Wednesday, November 5, 2008

โรคกระดูกพรุน



โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่เนื้อกระดูกทั่วรายกายมีปริมาณมวลกระดูกลดลง
ซึ่งมีผลตามมาทำให้กระดูกสูญเสียความแข๊งแรงและเกิดการหักได้ง่าย

โรค กระดูกพรุนเป็นปัญหาของสตรีผู้สูงอายุทั่วโลก เป็นผลจากการที่ประชากรทั่วไปมีอายุยืนนานขึ้นและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขของ ประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากอุบัติการณ์เกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุมากขึ้น นำมาซึ่งผลเสียทางสุขภาพของผู้สูงอายุเอง เกิดการเจ็บปวด คุณภาพชีวิตที่เสียไปจากทุพพลภาพที่เกิดจากการไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังนำมาซึ่งสาเหตุให้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น

ผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมจากค่าใช้จ่ายใน การรักษาพยาบาลโดยตรง และทุพพลภาพที่เกิดตามมา ซึ่งต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยเสริมการดูแลเป็นพิเศษ

ปัจจัย ที่ส่งเสริมให้มีปริมาณมวลกระดูกลดลงและเกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม การมีประวัติโรคกระดูกพรุนในครอบครัว วิถีการดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่รับประทานอาหารโปรตีนจากสัตว์มาก การ

รับ ประทานอาหารรสเค็มจัด การดื่มกาแฟปริมาณมาก ๆ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ การไม่ได้ออกกำลังกายทั้งหมดล้วนมีส่วนช่วยส่งเสริมให้เกิดกระดูกพรุนได้มาก ขึ้น ในสตรีที่มีรูปร่างผอมเล็ก การหมดประจำเดือนก่อนวัย การออกกำลังกายอย่างหนัก ยาบางชนิด ฮอร์โมนบางชนิดที่ได้รับมากเกินไป และเป็นเวลานานก็ส่งผลให้เกิดกระดูกพรุนได้เช่นเดียวกัน ในสตรีหลังวัยหมดประจำเดือนจะพบว่า มีการลดลงของมวลกระดูกอย่างรวดเร็วใน 10-20 ปีแรกหลังหมดประจำเดือน ผู้สูงอายุที่มีรึกระดูกพรุนเกิดขึ้นมักมีปัจจัยส่งเสริมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน ซึ่งส่งผลให้มีการสลายกระดูกเพิ่มขึ้นและลดการสร้างของกระดูก

โรค กระดูกพรุนเป็นโรคที่ป้องกัน และรักษาได้ การป้องกัน คือ การส่งเสริมให้ร่างกายมีการสร้างมวลกระดูกสูงสุดและมากที่สุดในระยะที่ร่าง กายมีการเจริญเติบโต ได้แก่ ในช่วงวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยหนุ่มสาว โดยการบริโภคอาหารให้มีแคลเซียมเพียงพอ อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาเล็กปลาน้อย ที่รับประทานพร้อมกระดูก กุ้งฝอย ผักใบเขียวชนิดต่าง ๆ งา ถั่วต่าง ๆ ลดการบริโภคโปรตีนจากสัตว์หันมาบริโภคโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง เต้าหู้แทน การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมให้สม่ำเสมอจะช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ ในสตรีหลังหมดประจำเดือน การรับประทานแคลเซียมให้สูงกว่าที่เคยได้รับตามปกติจากอาหาร จะชะลอการลดลงของมวลกระดูกซึ่งจะเกิดมากในช่วง 10 ปีแรกหลังหมดประจำเดือน โดยการรับประทานแคลเซียมเสริมร่วมกับรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนมที่เสริมแคลเซียม ผักใบเขียวแมกนีเซียม เป็นเกลือแร่ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญของการแข็งแรงของกระดูก ควรจะได้รับไปพร้อมกับแคลเซียม อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง ได้แก่ เมล็ดพืชต่าง ๆ ถั่วต่าง ๆ ข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว ผลไม้ เช่น กล้วย แอปเปิ้ล ขณะเดียวกันลดอาหารเค็มจัด หรือมีโซเดียมสูง เนื่องจากโซเดียมทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมไปในปัสสาวะมากขึ้น และจะทำให้กระดูกเปราะเร็วมากขึ้น หมั่นออกกำลังกายให้สม่ำเสมอจะช่วยให้กระดูก และกล้ามเนื้อแข็งแรง ละเลิกการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทั้งสองอย่างจะลดการดูดซึมของแคลเซียมทำให้กระดูกบางเร็ว
สำหรับผู้ที่เกิดกระดูกพรุนแล้ว ควรได้รับการรักษาด้วยยาหรือยับยั้งการสลายตัวของมวลกระดูก เพื่อลดอาการของกระดูกหักขณะนี้มีการค้นคว้าหายาใหม่ ๆ ซึ่งจะนำมารักษาโรคกระดูกพรุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต


วารสารวิชัยยุทธ ฉบับ สุขภาพสตรีและเด็ก
ฉบับที่ 12
http://www.vichaiyut.co.th
[ ... ]

อาการปวดประำจำเดือน


ผม คิดว่าคุณผู้หญิงเกือบทุกท่านที่ได้แวะเวียนมาอ่านบทความจนถึงบรรทัดนี้คง เคยมีอาการปวดประจำเดือน กันมาบ้างแล้ว เนื่องจากอาการดังกล่าวพบได้ประมาณร้อยละ 50-70 ในผู้หญิง ซึ่งอาการดังกล่าวมีสาเหตุได้จาก หลานอย่าง เช่น การบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกเพื่อไล่เลือดประจำเดือน หรือเกิดจากมีการอักเสบ ติดเชื้อร่วมด้วย หรืออาจเกิดจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) โดยภาวะเยื่อบุ โพรงมดลูกเจริญผิดที่นี้มีอาการตั้งแต่น้อย ๆ ไปจนถึงระดับรุนแรงมากได้ ซึ่งในวันนี้ผมขอคุยถึงสาเหตุของการ ปวดประจำเดือนจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่แต่เพียงอย่างเดียวนะครับ


ดัง ได้กล่าวไปแล้วว่า อาการปวดประจำเดือนพบได้ ประมาณร้อยละ 50-70 ในผู้หญิง และในกลุ่มนี้พบว่ามีสาเหตุ จากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้ประมาณร้อยละ 20-90 ภาวะนี้ถือว่ามีความสำคัญเพราะพบได้บ่อย และบางครั้ง อาการรุนแรงจนรบกวนชีวิตประจำวันของคุณผู้หญิงได้ เช่น ทำให้ต้องขาดงาน หรือขาดการเรียน นอกจากนี้ยังเป็นผลเรื้อรัง ที่เป็นเหตุของการมีบุตรยากได้ ซึ่งภาวะการมีบุตรยากนั้น พบว่ามีสาเหตุจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้ประมาณ

ร้อย ละ 30 คุณผู้หญิงหลาย ๆ ท่าน ที่อ่านมาถึงตรงนี้อาจสงสัย แล้วว่า อาการปวดประจำเดือนแบบไหนกันที่จะบ่งว่ามีสาเหตุ มาจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ลองสังเกตอาการปวด ประจำเดือนของตนเองดูซิครับว่ามีลักษณะดังนี้บ้างหรือเปล่า?

  • มีอาการปวดทุกเดือนหรือเกือบทุกเดือน
  • อาการปวดนั้นเป็นมากขึ้นในเดือนต่อ ๆ มา

หาก มีหนึ่งหรือสองอาการดังกล่าว ก็ให้สงสัยไว้ได้ก่อนเลยครับ เนื่องจากภาวะนี้จะทำให้เกิดพังผืดสะสมอยู่ในอุ้งเชิงกรานหรือช่องท้องได้ ยิ่งมีพังผืดมากก็ยิ่งทำให้ปวดมาก และพังผืดนี้อาจจะไปรัดท่อนำไข่ ทำให้ท่อนำไข่มีการผิดรูปหรือตีบตัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากได้ พังผืดที่เกิดขึ้นนี้อาจไปรัดส่วนของลำไส้ทำให้มีอาการของลำไส้ตีบตันได้ บางครั้งก็จะเกิดพังผืดที่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทำให้มีความรู้สึกปวดเบ่ง อยากถ่ายอุจจาระได้บ่อยโดยที่ถ่ายอุจจาระไม่ออก อาการอีกอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อย แต่คุณผู้หญิงอาจรู้สึกเขินอายที่จะเล่าให้แพทย์ทราบก็คือ อาการปวดบริเวณท้องน้อยลึก ๆ ร้าวไปที่หลังเวลามีเพศสัมพันธ์ สาเหตุของอาการดังกล่าวก็มาจากพังผืดเหมือนกันครับ แต่พังผืดนี้ไปเกิดในตำแหน่งด้านหลังส่วนล่าง ๆ ของตัวมดลูก


สำหรับ อาการปวดที่สัมพันธ์กับประจำเดือนซึ่งอาจมีก่อน ระหว่าง หรือ หลังจากประจำเดือนหมดไปแล้วนั้นเป็นเพราะว่า รอยโรคของภาวะนี้จะตอบสนองต่อฮอร์โมนจากรังไข่ในช่วงนั้น มาถึงตอนนี้คุณหญิงอาจสงสัยแล้วว่า รอยโรคนี้มันมาจากไหน กันนะ คำตอบที่ทราบแน่ชัดจริง ๆ ก็ไม่มีใครทราบหรอกครับ แต่สันนิษฐานกันว่าเจ้าเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งปกติควรอยู่ในโพรงมดลูกนั้นบังเอิญหลุดออกมาอยู่ในช่องท้อง หรืออุ้งเชิงกราน จากนั้นมันก็จะฝังตัวและเพิ่มปริมาณตาม การตอบสนองของฮอร์โมนจากรังไข่นั่นเองครับ สาเหตุที่ มันหลุดออกมาจากโพรงมดลูกได้ก็เนื่องจากว่า ในโพรงมดลูก ท่อนำไข่ และปลายเปิดของท่อนำไข่ที่เข้าสู่ช่องท้อง หรือ อุ้งเชิงกรานนั้น เป็นช่องที่ติดต่อถึงกันหมดเลยครับ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก เช่น การผ่าตัดที่ต้องทะลุเข้า โพรงมดลูก เช่น การผ่าตัดคลอดบุตร ก็อาจทำให้เซลล์ดังกล่าว หลุดออกมาได้เช่นกัน


สำหรับการดูแลภาวะดังกล่าว ก็คงเริ่มจากการใช้ยาก่อน เป็นอันดับแรก นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงความรุนแรงของโรค อายุและสถานภาพที่เกี่ยวกับการมีบุตรด้วยครับ ในกรณีที่อาการของโรคไม่รุนแรงมากนักอาจรับประทานยาลดการอักเสบเนื้อเยื่อ กลุ่ม NSAIDS ที่คุณผู้หญิงเรียกกันทั่วไปว่ายาแก้ปวดประจะเดือนก็ได้ครับ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดมากแต่ดูเหมือนว่าที่รู้จักกันคุ้นหูก็คือ PONSTAN (mefenamic acid) ซึ่งจริง ๆ แล้ว จะเลือกทานชนิดใดก็ได้นะครับแต่ขอให้เป็น NSAIDS ก็แล้วกัน เพราะยานี้มีข้อดีมากกว่ายาแก้ปวด PARACETAMOL ตรงที่นอกจากช่วยลดอาการปวดแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดพังผืดสะสมจากรอยโรคได้ด้วย (ในกรณีที่รอยโรคยังไม่มาก) แน่นอนครับทุกอย่างก็ต้องมีทั้งข้อดีและข้อเสีย คือ ยาในกลุ่ม NSAIDS นี้จะมีฤทธิ์ข้างเคียงในเรื่องระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารมาก ดังนั้นเวลารับประทานควรทานหลังอาหารทันทีและดื่มน้ำตามมาก ๆ

ยา ในกลุ่มต่อมาที่เลือกใช้ คือ กลุ่มฮอร์โมนที่ใช้ได้สะดวกที่สุดคือยาเม็ดคุมกำเนิดนี่แหละครับ โดยเราอาศัยกลไกที่ยาไปช่วยยับยั้งการตกไข่ ดังนั้นรังไข่จึงไม่สร้างฮอร์โมนมากระตุ้นการเจริญของรอยโรคดังกล่าว นอกจากนี้ยังอาจพิจารณาเลือกใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉีดก็ได้ โดยฉีดเดือนละหนึ่งเข็มเป็นระยะเวลานาน 6 เดือน ถ้าหากครบหกเดือนแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาฉีดต่ออีก 3 เดือน ซึ่งยาฉีดดังกล่าวนี้นอกจากจะช่วยยับยั้งการตกไข่แล้ว ยังช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญอยู่นอกโพรงมดลูกฝ่อสลายตัวไปได้

นอกจากยาฮอร์โมนทั้งสองดังกล่าวแล้ว ยังมียาอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่ใช้รักษา เช่น ยาในกลุ่มที่ต้านฤทธิ์เอสโตรเจน (Danazol) ยาที่ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากสมอง (GnRHanalogue) แต่ยาดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูงและประสิทธิภาพก็ไม่ค่อยแตกต่างจากยาฮอร์โมน สอง

ตัวแรกที่กล่าวถึงไปแล้วมากนัก อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ยาประเภทใดขอให้แพทย์ช่วยดูแลด้วยจะดีกว่าครับ

หากรอยโรคยังมีพังผืดไม่มานัก ก็อาจพิจารณาใช้แค่ NSAIDS ได้ แต่ถ้ามีพังผืดมาก ๆ ก็คงต้องพิจารณาเลือกยาฮอร์โมน ลักษณะของรอยโรคนอกจากทำให้เกิดพังผืดแล้วอาจทำให้เกิดภาวะก้อนได้ เช่น รอยโรคที่อยู่บริเวณผิวรังไข่ก็อาจทำให้เกิดก้อนที่เรียกว่า chocolate cyst ได้ แต่ก้อนที่มีขนาดมากกว่า 3 ซม. การตอบสนองต่อยาจะค่อนข้างน้อย ดังนั้นการรักษาด้วยการผ่าตัดจึงเข้ามามีบทบาทในกรณีนี้ครับ




ก่อน จะคุยถึงเรื่องวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด คุณผู้หญิงอาจมีความสงสัยว่า แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า อาการของตนเองควรใช้ยาแบบใดดี ก็ตรงนี้แหละครับที่ต้องให้แพทย์ช่วยดูแลพิจารณาให้ การจะบอกได้ว่ารอยโรคมีมากหรือน้อยก็ต้องอาศัยจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน เมื่อพูดถึงการตรวจภายในคุณผู้หญิงหลายท่านอาจรู้สึกเขินอายและไม่สะดวกที่ จะให้ตรวจ ซึ่งก็ไม่เป็นไรครับ เพราะมีการตรวจวิธีอื่นทดแทน ซึ่งก็เป็นวิธีการตรวจร่างกายวิธีหนึ่งเหมือนกัน แต่ก่อนจะกล่าวถึงวิธีการตรวจร่างกายวิธีอื่น ผมขออธิบายถึงความสำคัญของการตรวจภายในก่อน การตรวจภายในแพทย์จะตรวจวิธีคลำผ่านทางช่องคลอดร่วมกับการตรวจคลำบริเวณท้อง น้อย หากพบลักษณะพังผืดแข็งและกดเจ็บร่วมกับมีประวัติอาการดังกล่าว ก็พอจะบอกได้ว่าน่าจะเป็นภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ นี่แหละครับ อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าหากท่านใดไม่สะดวกให้ตรวจภายในก็อาจใช้วิธีการ ตรวจคลำผ่านทางทวารหนักก็ได้ครับ ซึ่งก็จะให้การตรวจพบคล้าย ๆ กัน ซึ่งการตรวจร่างกายร่วมกับประวัติ อาการดังกล่าวจะช่วยในการวินิจฉัยได้มากพอสมควร แต่หากต้องการการวินิจฉัยที่ชัดเจนกว่านี้ก็ต้องอาศัยวิธีการส่องกล้องตรวจ ผ่านทางหน้าท้องครับ ซึ่งการส่องกล้องดังกล่าวต้องทำในห้องผ่าตัด ข้อดีคือจะเห็นรอยโรคได้ชัดเจนและอาจใช้วิธีจี้ด้วยไฟฟ้าให้รอยโรคเล็ก ๆ ฝ่อลงไปได้บ้าง และอาจตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยได้ด้วย ส่วนข้อเสียของวิธีดังกล่าวก็คือ อันตรายและข้อแทรกซ้อนจากการทำหัตถการดังกล่าวก็มีบ้าง เช่น จุกแน่นในช่องท้องภายหลังการทำ หรืออาจมีการบาดเจ็บต่ออวัยวะอื่น ๆ ในระหว่างการทำ นอกจากนี้ก็เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นบ้างพอสมควร
เคยมีคุณผู้หญิงบางท่านมาตรวจแล้วถามผมว่า ขอตรวจอัลตราซาวนด์แทนการตรวจภายในหรือการตรวจทางทวารหนักได้หรือไม่ ผมก็เลยต้องเรียนให้ทราบครับว่า การตรวจแต่ละวิธีนั้นจะให้ข้อมูลที่แตกต่างกัน อย่างในกรณีที่ถามนี้การตรวจภายในหรือการตรวจทางทวารหนัก จะให้ข้อมูลในเรื่องของพังผืดแข็งและกดเจ็บ ส่วนการตรวจอัลตราซาวนด์เราจะได้ข้อมูลในเรื่องของก้อนผิดปกติในอุ้ง เชิงกราน หรือภาวะสารน้ำในอุ้งเชิงกราน ซึ่งภาวะก้อนหรือสารดังกล่าว หากมีขนาดหรือปริมาณมาก ๆ การตรวจภายในก็จะบอกได้เหมือนกันครับ ดังนั้นในการวินิจฉัยโรคใด ๆ จึงต้องอาศัยข้อมูลหลาย ๆ อย่างร่วมกัน แต่โดยหลักการที่แพทย์ทุกคนได้รับการสอนจากอาจารย์ผู้ใหญ่เสมอ ๆ คือ ต้องพิจารณาจากประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลักมากที่สุด

วารสารวิชัยยุทธ ฉบับ สุขภาพสตรีและเด็ก ฉบับที่ 12 โรงพยาบาลวิชัยยุทธ http://www.vichaiyut.co.th

ย้อน กลับมาที่วิธีการรักษาโดยการผ่าตัด จะต้องอาศัยหลักกว้าง ๆ ว่า พยายามเก็บเนื้อรังไข่ส่วนดีให้มากที่สุด เพื่อให้สามารถผลิตฮอร์โมนต่อไป แต่หากผู้ป่วยไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนจากรังไข่แล้ว เช่น เข้าสู่วัยหมดระดู หรือมีบุตรเพียงพอแล้ว ก็พิจารณาตัดรังไข่และมดลูกออกไปเลย เนื่องจากฮอร์โมนจากรังไข่เองเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดรอยโรค และรอยโรคก็มักจะอยู่รอบ ๆ มดลูก การผ่าตัดที่ได้กล่าวไปแล้วอย่างหนึ่ง ก็คือการส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง ซึ่งวิธีนี้เป็นการวินิจฉัยและการรักษาไปในตัวด้วยก็ได้ดังที่ได้กล่าวมา แล้ว วิธีการนี้แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 2-3 ซม. แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บางกรณีที่รอยโรคมีขนาดใหญ่ก็ไม่เหมาะสมที่จะใช้วิธีนี้ เพราะการผ่าตัดจะทำได้ลำบากและอาจเกิดอันตรายได้ในกรณีที่รอยโรคมีขนาดใหญ่ หรือพังผืดมาก การผ่าตัดโดยการเปิดหน้าท้องจะเหมาะสมกว่า ในกรณีที่มีรอยโรคมาก ๆ ก็อาจต้องมีการใช้ยาฮอร์โมนรักษาภายหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำด้วยครับ
จากที่คุยมาทั้งหมดคงทำให้คุณผู้หญิงทุกท่านพอจะทราบและเข้าใจแนวทางในการ สังเกตอาการปวดประจำเดือนของตนเองกันบ้างแล้วนะครับว่าจะเป็นจากภาวะเยื่อบุ โพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือไม่ และเราจะจัดการกับปัญหาดังกล่าวนี้อย่างไรหากมีปัญหาอื่น ๆ ในเรื่องนี้ หรือปัญหาอื่นในด้านสูตินรีเวชก็เขียนมาคุยสอบถามเพิ่มเติมได้ครับ

[ ... ]

ซีสต์เต้านมที่สาวๆควรรู้


สาว ๆ เคยลองคลำสำรวจความผิดปกติของเต้นนมกันบ้างหรือเปล่า วิธีตรวจก็ไม่ยากเพียงนอนลงยกแขนข้างหนึ่ง แล้วใช้ปลายนิ้วมือ อีกข้างหนึ่งคลำให้ทั่ว หากคลำพบสิ่งผิดปกติ เช่น มีก้อนเล็กหรือก้อนใหญ่ที่เต้านมก็ควรไปพบแพทย์ อย่าอายหมอ อย่ามั่วนิ่งนอนใจ เพราะมันอาจไม่ใช่ซีสต์ธรรมดาที่ยุบไปได้เอง แต่มันอาจเป็นซีสต์ที่ยุบหนอพองหนอ เรื้อรังหรือเป็นมะเร็งเต้านมก็ได้ จะเห็นได้ว่าสาว ๆ ในปัจจุบันจะเป็นกันเยอะควรมาศึกษาไปพร้อมกันว่าซีสต์เต้านมเกิดขึ้นอย่างไร

คำแนะนำทั่วไปในการให้วัคซีน

เป็น ที่ทราบกันอยู่แล้วว่า สาว ๆ จะต้องมีรอบเดือน และรอบเดือนนี่แหละที่บทบาทสำคัญในการทำให้ฮอร์โมน เพิ่มมากขึ้น และตัวรังไข่จะถูกกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมพร้อมที่จะมีไข่ตกและเตรียมให้มีการฝังตัวของรังไข่ เมื่อมีการตั้งครรภ์ต่อมน้ำนมก็จะพองตัวขึ้นด้วยเพื่อเตรียมผลิต น้ำนม และเมื่อฮอร์โมนลดลง ประจำเดือนหมด ต่อมน้ำนมก็ จะยุบลง แต่ถ้าต่อมน้ำนมพองตัวแล้วไม่ยุบลงก็จะเกิดเป็นซีสต์ ขึ้นมา ซึ่งซีสต์จะมีหลายขนาด คือ มีขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร จนถึงหลาย ๆ ซม. ถ้าเป็นซีสต์ขนาดเล็กก็มักจะยุบเองได้ แต่ ซีสต์บางชนิดมีความผิดปกติคือไม่ยุบตัวจึงจำเป็นต้องรักษา หรือซีสต์บางชนิดก็จะไม่หายเอง จะเป็นเรื้อรัง

เมื่อเกิดความกังวลและรู้สึกไม่สบายใจ สาว ๆ ควรไป พบแพทย์ โดยแพทย์อาจส่งไปตรวจทำ X RAY Mammogram หรือใช้เข็มฉีดยาเจาะและดูดออกมา หากน้ำที่ออกมาเป็น สีขุ่นใส ๆ สีน้ำนม ก็ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ถ้าน้ำมีสีเลือดจาง ๆ


ควร ระวังเพราะอาจมีเซลล์มะเร็งมาเกี่ยวข้อง แต่ถ้าแพทย์ แน่ใจว่าซีสต์ที่ตรวจพบไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นมะเร็ง ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดให้มีแผลเป็น แต่จะใช้วิธีเจาะและดูดให้ ก้อนซีสต์ยุบตัวลง แต่หากซีสต์ที่พบมีเนื้อปนอยู่หรือเป็น ซีสต์เนื้อ แพทย์จะต้องผ่าตัดหรือเจาะเนื้อเพื่อนำไปพิสูจน์ว่า เป็นมะเร็งหรือไม่ และเมื่อเคยเป็นซีสต์มาแล้วก็อาจจะเป็นใหม่ ที่จุดเดิม หรือที่ใหม่ก็ต้องหมั่นตรวจเช็คตามแพทย์นัด

สาว ๆ อย่ากังวลกับการเป็นซีสต์ เพราะในปัจจุบัน ซีสต์ไม่ใช่สิ่งน่ากลัว อีกทั้งเครื่องมือแพทย์มีความทันสมัย สาว ๆ ไม่ต้องกลัวว่าผ่าแล้วจะมีแผลเป็น แต่ก็ควรระวัง และตรวจอยู่บ่อย ๆ เพื่อให้มั่นใจแค่ว่าเราเป็นซีสต์ เพื่อจะ ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง


วารสารวิชัยยุทธ ฉบับ สุขภาพสตรีและเด็ก
ฉบับที่ 12

โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์วิชัยยุทธ
[ ... ]