ำหนัก ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะว่ากว่าจะถึงมื้อต่อไป จะหิว แล้วจะมีความรู้สึกว่า ไม่ได้ทานอาหารไปหนึ่งมื้อ จึงต้องรับประทานชดเชย แล้วจะรับประทานอาหารมากขึ้น ดังนั้น ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ ส่วนในมื้อเย็น ควรทานให้น้อยที่สุด เพราะมื้อนี้ร่างกายของเรา มักจะไม่ได้ใช้พลังงาน
       
    ถาม:นอกจากการรับประทานอาหาร ตามปกติในแต่ละวันแล้ว เรามีความจำเป็น ที่จะต้องรับประทานอาหารเสริมอีกหรือไม่
    ตอบ:ในปัจจุบัน อย. กำหนดให้เรียก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีหลายรูปแบบ ทั้งในแง่ของวิตามิน แร่ธาตุ หรือสารอื่นๆ ที่สกัดจากธรรมชาติ ถ้าจะถามว่ามีประโยชน์หรือไม่ คงจะต้องดูจากวัย หรือบางขณะของโรคที่เป็นอยู่ ก็อาจจะมีความต้องการสารอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งบางกลุ่มช่วงอายุ ก็มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่า การให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิด อาจจะช่วยได้ เช่น ขณะที่ตั้งครรภ์ เราก็จะให้ธาตุเหล็กเสริม หรือผู้หญิงที่วันหมดประจำเดือน ก็จะแนะนำให้รับประทานแคลเซียมเพิ่มมากขึ้น หรือในคนป่วยที่รับประทานอาหารได้น้อย ก็ควรจะรับประทานอาหารเสริมแร่ธาตุ หรือวิตามินในช่วงสั้นๆ สำหรับคนทั่วไปที่ไม่เจ็บป่วย และสามารถรับประทานอาหารตามปกติได้ทั้ง 3 มื้อ เรื่องของการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ก็ไม่มีความจำเป็น
       
    ถาม:ในแต่ละวัยนั้น ควรเลือกอาหารอย่างไร ถึงจะเหมาะสม
    ตอบ:
     
    ถ้าจะเริ่มตั้งแต่ในวัยทารก ก็คงจะต้องเป็นนมแม่ถึงจะดีที่สุด 3 - 4 เดือนแรกนั้น 
    ควรจะเน้นในเรื่อง ของการรับประทานนมแม่เป็นหลัก 4 - 6 เดือน ก็ควรเสริมอาหารอื่นๆ ควบคู่กับนมแม่ไปด้วย หลัง 6 เดือน จะต้องใช้อาหารปริมาณของอาหารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
     
    วัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโตมากขึ้น กลุ่มนี้ ควรจะต้องได้รับปริมาณอาหารที่เพียงพอ เรามักจะแนะนำให้ดื่มนม วันละ 2 แก้ว เพื่อให้ได้พลังงานและโปรตีน
     
    พอย่างเข้าสู่วัยรุ่น ก็คงจะต้องรับประทานอาหารตามปกติ แต่ต้องระวัง เพราะวัยที่เป็นวัยที่รักสวยรักงาม วัยที่จะพยายามควบคุมอาหาร จริงๆ ในวัยนี้ ควรจะเป็นอาหารที่มีคุณค่า แต่ถ้าต้องการควบคุมเรื่องน้ำหนัก ก็ควรรับประทานผัก หรือ ธัญญพืชที่มีเส้นใยอาหารมากขึ้น ก็จะช่วยได้ ควรระวังเรื่องการควบคุมอาหาร เพราะอาจจะเกี่ยวข้องกับความสูงได้
     
    วัยผู้ใหญ่ ก็คงจะไม่แตกต่างไปกับวัยรุ่น ยกเว้นในช่วงที่มีครรภ์ในผู้หญิง ที่ควรจะต้องได้รับแร่ธาตุ แคลเซียม และธาตุเหล็กเสริม ในปริมาณที่เพียงพอ รับประทานอาหารในปริมาณมากขึ้น แต่ก็จะมีอัตราการ เพิ่มของน้ำหนักตัว ของสตรีมีครรภ์ที่เหมาะสม ในกลุ่มของผู้ใหญ่กลางคน ส่วนใหญ่น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น ความต้องการพลังงานจะปรับลดลง กลุ่มที่ควรจะต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายที่เหมาะสม
     
    วัยสูงอายุ ควรรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ เพราะไม่ว่าน้ำหนักตัวจะลดลง หรือเพิ่มขึ้นอย่างลง อัตราการเสี่ยงชีวิตจะสูง และถ้าเรามองประเด็น ของโรคกระดูกพรุน ที่มักพบในผู้สูงอายุ จริงๆ การป้องกันโรคกระดูกพรุน ควรรับประทานอาหาร ที่มีแคลเซียมสูง ตั้งแต่วัยรุ่นควรดื่มน้ำ ซึ่งอาจจะเป็นนมพร่องมันเนย ปัญหาที่มักพบบ่อย ในวัยผู้สูงอายุอีกปัญหา ก็คือ ปัญหาไขมัน เช่นเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันในเลือดสูงขึ้น คงจะต้องลดปริมาณไขมันลง หมั่นออกกำลังกาย เช็คสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง
       
    ถาม:อาหารแต่ละชนิดในคุณค่า แตกต่างกันโดยเฉพาะ ถ้าจะรับประทานเพื่อป้องกันโรค ดังนั้น เราจะมีวิธีเลือกอาหารแต่ละชนิดอย่างไร
    ตอบ:ที่มาของอาหาร ควรประกอบด้วยอาหารทั้ง 5 หมู่ มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ไม่ซ้ำซาก ซึ่งอาหารทุกอย่าง มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ตั้งแต่ส่วนประกอบในตัวเนื้อ ตลอดไปจนปัจจัยในการผลิต หรือการส่งต่อ เพราะฉะนั้น ถ้าหากเขารับประทานอาหารซ้ำๆ โดยคิดว่าอาหารชนิดนั้นดี ก็มีโอกาสขาดสารอาหาร ที่ควรจะได้จากอาหารอื่นๆ แต่ในขณะเดียวกัน มีโอกาสรับสาร อันไม่พึงประสงค์ในอาหารนั้น หรือสารปนเปื้อนจึงเป็นเหตุผล ว่าในแต่ละมื้อ ควรทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ได้คุณค่าอาหารมาชดเชยกัน เพราะคงเป็นไปไม่ได้ที่ อาหาร 1 มื้อ จะสมบูรณ์ตามความต้องการของร่างกาย
       
    ถาม:การรับประทานอาหารจานด่วนเป็นประจำ จะมีผลกระทบอย่างไร ต่อร่างกายในเรื่องคุณค่าอาหารบ้างหรือไม่
    ตอบ:

    ถ้ารับประทานเป็นประจำ หรือ 2 มื้อต่อวัน ที่น่าเป็นห่วง ก็คือ คุณลักษณะของอาหาร

     
    1.
    เนื้อสัตว์ค่อนข้างเยอะ
     
    2.
    ไขมันค่อนข้างสูง
     
    3.
    เกลือโซเดียมสูง
     
    4.
    ผักน้อย

    เพราะฉะนั้น ถ้ารับประทานอาหารลักษณะนี้บ่อยๆ ซ้ำซาก โอกาสที่จะเป็น โรคอ้วนค่อนข้างมาก จะได้เส้นใยอาหารน้อยเกินไป ก็จะมีโรคอ้วนค่อนข้างมาก แล้วจะมีโรคเรื้อรังตามมา เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิต โรคของลำไส้อักอีกด้วย

       
    ถาม:ข้อแนะนำช่วงท้ายรายการ
    ตอบ:

    หลักการโดยสรุป ก็คือ

     
    1.
    โภชนาการตามหลักโภชนาการ
     
    2.
    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
     
    3.
    ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส
     
    4.
    หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดโรค 


    รศ.พญ. ปรียานุช แย้มวงษ์
    ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม

     
    [ ... ]

    กินอย่างไร...จึงจะเลี่ยงภัยจากโรคร้าย


    โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะพร่องของแร่ธาตุในกระดูก ทั้งด้านความหนาแน่น ปริมาณ และความแข็งแรง ภาวะดังกล่าวนี้จะทำให้กระดูกบางลงเพิ่มความสี่ยงที่กระดูกจะหัก

    ประมาณกันว่ามีชาวอเมริกันถึง 20 ล้านคน โดยเฉพาะผู้หญิงวัยทองเป็นโรคนี้หรือเสี่ยงต่อโรคนี้ แม้ว่ากระบวนการเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรงอาจต้องใช้เวลาตลอดทั้งชีวิต แต่ช่วงที่เสี่ยงต่อโรคนี้ส่วนใหญ่คือวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ในระยะแรกอาการของโรคแทบจะไม่ปรากฏ แต่กระนั้นโรคนี้ก็ร้ายแรงถึงขนาดที่ว่าสามารถทำให้กระดูกสันหลังหรือสะโพกแตกร้าว ซึ่งน้อยคนนักที่รอดชีวิตมาได้หากอาการลุกลามไปถึงขั้นนั้น

    การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สามารถช่วยให้เราป้องกันหรือชะลอการบุกรุกของโรคนี้ได้ โดยบริโภคอาหารเหล่านี้เป็นประจำ

     
    ผลไม้และผักใบเขียวที่ปลูกแบบปลอดสารพิษ
     
    ผลิตภัณฑ์นม (ถ้าคุณแพ้นม หรือรับประทานนมไม่ได้ ให้ดื่มนมถั่วเหลืองเสริมวิตามิน D แทน)
     
    กุ้ง, ปลาคอด
     
    เต้าหู้ หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอื่นๆ
     
    ปลาทะเล
     
    แอปเปิ้ล
     
    หลีกเลี่ยง กาแฟ น้ำอัดลม น้ำตาลฟอกขาว เนื้อสัตว์ และเกลือ

    โรคหอบหืด คือ ภาวะที่ช่องทางสำหรับลำเลียงอากาศเข้าสู่ปอดไม่ปกติ อาการจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์กล้ามเนื้อที่อ่อนนุ่มล้มเหลวในการขนถ่ายอากาศ จนเส้นทางดังกล่าวปิดในที่สุด จึงยากที่อากาศจะเข้าหรือออกจากปอด นำไปสู่อาการหายใจขัดหรือหายใจลำบาก ถ้าอาการเหล่านี้ดำเนินต่อไปเป็นเวลาชั่วระยะหนึ่ง อาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติหรือเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายในได้

    แม้ว่าผู้ป่วยด้วยโรคนี้จะมีช่วงเวลาที่ไม่ปรากฏอาการ แต่พวกเขาก็ต้องใช้ชีวิตด้วยความหวาดกลัวว่า อาการอาจจะกำเริบขึ้นมาในวินาทีใดวินาทีหนึ่ง โชคดีที่อย่างน้อยก็ยังมีอาหารจำพวกหนึ่งที่ช่วยลดการปะทุของโรค และบรรเทาอาการที่เกิดจากสภาวะอ่อนเพลียนี้ สิ่งที่ควรรับประทานได้แก่

     
    ผักและผลไม้ปลอดสารพิษ
     
    ปลาทะเล เช่น ปลาคอด แซลมอน แมคเคอเรล แฮริ่ง
     
    น้ำมันมะกอก
     
    โรสแมรี่ ขิง
     
    ลดการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งเป็นตัวเพิ่มความรุนแรงของอาการหอบหืด

    โรคมะเร็งลำไส้ สามารถเกิดขึ้นที่ส่วนใดก็ได้ของลำไส้ ไม่ว่าจะเป็นลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ก่อตัวขึ้นเมื่อเซลล์ของลำไส้สัมผัสกับสารเคมีหรือสารก่อมะเร็งจน DNA ของเซลล์ถูกทำลาย ซึ่งนำไปสู่การผ่าเหล่า (mutation) ในเซลล์ และเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวอย่างปราศจากการควบคุมและกระจายไปทั่วร่างกาย จนอวัยวะเสียหายและถึงแก่ชีวิตในที่สุด แม้ว่าพันธุกรรมจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้ แต่นักวิจัยเชื่อว่า 90% มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารของแต่ละคน ดังนั้น วิธีป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ที่ดีที่สุด คือ รับประทานอาหารให้เหมาะสม ซึ่งมีดังต่อไปนี้

     
    ผักและผลไม้ที่ปลูกแบบออร์แกนิค โดยเฉพาะ แอปเปิ้ล แครนเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่
     
    น้ำมันมะกอก
     
    แป้งไม่ขัดขาวเพื่อเพิ่มเส้นใย
     
    ปลาทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า แฮริ่ง แมคเคอเรล เพื่อเพิ่มกรดไขมัน โอเม้า-3
     
    หัวหอม กระเทียม ต้นหอม ขมิ้น ขิง
     
    โยเกิร์ต
     
    บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี
     
    ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
     
    ส้ม มะนาว หรือผลไม้รสเปรี้ยว
     
    หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ กรดไขมันโอเมก้า-6 ไขมันอิ่มตัว น้ำตาลฟอกขาว และแอลกอฮอล์
     
        
      แหล่งข้อมูล : นิตยสาร Alternative Medicine 
      

    [ ... ]