Friday, October 10, 2008

ชี้! เตาไมโครเวฟมหาภัยร้ายใกล้ตัว

เผยใช้ผิดวิธีเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง


ใน สภาพเศรษฐกิจที่ต้องรัดเข็มขัดจนตึงเปรี๊ยะ ข้าวก็ต้องเก็บไว้ทานหลายๆ มื้อ การหุงหาอาหารก็ต้องลดการใช้พลังงานเท่าที่จำเป็นเพราะค่าเนื้อสัตว์ ข้าวของต่างๆ ก็แพงเอาๆ ค่าแก๊ส ค่าน้ำมันพืช ค่าอาหารต่างๆ ก็พุ่งพรวดๆ ทยานขึ้นอย่างไม่เคยหยุดหย่อนให้ได้หายใจหายคอได้คล่องขึ้นสักช่วงหนึ่ง


ทำ ให้เตาอบไมโครเวฟเป็นอุปกรณ์ปรุงอาหารจำเป็นสำหรับชีวิตในเมืองที่ต้องเร่ง รีบ และประหยัดทุกลมหายใจ เพราะไม่ต้องเสียเวลานั่งปรุงอาหารให้ยุ่งยาก ไม่ต้องใช้แก๊สหุ้งต้มให้เปลือง เพียงเสียบปลั๊ก รอไม่กี่นาทีอาหารก็ได้รับการอุ่นร้อน หอมกรุ่น พร้อมรับประทานได้ทันที แถมยังประหยัดน้ำล้างกระทะ หม้ออะไรให้ไม่เปลืองทรัพยากร


แต่ จะรู้กันหรือไม่ว่า การใช้ไมโครเวฟถูกวิธีเป็นอย่างไร แล้วเครื่องไมโครเวฟที่อยู่ใกล้ตัวคุณนั้นมีความปลอดภัยต่อคุณภาพชีวิตของ คุณเพียงใด จนถึงขั้นว่าต้องเปลี่ยนใหม่หรือยัง


เตาอบไมโครเวฟมีระยะเวลาต้องเปลี่ยนใหม่ด้วยหรือ???


ล่า สุด กองรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 11 แห่ง จัดทำโครงการตรวจสอบการรั่วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเตาอบไมโครเวฟให้แก่ ประชาชน เพื่อให้ผู้บริโภคใช้งานได้อย่างปลอดภัยที่สุด


โดย การทำงานของเตาอบไมโครเวฟเป็นการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ 2,450 เมกะเฮิรตซ์ ที่ผลิตจากหลอดแมกนีตรอนส่งเข้าสู่ภายในเตาอบ หากผนังหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเตาอบมีรอยรั่วหรือไม่สามารถป้องกันการรั่ว ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้เพียงพอ ผู้ใช้ที่มีพฤติกรรมการใช้แบบไม่ระมัดระวังตัว ก็อาจได้รับอันตรายจากคลื่นไมโครเวฟ


คลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำให้เกิดความร้อนที่ออกมาจากเตาอบไมโครเวฟนั้น เป็นรังสีชนิดอนุภาคที่ไม่แตกตัว ไม่ทำให้โมเลกุลของสารเปลี่ยน และไม่มีผลตกค้าง จึงไม่มีอันตราย อีกทั้งมีโอกาสน้อยมากที่เตาอบไมโครเวฟจะมีคลื่นรั่วออกมาเกินจากระดับที่ มาตรฐาน มอก. 1773-2542 ที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมกำหนด


ซึ่ง พบว่า ในรายที่ใช้เตาอบจนเป็นสนิม ผุ วัสดุเคลือบลอกบานพับประตูชำรุด ประตูปิดไม่สนิท หรือกระจกแตก เก่าทรุดโทรมมากหรือใช้งานมาอย่างน้อยประมาณ 3-5 ปี ก็อาจมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารั่วออกมา หากมีความเข้มข้นพอจะก่อให้เกิดอันตรายได้


อันตราย นั้น ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ผลต่อสุขภาพของผู้ใช้ตู้อบดังกล่าวและบุคคลในครอบครัวทุกคน โดยอาการที่เห็นชัดในระยะแรก คืออาจมีภาวะหน้ามืด วิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ หากรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดการเป็นหมันชั่วคราวสำหรับผู้ชาย เกิดการแท้งบุตร ตาเป็นต้อกระจก หรือกระทั่งมะเร็งผิวหนัง


ขณะ เดียวกันเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ขณะที่เครื่องกำลังทำงาน ไม่ควรเข้าใกล้เตาอบไมโครเวฟ ควรอยู่ห่างอย่างน้อย 50-100 เซนติเมตร และไม่ควรจ้องมองช่องประตูในระยะใกล้ เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟไม่สามารถมองเห็นได้และไม่มีกลิ่น ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจวัด


นอก จากนี้คลื่นไมโครเวฟไม่สามารถที่จะทะลุผ่านโลหะได้ ภาชนะที่เป็นโลหะหรือส่วนประกอบของโลหะ ไม่ควรนำไปใช้กับไมโครเวฟส่วนภาชนะที่สามารถใช้ได้กับเตาไมโครเวฟ คือภาชนะที่เป็นกระเบื้อง ภาชนะแก้วที่ทนความร้อน และภาชนะพลาสติกที่ทำด้วยโพลิโพรพิลีน (Polypropylene)


ทาง ที่ดีที่สุดก่อนใช้ควรศึกษาวิธีการใช้จากคู่มือ หมั่นดูแลทำความสะอาด และบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรใช้ของแข็งขัดถูภายในตัวเตา กรณีที่เตาอบไมโครมีสภาพเก่าหรือซื้อมานานแล้ว หากไม่มั่นใจในความปลอดภัยในการใช้เตาอบไมโครเวฟของตัวเอง ทางกองรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เข้ารับตรวจสอบประสิทธิภาพเพื่อความปลอดภัยของประชาชนในการใช้งาน


หรือ หากอยู่ในส่วนภูมิภาค สามารถนำไปให้ตรวจสอบที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2951-0000-9 ต่อ 99770, 99956


เรื่อง เล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้ก็อย่ามองข้าม เพราะแทนที่จะได้ประหยัดจากการกินอยู่เรียบง่าย มีอะไรก็ใช้กันไป เครื่องเตาอบไมโครเวฟก็ใช้มันจนพัง แทนที่จะเป็นการมัธยัสถ์ แต่อาจส่งผลร้ายกับสุขภาพของผู้ใช้งานเป็นโรคต่างๆ นานา อย่างไรก็ตามทางสายกลางดูจะเหมาะสมที่สุด


เรื่องโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต
[ ... ]

7 โรคประจัญบาน พิฆาตชีวิตผู้บริหาร

ชี้! เหตุเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน

วูบ ล้มครื้นทั้งยืน อาการเหล่านี้ไม่ใช่เพียงจะเกิดขึ้นกับผู้บริหารของประเทศในยุครัฐบาลนี้ กับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรี และในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น

ใน อดีตเมื่อไม่นานนี้เท่าที่จำได้ในยุครัฐบาลขิงแก่ที่เพิ่งผ่านมาหมาดๆ อาการวูบนี้ก็เกิดขึ้นกับรองนายกรัฐมนตรีและในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ก็คนหนึ่งถัดไป

แต่ ถ้าใครระลึกได้ไปในอดีตได้นานกว่านั้นก็อาจทำให้คิดได้ว่ามีหลายต่อหลายท่าน ที่วูบคางาน คาห้องประชุม ครม. หรือคารัฐสภากันมา จนโรควูบจะกลายเป็นโรคประจำตัวของรัฐมนตรีไปแล้ว!!!

ไม่ เพียงแต่โรควูบเท่านั้น ยังมีโรคพ้องเพื่อนอื่นๆ ที่ตามมาด้วยเช่นกัน เพราะปัจจัยเสี่ยงส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ต้องนั่งประชุมนานๆ สังสรรค์ยามค่ำคืนและมีเวลาพักผ่อนไม่เพียงพอ ยิ่งปราศจากการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารไม่เหมาะสมยิ่งเสี่ยงต่อภาวะโรคมากยิ่งขึ้น

ต้อง ยอมรับว่า ไม่เพียงแต่ผู้บริหารเท่านั้น ลูกจ้างธรรมดา ประชาชนกินข้าวแกงหากมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแล้ว ก็ไม่ต่างอะไรจากผู้บริหารที่มีโรควูบและคณะมาเบียดเบียน

ก่อน อื่นมารู้จักกับโรควูบให้ดีเสียก่อน ซึ่ง โรควูบ ที่ตอนนี้นับว่าเป็นโรคยอดฮิตของผู้บริหารไปแล้วนั้น มีที่มาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ อาการวูบเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอทำให้สูญเสียการทรงตัวชั่วคราวจึง ล้มลง แต่ไม่ใช่อาการโรค
หัวใจ หรือเรียกง่ายๆ ว่า "เป็นลมทั่วไป" อาจเกิดจากความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอยืนหรือนั่งนานเกินไป
ส่วน สาเหตุอีกกลุ่มคือ อาการวูบจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และหลอดเลือดอุดตัน ทำให้ล้มลงได้ ถ้าเป็นในขณะที่นอนอยู่ก็อาจไหลตายได้ หากเกิดอาการรุนแรง เพราะลิ่มเลือดอุดตันบริเวณเส้นเลือดที่ตีบ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน ถึงขั้นหัวใจวาย ช็อก หรือหยุดเต้น ทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้!!!

ถัด มาเป็นโรคสหายที่ตามๆ กันมากับโรควูบคือ โรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีความสำคัญอย่าง ยิ่ง เพราะถือเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตเป็นลำดับต้นๆ ของคนไทย โดยโรคนี้แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ โรคสมองขาดเลือด เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และโรคเลือดออกในสมอง เกิดจากหลอดเลือดสมองแตก

ความ รุนแรงและอาการของโรคเกี่ยวข้องกับบริเวณที่สมองขาดเลือด และความกว้างของส่วนที่ขาดเลือดอาจทำให้มีอาการชา อัมพฤกษ์ หรืออัมพาต ถ้ารุนแรงมากอาจเสียชีวิตได้

ปัจจัย เสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองก็มีหลายปัจจัย โดย โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ที่เป็นโรคอันตรายรองจากโรควูบ เพราะเกิดจากการตีบและแข็งตัวของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งในระยะแรกอาจไม่พบอาการผิดปกติ กระทั่งเส้นเลือดตีบมากขึ้นจึงเริ่มปรากฏอาการปวด จุกแน่นที่หน้าอก หากเป็นมากทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน อาการเจ็บหน้าอกจะทวีความรุนแรงมากขึ้นถึงขั้นหัวใจวาย ช็อกหรือหยุดเต้น ทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้!!!

นอกจากนี้ยังมีโรคยอดฮิตไม่แพ้กันอย่าง โรคความดันโลหิตสูง

ทุก วันนี้ประชากรวัยผู้ใหญ่มากกว่า 20% ทั่วโลก กำลังเผชิญกับความทุกข์จากโรคความดันเลือดสูง ซึ่งปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรมและวัยที่สูงขึ้น เจ้าความดันที่พุ่งกระฉูดนั่นเองทำให้เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจขาดเลือด และหัวใจล้มเหลว

โรคเบาหวาน เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด และเส้นเลือดตีบในสมอง ทั้งยังเป็นสาเหตุหลักที่ต้องสูญเสียอวัยวะ

ตาม มาด้วยโรคแพ็คเก็ตคือโรคเบาหวาน เกิดจากระบบการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ โดยร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้อย่างเต็มที่ เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือมีภาวะการณ์ดื้อต่ออินซูลิน ผลที่ตามมาคือ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ มากเกินกว่าที่ท่อไตจะดูดซึมกลับได้ ร่างกายจึงขับน้ำตาลออกไปในปัสสาวะ หลายคนมักเข้าใจว่าเบาหวานเกิดจากกรรมพันธุ์เพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้ว ผู้ที่เป็นโรคอ้วนลงพุง กลับเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้เช่นกัน

และ โรคอ้วนลงพุง คงไม่ต้องอธิบายกันมาก เพราะขณะนี้คนไทยกว่า 29% กำลังเผชิญต่อโรคอ้วนลงพุง!!! ผู้ที่เป็นโรคอ้วนลงพุง จึงมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เพราะคนที่อ้วนลงพุงจะมีไขมันสะสมในช่องท้องปริมาณมาก ยิ่งรอบพุงมากเท่าไหร่ ยิ่งสะสมในช่องท้องมากเท่านั้น ไขมันที่สะสมนี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดีเกิดเป็นภาวะ "อ้วนลงพุง"

จะ ทราบได้อย่างไรว่าอ้วนลงพุงแล้ว ก็สามารถนำดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสองหากใครมีค่าอยู่ระหว่าง 18.5-24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร ถือว่าปกติ แต่ถ้าใครมีค่ามากกว่า ก็มีความภาวะเสี่ยงเช่นกัน

สุดท้ายคงเป็นความเครียด ทำให้เกิดโรคเครียดและผลของความเครียด ทำให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย

ดัง นั้นก่อนอื่นต้องจัดการกับความเครียดก่อน ด้วยการอย่าเข้าหาความเครียด ต้องมีวิธีรับรู้ความเครียด และรับรู้อย่างเป็นระบบ นั่นคือปัญหาอยู่ที่ไหน ก็แก้ที่นั่น และหาวิธีบำบัดความเครียด เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่เหมาะสม และตรวจสุขภาพเป็นระยะ

ส่วน การดูแลสุขภาพไม่ให้ป่วยเป็นโรคมิตรสหายโรคเรื้อรังเหล่านี้จะต้องจัดระบบ งานที่เหมาะสม โดยระยะเวลาการทำงานต้องไม่ควรทำมากกว่า 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ มีเวลาพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตรวจเฝ้าระวังทางสุขภาพเป็นประจำ

สุขภาพดีไม่มีขาย ใครอยากได้ต้องทำเอง มีเงินซื้อไม่ได้ เป็นผู้บริหารหรือลูกจ้างธรรมดา ก็สามารถสร้างสุขภาพที่ดีได้เท่าเทียมกัน


เรื่องโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต
[ ... ]

"เบาหวาน-หัวใจ-อ้วน" โรคยอดฮิตของผู้แทนไทย

แนะวิธีดูแลสุขภาพอย่างง่าย เลี่ยงโรคที่เกิดจากการทำงาน

คนจำนวนมากเมื่ออายุขึ้นเลข 3 มักมองหาแหล่งตรวจสุขภาพ เพื่อค้นหาโรค

บางคนกว่าจะรู้ผลว่าเป็นโรคร้าย ก็ยากต่อการเยียวยารักษา หรือต้องใช้เงินที่เก็บมาทั้งชีวิตหมดไปกับการรักษาร่างกาย

แต่จะมีสักกี่คน ที่เริ่มหันมาดูแลสุขภาพของตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ โดยควบคุม "ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค"

เร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับโรงพยาบาลรามาธิบดี เครือข่ายคนไทยไร้พุง วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์จัดโครงการ "สถานีสุขภาพ ตรวจความผิต ส.ส. ครั้งที่ 2" ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม ณ อาคารรัฐสภา 1 เพื่อเป็นต้นแบบของการตรวจสุขภาพที่มุ่งการค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด โรค โดยค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลต่อสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรค และยังเป็นการเตรียมความพร้อมกับปัญหาสุขภาพที่อาจมีขึ้นในอนาคต

เนื่อง จาก ส.ส.ถือเป็นต้นแบบสำคัญของการดูแลสุขภาพ กิจกรรมตรวจสุขภาพครั้งนี้ จึงมีการมอบรางวัลให้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มีผลการตรวจสุขภาพดีเด่น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชนได้เล็งเห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพ มากยิ่งขึ้น

จาก หนัง "7 โรคยอดฮิตในกลุ่มผู้บริหาร ระบุว่า โครยอดฮิตที่พบบ่อยในกลุ่มผู้บริหารระดับสูงของไทย ประกอบด้วย โรควูบ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง และความเครียด

ขณะที่ผลการตรวจสุขภาพส.ส.-ส.ว.ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม 2551 โดยผลการตรวจสุขภาพ BAMA-EGAT-Score ซึ่ง ประเมินสุขภาพจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในภาพรวม พบว่า ส.ส. และ ส.ว. มีไขมันสะสมมากเกินเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 91 ของกลุ่ม ส.ส. และ ส.ว. ที่มาเข้ารับบริการทั้งหมด

และยังพบว่ามีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ (>.25 kg/m2) ซึ่งจัดว่าอยุ่ในกลุ่มที่เป็นโรคอ้วน คิดเป็นร้อยละ 60 ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงใน ระยะเวลา 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 35 ของกลุ่ม ส.ส.และ ส.ว. ที่มาเข้ารับบริการทั้งหมด

"เบาหวาน" "เส้นเลือดหัวใจตีบ" และ "โรคอ้วน" จึงถือเป็นโรคที่ผู้บริหารระดับสูงต้องควรระวัง

ปัจจัย เสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรค คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารขาดการออกกำลังกาย ประกอบกับ ความเสี่ยงจากการทำงาน อันได้แก่ การเผชิญกับภาวะความเครียด แรงกดดัน การพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้โรคประจำตัวที่มีอยู่แสดงอาการเร็วขึ้น

ผล การสำรวจการตรวจสุขภาพนี้ ไม่แตกต่างกับกลุ่มผู้บริหารจากองค์กรอื่นๆ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เคยสำรวจมา สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยมีภาวะความเสี่ยงทางสุขภาพ

ภาวะความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสามารถป้องกันได้ หากมีการดูแลและป้องกันร่างกายตั้งแต่ต้น ด้วยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่เหมาะสม

วิธีดูแลสุขภาพอย่างง่าย 3 ขั้นตอน เพื่อหลีกเลี่ยงโรคที่เกิดจากการทำงานมีดังนี้ 1. จัดระบบงานที่เหมาะสม โดยระยะเวลาการทำงานต้องไม่ควรทำมากกว่า 48 ชม./สัปดาห์ 2. มีเวลาพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 3. ตรวจเฝ้าระวังทางสุขภาพเป็นประจำ

สำหรับ วิธีคลาดเครียด สามารถจัดการได้ 3 วิธีง่ายๆ ดังนี้ 1. อย่าเข้าหาความเคียด 2. ต้องมีวิธีรับรู้ความเครียด และรับรู้อย่างเป็นระบบ นั่นคือปัญหาอยู่ที่ไหนก็แก้ที่นั่น 3.หาวิธีบำบัดความเครียด เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่เหมาะสม และตรวจสุขภาพเป็นระยะ

ไม่เพียงแต่ผู้บริหารประเทศเท่านั้น บุคคลทั่วไปย่อมสามารถเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่อโรคได้เช่นกัน จึงยังไม่สายเกินไป หากหันมาดูแลสุขภาพ ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ตั้งแต่วันนี้


เรื่องโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต
[ ... ]

“อ้วน” สาเหตุหลักก่อโรคมะเร็ง

พบผลจากการมีน้ำหนักเกิน การกินอาหาร ไม่ออกกำลังกาย

ทำคนป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงสุดโดยคิดเป็น 1 ใน 3 ของคนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่3 แสนคนต่อปีหนังสือพิมพ์เดอะเดลี่เทเลกราฟฉบับออนไลน์รายงานว่าทีมนักวิจัย เรื่องโรคมะเร็งจากประเทศอังกฤษได้ศึกษาล่าสุดพบว่าโรคอ้วนได้กลายมาเป็น ปัจจัยหลักที่ทำให้คนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ป่วยเป็นโรคมะเร็งกัน ทั้งนี้ผลการวิจัยดังกล่าวนี้กำลังจะได้นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการระดับว่า ด้วยเรื่องโรคมะเร็งในวันพฤหัสบดีนี้

โดยการวิจัยนี้เป็นการทำวิจัยโดยกองทุนวิจัยมะเร็งโลกซึ่งได้ใช้เวลาใน การศึกษาและเก็บรวบรวมทั้งสิ้น 5 ปี ข้อมูลที่นำมาศึกษาได้แก่ข้อมูลเรื่องผลของน้ำหนักตัว การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย ต่อความเสี่ยงในการกลายมาเป็นโรคมะเร็ง

อย่างไรก็ดีนักวิจัยพบว่าสำหรับสาเหตุที่ทำให้คนป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงสุด ก็ยังคงเป็นเรื่องการสูบบุหรี่อยู่ดีโดยคิดเป็น 1 ใน 3 ของคนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่จำนวนประมาณ 300,000 ต่อปีในประเทศอังกฤษ

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าสำหรับกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งและไม่ได้เป็น ผู้สูบบุหรี่พบว่าปัจจัยด้านน้ำหนักตัวเกินหรือการเป็นโรคอ้วนซึ่งเป็น ปัจจัยที่สามารถหลีกเลี่ยงได้เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากในการทำให้ เป็นโรคมะเร็ง

จากการวิเคราะห์ทางสถิตินักวิจัยทีมนี้ระบุว่าหากคนอังกฤษที่ป่วยเป็นโรค มะเร็งซึ่งไม่เกี่ยวกับการสูบบุหรี่สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องน้ำหนักตัวได้ จะมีคนจำนวนมากถึง 12,000 รายต่อปีที่สามารถหลีกเลี่ยงการเป็นโรคะมะเร็งได้

นอกจากนี้แล้วยังพบด้วยว่าโรคอ้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเสี่ยงเป็นโรค มะเร็งมากกว่าความผิดปกติของยีนส์ถึงประมาณ 9 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว อีกทั้งผลการวิจัยระบุว่าผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนที่มีปัญหาเรื่องโรค อ้วนมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งถึง 1 ใน 3 ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันว่าการเป็นโรคอ้วนนั้นทำให้คนมีความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็งเพิ่มขึ้นได้ก็เพราะว่าโรคอ้วนทำให้คนมีฮอร์โมนหลายชนิดเพิ่มขึ้น เป็นต้นว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคมะเร็งเต้านม

และยิ่งไปกว่านั้นนักวิจัยระบุว่าโรคอ้วนนั้นทำให้คนมีความเสี่ยงในการ เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้นโดยคิดเป็นประมาณ 11 ถึง 14 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนคนที่เป็นโรคะมะเร็งลำไส้ทั้งหมดต่อปี โดยพบด้วยว่าผู้ชายที่เป็นโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคะมะเร็งลำไส้ มากกว่าปกติถึง 60 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้แล้วยังพบว่าโรคอ้วนเป็นสาเหตุหลักของ 1 ใน 4 ของคนที่เป็นโรคมะเร็งที่ไตและ 1 ใน 3 ของคนที่เป็นโรคเร็งกระเพาะ และ 1 ใน 10 ของคนที่เป็นโรคมะเร็งที่มดลูก

ศาสตราจารย์ทิม คีย์ ซึ่งเป็นนักระบาดวิทยาของสถาบันวิจัยมะเร็งอังกฤษและจะเป็นผู้นำเสนอการ วิจัยนี้ในที่ประชุมว่าด้วยเรื่องวิจัยมะเร็งในระดับโรคดังกล่าวกล่าวว่าคน ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ที่พบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งมีปัญหาเรื่องโรคอ้วน




ที่มา

ข้อมูลจาก : สำนักข่าวต่างประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

ภาพประกอบ : www.thaihealth.or.th
[ ... ]

MV โรคติดเชื้อจากน้ำลายสุนัขและแมว

[ ... ]

MV โรคเส้นเลือดในสมองแตก

[ ... ]

MV โรคมะเร็งทางเดินอาหาร

[ ... ]

MV โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

[ ... ]

MV โรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบ

[ ... ]

MV โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

[ ... ]

โรคตับอักเสบ

โรคตับอักเสบ

สาเหตุของตับอักเสบ อาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. จากเชื้อโรค ซึ่งมีไวรัสเป็นหลัก
2. จากการดื่มสุรา
3. จากยาหรือสารพิษ มียามากมายเป็นร้อยๆ ตัว รวมทั้งสารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการตับอักเสบ
4. จากการติดเชื้อ เช่น ไข้ไทฟอยด์บางราย เลปโตสไปโรซิส มาลาเรีย
โรค ตับอักเสบจากไวรัส เป็นสาเหตุของตับอักเสบ ในขณะนี้มีมากกว่า 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ A – E และที่เพิ่มนอกเหนือจาก 5 ชนิด เช่น G, GB, F แต่ที่เราทราบพฤติกรรมของมันแน่ๆ จะมีเพียง 5 ชนิด ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส
ไวรัสตับอักเสบ A
ไวรัส ตัวนี้พบในมนุษย์เท่านั้น เชื้อจะเริ่มกระจายจากในตุ่มน้ำตามผิวหนัง ชนิดนี้มีความรุนแรงน้อยที่สุดแต่พบบ่อยมาก มักจะมีการระบาดในกลุ่มของคนที่อยู่รวมกันมาก ๆ การติดต่อของไวรัสชนิดนี้จะติดต่อกันโดยทางอาหารหรือน้ำดื่มเท่านั้น เชื้อจะมีปนเปื้อนออกมา กับอุจจาระและปัสสาวะ คนที่เป็นแม่ครัวหรือพ่อครัว หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรุงอาหาร มีโอกาสจะทำให้เชื้อปนเปื้อนลงสู่อาหารและน้ำดื่ม นอกจากนั้น ก็มีรายงานในนม อาหารทะเล เชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นแล้วจะหายเป็นปกติแทบทุกคน และไม่สามารถเป็นพาหะของเชื้อต่อไปอีกได้ ร่างกายมักจะกำจัดเชื้อได้หมด บางรายอาจจะมีอาการเล็กน้อยจนแทบไม่รู้สึก และหลังจากนั้นแล้ว มักจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคตลอดไป
ไวรัสตับอักเสบ B
เจ้าตัวนี้เรา ต้องป้องกันได้ยากที่สุด และนับเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอันใหญ่มากอันหนึ่ง ของประเทศไทยและทั่วโลก ไวรัสตับอักเสบ B มีทางติดต่อที่สำคัญคือ เพศสัมพันธ์ และสามารถติดจากแม่ไปสู่ลูกตั้งแต่ในครรภ์ ส่วนการรับเลือดนั้น ในปัจจุบันจะมีการตรวจกรองก่อนให้คนไข้ ว่าเลือดที่ได้จะปราศจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ B คนที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ B นั้น อาจจะมาจากผู้ที่ป่วยด้วยโรคตับอักเสบและหายแล้วไม่มีอาการแต่ไม่สามารกำจัด เชื้อได้หมด หรือได้รับเชื้อไปแล้วแต่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยแล้วยังคงมีเชื้ออยู่ในร่างกายตลอดไป มักจะไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ตลอดชีวิต และอาจจะเปลี่ยนไปเป็นโรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง หรือมีปัจจัยเสี่ยงทำให้เป็นมะเร็งตับได้มากขึ้น ในประเทศไทยพบราว 7-10% ของประชากร ทำให้อัตราตายของโรคมะเร็งตับ ในประเทศไทยสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของอัตราตายจากโรคมะเร็งทั้งหลายมาตลอด ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุการฉีดวัคซีนสำหรับตับอักเสบ B ให้เป็นวัคซีนพื้นฐานจำเป็นที่เด็กไทยทุกคนจะได้รับเช่นเดียวกับโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โรคเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบ B จึงมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ในประชากรยุคต่อไป
ไวรัสตับอักเสบ C
ติดต่อกันได้ทางหลักคือ ทางเลือด การแพร่เชื้อส่วนใหญ่ คือ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันของผู้ติดยาเสพติดโดยวิธีฉีด ส่วนการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และจากมารดาไปสู่ทารกในครรภ์นั้นพบได้น้อย ที่เหลือจะมีบ้างเช่นการปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งนานๆ จะพบสักครั้งหนึ่ง เนื่องจากปัจจุบันเราจะตรวจกรองผู้ที่บริจาคอวัยวะทุกรายเช่นกัน ว่าปลอดจากไวรัสตับอักเสบ C ไวรัสตับอักเสบ C นั้นทำให้เกิดโรคตับอักเสบได้ทั้งชนิดเฉียบพลัน เรื้อรัง และมีโอกาสก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับได้ คล้ายกับไวรัสตับอักเสบ B
ไวรัสตับอักเสบ D
ไวรัส ตับอักเสบ D นั้นไม่ได้เป็นตัวเดียวเดี่ยว ๆ มันจะต้องมีเปลือกหุ้มตัวของมันเป็นเปลือกของไวรัสตับอักเสบ B ดังนั้นตัวมันเองจึงทำอะไรไม่ได้ จำเป็นต้องมีไวรัสตับอักเสบ B อยู่ร่วมด้วยจึงจะก่อให้เกิดโรค
ไวรัสตับอักเสบ E
การติดต่อ มักจะติดต่อทางน้ำและอาหาร แต่มีความรุนแรงมากกว่าไวรัสตับอักเสบ A และทำให้เป็นตับอักเสบรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ คล้ายกับไวรัสตับอักเสบ B ตัวนี้มักจะพบการระบาดเป็นพักๆ คือในประเทศที่เรื่องการสาธารณสุขค่อนข้างแย่หน่อย มีความแออัดในชุมชนสูง อาหารและน้ำไม่ค่อยสะอาด
อาการของโรค
หลังจากที่ได้รับเชื้อเข้าไป แล้ว ระยะแรกยังไม่มีอาการ ต้องมีระยะฟักตัวที่เชื้อจะเจริญเติบโต แพร่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีจำนวนมากพอที่จะก่อให้เกิดโรคได้ ระยะฟักตัวคือ ระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อ จนเกิดอาการของโรค ในเชื้อไวรัสแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป

*
ไวรัสตับอักเสบ A มีระยะประมาณ 15-45 วัน เฉลี่ย 30 วัน
*
ไวรัสตับอักเสบ B มีระยะประมาณ 30-180 วัน เฉลี่ย 60-90 วัน
*
ไวรัสตับอักเสบ C มีระยะประมาณ 15-100 วัน เฉลี่ย 50 วัน

อาการของโรคตับอักเสบเฉียบพลัน
มีอาการแบ่งได้เป็น 3 ระยะดังนี้
1. ระยะอาการนำ มีอาการกอ่อนเพลียมีไข้ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ บางรายมีอาการคล้าย ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เบื่ออาหารมาก คลื่นไส้ อาเจียน อาจปวดท้องบริเวณชายโครงขวา มีท้องเสียได้ ปัสสาวะสีเหลืองเข้มผิดปกติ ฯลฯ อาการนำเป็นอยู่นาน 4 - 5 วัน จนถึง 1 - 2 สัปดาห์
2. ระยะอาการเหลือง “ดีซ่าน” ผู้ป่วยมีตาเหลือง ตัวเหลือง อาการทั่วไปดีขึ้น แต่ยังอ่อนเพลียคล้ายหมดแรง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือชายโครงขวา เนื่องจากตับโตบวมขึ้นผู้ป่วยตับอักเสบจากไวรัสพบว่า มีอาการดีซ่านเพียงครึ่งหนึ่งหรือน้อยกว่า
3. ระยะฟื้นตัว อาจยังอ่อนเพลียอยู่ อาการข้างต้นหายไป หายเหลืองโดยทั่วไป ระยะเวลาของการป่วยนาน 2 - 4 สัปดาห์ จนถึง 8 - 12 สัปดาห์
มี อีกกลุ่มหนึ่งที่จะเปลี่ยนเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาการทั้งหลายอาจจะหายไปหมดแล้ว หรือคงเหลือตัวเหลือง ตาเหลืองเพียงเล็กน้อย แต่ตรวจเลือดจะพบว่า ความผิดปกติของเอนไซม์ยังไม่หายไป คงอยู่นานเกินกว่า 3 สัปดาห์ เราจะเรียกว่าตับอักเสบเรื้อรัง มักจะพบในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B ราว 1-2% ของคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคตับอักเสบเฉียบพลัน ส่วนไวรัสตับอักเสบ A ไม่ทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง และไวรัสตับอักเสบ C จะทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรังได้เช่นกัน
ประมาณ 10% ของคนไข้ป่วยด้วยโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบ B จะเป็นพาหะแพร่เชื้อต่อไปได้ ตลอดชีวิต

การวินิจฉัยโรคตับอักเสบจากไวรัส
จากอาการดับกล่าว ร่วมกับ การตรวจร่างกาย และการตรวจเลือด ดังนี้
1. ตรวจเลือดสมรรถภาพตับ (Liver Function test) เอ็นซัยม์ SGOT & SGPT สูงกว่าปกติ ค่า มากกว่าร้อยจน ถึงเป็นพัน ๆ
ค่าของบิลิรูบิน (Bukurybub) สูงกว่าปกติด้วย ถ้าผู้ป่วยมีดีซ่าน
2. ตรวจเลือดว่าเป็นไวรัสชนิดใด เช่น
* IgM Anti HAV
* HBsAG ; IgM Anti Hbc etc.
* Anti HCV
การรักษาโรคตับอักเสบจากไวรัส
ยัง ไม่มียารักษาโรคโดยตรง เป็นการรักษาตามอาการ ได้แก่ การพักผ่อนเต็มที่ในระยะต้นจะทำให้อ่อนเพลียลดลง งดการออกแรงออกกำลังกาย การทำงาน งดการดื่มสุรา รับประทานอาการอ่อน ย่อยง่าย น้ำหวาน น้ำผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงอาการไขมันสูงในระยะที่มีคลื่นไส้ อาเจียนมาก ในรายที่อาการมากอาจให้สารน้ำเข้า เส้นเลือดตำ ให้ยาแก้คลื่นไส้ ยาวิตามิน ฯลฯ
สำหรับโรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส การรักษาทั่วไป ได้แก่
1. ให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ในระยะที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ให้นอนพักบนเตียงจนกว่าจะหายเพลีย เมื่อรู้สึกว่าแข็งแรงแล้วจึงค่อยลุกจากเตียง ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็นการออกกำลังกายต้องค่อย ๆ เริ่มทีละน้อย ๆ ควรให้อาหารบำรุงร่างกาย แต่ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ควรงดอาหารนั้น และควรงดสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตับ เช่น สุรา และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด (จักรพันธุ์ ปัญจะสุวรรณ, 2542)
2. ให้กินอาหารที่ได้แคลอรีมาก ๆ โดยเฉพาะพวกโปรตีนต้องกินให้มาก และลดอาหารพวกไขมันลง
การป้องการทำได้โดย
1. ตรวจเลือดเพื่อทดสอบดูว่า เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ มาก่อนหรือไม่ ถ้าเคยได้รับมีภูมิต้านทานหรือเป็นพาหะของโรค
2. ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบก่อนที่จะได้รับเชื้อ ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันน้องบีสุดน่ารักได้อย่างชะงัด (ประมาณเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว) แต่ก่อนฉีดคุณหมอก็คงจะต้องขอตรวจเลือดคุณก่อนว่าคุณมีภูมิคุ้มกัน (หรือคุ้มดีคุ้มร้ายหรือเปล่า) หรือยัง หรือคุณเป็นพาหะหรือเปล่า ซึ่งหลังจากตรวจสอบแล้วก็คงมีวิธีจัดการต่างๆกันไปตามแต่ละบุคคล
อาจจะต้องขอเจาะเลือดตรวจ
1. HBsAg --> ดูว่าคุณมีเชื้อหรือเปล่า เป็นพาหะหรือไม่
2. IgG anti-HBcAg --> ดูว่าเคยได้รับเชื้อมาหรือไม่
3. Anti-HBsAg --> ดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่
ซึ่ง หากคุณไปตรวจแล้วพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกัน ( คือตรวจไม่พบ Anti-HBsAg ) คุณหมอก็คงจะแนะนำให้คุณฉีดวัคซีนป้องกันเป็นจำนวน 3 เข็ม !!!!
"3 เข็ม!!! จะบ้าเรอะ เข็มเดียวชั้นก็กลัวขี้หดตดหายจะตายอยู่แล้ว นี่ล่อตั้ง 3 คนนะยะไม่ใช้หมอนปักเข็ม"
ใน การฉีดเข็มแรก ภูมิคุ้มกันจะขึ้นนิดหน่อย จึงต้องมีเข็มต่อไปเป็นการกระตุ้นเล้าโลมให้น้องบีคลายภูมิคุ้มกันออกมาทีละ น้อย จนเข็มที่ 3 จะได้ภูมิคุ้มกัน 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม โดยลำดับการฉีดเป็นอย่างนี้
เข็มแรก : เมื่อไหร่ก็ได้ที่ชาติต้องการ
เข็มสอง : 1-2 เดือนหลังเข็มแรก
เข็มสาม : 5-6 เดือนหลังเข็มสอง

โปรดกรุณาจำลำดับนี้ไว้ดีๆ และกรุณาอย่าเบี้ยวเมื่อหมอนัดไปเจ็บตัว เพราะหากคุณเถลไถลฉีดไม่ตรงตามกำหนด ภูมิคุ้มกันอาจไม่ขึ้น และคุณอาจต้องฉีดเพิ่มอีก 1 course ได้
( 1 course คือ 3 เข็มนะจ้ะ ไม่ใช่เข็มเดียว )

หากคุณเบี้ยวฉีดไม่ครบ เท่ากับเจ็บตัวฟรี ต้องไปตรวจภูมิใหม่อีกทีเลย เศร้า ....

"อืม แล้วถ้าเกิดชั้นตรวจเจอว่าเป็น มีน้องบีอยู่ในตับชั้นอยู่แล้วล่ะ จะทำไง"

หากพบเชื้อ ก็ไม่ต้องทำไงหรอกค่ะ นอนรอวันตายอย่างเดียว เอ๊ยไม่ใช่!!!! ทำใจให้สบาย ๆ เพราะโอกาสที่คุณจะเป็นมะเร็งตับอะไรนั่น มีเพียง 1/4 เท่านั้น -->นี่พยายามมองโลกแง่ดีแล้วนะคะ ส่วนอีก3/4 จะอยู่ไปจนแก่เฒ่าขึ้นคาน หรือหน้าจั่วอะไรของคุณนั่นอย่างสบาย ๆโดยไม่มีโรคอะไรรบกวน
3. ไม่รับประทานอาหาร และน้ำดื่มที่ไม่สะอาด และอาหารที่ปรุงไม่สุกทุกชนิด
4. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกันกับผู้ที่ทราบว่าเป็นโรคนี้
5. หลีกเลี่ยงการมีสัมพันธ์ทางเพศ เช่น เที่ยวหญิงโสเภณี หรือการมั่วสุมทางเพศแบบพวกชอบอนุรักษ์ป่าไม้เดียวกัน
5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดของผู้ป่วย เช่น รับการถ่ายเลือด จากผู้บริจาคเลือดที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่ในตัว หรือถูกเข็มที่ใช้เจาะเลือด หรือเข็มฉีดยาผู้ป่วยตำหรือแทง โดยอุบัติเหตุ
6. การงดสุรา และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และยาที่เป็นพิษต่อตับ
7. ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และมีคาร์โบไฮเดรตสูง
8. รับประทานวิตามินเสริม
1. วิตามินซี ช่วยในการฟื้นตัวของตับ
2. วิตามินบีรวม ช่วยในการทำงานของตับในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน
3. วิตามินเค ให้เมื่อผู้ป่วยมีการแข็งตัวของเลือดนานกว่าปกติ ป้องกันการเสียเลือด
9. ยา เช่น ยาที่รักษาตามอาการ ยาช่วยลดการคั่งของน้ำดี ซึ่งในการให้ยาผู้ป่วยตับอักเสบต้องให้ในขนาดน้อย แต่ได้ผล
10. การรักษาภาวะแทรกซ้อนของตับแข็ง ในผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง เช่น การตกเลือดที่หลอดอาหารโป่งพอง, ภาวะบวมน้ำในช่องท้อง
11. การป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
12. การให้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง

ที่มา:
http://www.sukumvithospital.com
http://www.techno.msu.ac.th
http://www.bloggang.com
http://www.malila.com
http://www.arokaya.org
http://www.thaiclinic.com
[ ... ]

Thursday, October 9, 2008

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นโรครื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและเป็นสาเหตุการตายในประเทศต่างๆทั่วโลกและเป็นอันดับที่สี่ของคนไทย รองจากกลุ่มโรคมะเร็ง อุบัติเหตุและการเป็นพิษ กลุ่มโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดสมอง สาเหตุของโรคหัวใจ เกิดจากการที่มีพลาก (atherosclerotic plaque) เกาะผนังหลอดเลือดทำให้ขัดขวางการไหลของเลือด โดยเฉพาะเมื่ออุดตันหลอดเลือดโคโรนารี่ที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยเมื่อตรวจดูพลากจะพบว่าเต็มไปด้วยไขมันชนิดโคเลสเตอรอล ปะปนกับเซลล์ เศษเซลล์และโปรตีนเส้นใย มีแคลเซียมมาสะสม พลากอาจจะค่อย ๆ สะสมเพิ่มขนาด จนทำให้รูหลอดเลือดแดงตีบแคบลง ทำให้ขัดขวางการไหลของเลือด
หรืออาจเกิดการแตกและกระตุ้นให้เกิดกลไกการสร้างลิ่มเลือดจนอุดตันหลอดเลือดช่วงนั้น กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ตามปกติถูกหล่อเลี้ยงโดยเส้นเลือดที่อุดตันนี้จึง ขาดเลือด ขาดออกซิเจน ทำให้มีอาการ เจ็บ แน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย อาจเกิดอาการมากขึ้นขณะทำงานหรือออกกำลังกาย หรือมีภาวะเครียดหรือตื่นเต้น (ถ้าตีบน้อยกว่าร้อยละ 50 จะหายไปขณะพัก) เมื่อมีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นเกิดขึ้นหรือเกิดการเต้นของหัวใจผิดจังหวะอย่างรุนแรง นำไปสู่การเสียชีวิตโดยกะทันหัน

ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ที่สำคัญ ได้แก่ความดันโลหิตสูง,ไขมันในเลือดสูง,โรคเบาหวาน,การสูบบุหรี่ โรคอ้วน, อัตราส่วนของเส้นรอบเอวต่อสะโพกเกิน 1 ,การบริโภค อาหารที่ไม่เหมาะสม ,ความเครียด ,การขาดการออกกำลังกาย และการอักเสบของเซลล์บุหลอดเลือดจากภาวะเครียดทางออกซิเดชัน นอกจากนี้ยังพบอัตราการเกิดในเพศชายสูงกว่าและเกิดในช่วงอายุน้อยกว่าเพศหญิง และหากมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ โอกาสการเกิดโรคจะสูงยิ่งขึ้น

ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้นเช่นกัน40



ตารางที่ 1 แสดงระดับไขมันในเลือดต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ




ภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นและพยาธิสภาพของหลอดเลือดหัวใจตีบ

ในสภาวะปกติ กระบวนการสร้างพลังงานจากสารอาหารที่บริโภคจำเป็นต้องใช้ออกซิเจน ทำให้มีการสร้างสารอนุมูลอิสระที่เป็นอนุพันธ์ของออกซิเจน (reactive oxygen species; ROS) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสารชีวโมเลกุลและเซลล์ ปกติร่างกายจะมีวิธีกำจัดสารอนุมูลอิสระเหล่านี้ไม่ให้มากเกินไป โดยอาศัยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ทั้งที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง เช่น กลูตาไทโอน (glutathione) และได้รับจากภายนอก เช่น วิตามินอี วิตามินซี เบต้าแคโร-ทีน ไลโคพีน ไฟโตเอสโตรเจน เฟวานอยด์ เป็นต้น หากมีสารต้านอนุมูลอิสระน้อย หรือกระบวนการกำจัดสารอนุมูลอิสระเสียไป ทำให้สารอุมูลอิสระสูงขึ้นในร่างกาย เกิด ภาวะเครียดจากการออกซิเดชัน (oxidative stress) ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญในการเสื่อมของหลอดเลือดและเซลล์บุผิวของหลอดเลือด การอักเสบ และการเกิดโรคเรื้อรังหลายชนิด อาทิเช่น ความชรา (aging) หรือโรคอื่นๆ ในผู้สูงอายุ เช่น โรคเส้นเลือดตีบตัน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคไต โรคนิ่ว เป็นต้น มีรายงานการศึกษาทั้งผลของการให้หรือเสริมอาหารผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ( antioxidants-rich fruits, vegetable and whole grains ) พบว่ามีประโยชน์ในการลดการเกิดพลาก และลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
พบว่าการลดลงของอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ การลดระดับไขมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL ดังนั้นถ้าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมีความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารไขมันต่ำ เลือกใช้กรดไชมันชนิด โอเมก้า-3 และกรดไขมันอิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวและ น้ำมันที่มีกรดไขมันทราน (Trans –fats ) และบริโภคอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระและกากใยสูงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะทำให้ป้องกันและฟื้นฟูโรคได้



การสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion: HP)

เป็นกระบวนการที่บุคคลสามารถที่จะควบคุมและดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพให้กับตนเอง ส่งผลให้สุขภาพของตัวเองดีขึ้น รวมทั้งกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งจะครอบคลุมกับทุกคนทั้งบุคคลที่ปกติหรือผู้ป่วย
ข้อควรปฏิบัติตนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ควรบริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำ และคาร์โบไฮเดรตที่มีกากใยสูงให้มากเพียงพอทุกวัน
- ควรออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นประจำ อย่างน้อย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์
- ควรผ่อนคลายความเครียด เช่น การสร้างจินตภาพ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โยคะ นั่งสมาธิ เป็นต้น
- ควรควบคุมน้ำหนักและ อัตราส่วนของเส้นรอบเอวต่อสะโพกให้ต่ำกว่า 1 (ควบคุมไขมันหน้าท้อง) และงดสูบบุหรี่




อาหารที่แนะนำในผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ



อาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ควรเป็นอาหารที่อ่อน ย่อยง่าย รสชาติไม่จัดจนเกินไป ควรเลือกคาร์โบไฮเดรตที่มีกากใยสูง มีส่วนประกอบของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวต่ำ (low glycemic index) และเลือกบริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำ โดยไขมันที่รับประทานควรมีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวเป็นหลัก เพิ่มการบริโภคอาหารที่มีพวกผัก ผลไม้ อาหารกลุ่มธัญพืช และกากใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ ซึ่งเป็นแหล่งวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย รวมถึงสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันภาวะท้องผูกได้และลดการเกิดมะเร็งลำไส้ อีกทั้งไม่ควรรับประทานอาหารและผลไม้ที่มีรสหวานหรือเค็มจัด
ข้อมูลที่น่าสนใจและสอดคล้องกันหลายสื่อ คือ ผู้สูงวัยที่มีอายุยืนและสุขภาพแข็งแรง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะผอม สมส่วนไม่อ้วน สุขภาพจิตดี และยังมีข้อมูลที่สำคัญ คือ ชอบบริโภคอาหารไทยที่มีปลา น้ำพริก ผักทุกชนิดกับข้าวในปริมาณที่พอเหมาะ มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกับใคร ไม่อยากรวย ไม่คิดมาก ไม่ชอบการขัดแย้ง ทนได้ก็ทน ทนไม่ได้จะเดินหนี

และยังมีรายงานของอาจารย์ อรพิน บรรจง

ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับ วันที่ 13 เมษายน 2549

ที่นำงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับการกินอยู่ของผู้สูงวัยมาวิเคราะห์พบว่า อาหารที่ทำให้ผู้สูงอายุของไทย4 ภาค ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและมีอายุยืนเกิน 100 ปี คือ ข้าว น้ำพริกจิ้มผัก ปลา ไก่ และผลไม้ไทยราคาถูก ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านที่มีอยู่รอบตัว และเป็นอาหารที่ปรุงเอง ผักผลไม้ปลูกเอง ไก่ปลาก็เลี้ยงเอง






อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูงโดยจำกัดกรดไขมันอิ่มตัวให้น้อยกว่า ร้อยละ 7 และ คอลเลสเตอรอลในอาหารให้น้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ ไข่เป็ด (619 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) ไตหมู (480 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) ตับหมู (368 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) ปลาหมึกตัวใหญ่ หรือปลาหมึกกล้วย (248 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) กุ้ง (154 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) และเนย (260 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) และอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ได้แก่ กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ถูกดัดแปลง (trans –fatty acid) ที่พบมากในอาหารที่ทอดด้วยน้ำมันพืชที่ใช้ซ้ำหลายๆครั้ง เช่น ทอดมัน กล้วยทอด มันฝรั่งทอด ปลาท่องโก๋ นอกจากนี้ยังได้แสดงอาหารที่ควรรับประทานและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงดังตาราง







อาหารที่ควรรับประทาน อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
นมพร่องไขมันเป็น (ไขมัน 1%/) โยเกิร์ต ไอศกรีมพร่องไขมัน ถั่วเหลือง เต้าหู้ น้ำเต้าหู้
ไข่ขาว ปลาและปลาทะเลน้ำลึก เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและไม่มีหนัง เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ไม่ติดมัน



ข้าวซ้อมมือ ขนมปัง หรือแคร็กเกอร์ที่ทำจากธัญพืช ผักสด หรือ ผักนึ่ง ชาเขียว กระเทียมสด
ใช้วิธีลวก ต้ม นึ่ง ย่าง และอบแทนการทอด ถ้าต้องใช้น้ำมันปรุงอาหาร ควรใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันถั่วลิสงหรือน้ำมัน canola หรือน้ำมันถั่วเหลือง ในปริมาณน้อย

รับประทานธัญพืชหรือเมล็ดพืชที่มี MUFA พอประมาณเช่น แมคคาเดเมีย อัลมอนด์ วอลนัท โดยรับประทานร่วมไปกับอาหารอื่น
กินผลไม้และผักที่มีใยอาหารมากๆ



นม (whole milk) ชีส ไอศกรีม เนย (butter) เนยเทียม (magarine) ตลอดจนของอบที่มีส่วนประกอบเป็นเนยและเนยเทียม เช่น คุ้กกี้ เค้ก พายและพัฟต่างๆ
ไข่แดง เนื้อสัตว์ติดมัน และมีหนัง ขาหมู ข้าวมันไก่ ไส้กรอก เบคอน เครื่องใน เช่น ตับ สมอง


น้ำต้มเนื้อ อาหารที่ปรุงโดยการผัดในน้ำมันที่มันจัดหรืออมน้ำมัน เช่น ปลาดุกฟู ขนมปังทอด (ควรใช้น้ำต้มผักหลากสีเป็นน้ำสต้อกแทนน้ำมัน) งดการบริโภคอาหารทอด เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยแขก โดนัท โรตี มันฝรั่งทอด



การประกอบอาหารงดไขมันชนิด เช่น กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันหมู ถ้าจำเป็นควรใช้กะทิที่ผลิตจากธัญพืชแทน (เมล็ดทานตะวันและรำข้าว)





ถ้ามีโรคหลอดเลือดหัวใจ ร่วมกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ต้องรับประทานอาหารหมู่ ข้าว แป้ง แต่พอควร เพราะถ้าได้รับมากทำให้เพิ่มน้ำตาลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคุณสมบัติทำให้ น้ำตาลในเลือดสูง (high glycemic index) เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว ข้าวเหนียว ทุเรียน ลำไย ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง เนื่องจาก ควรเลือกรับประทานอาหารที่มี low glycemic index และมีไฟเบอร์สูง เช่น ข้าวกล้อง ถั่วเหลือง วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ สปาเก็ตตี้ ส้ม กล้วย มะละกอ พุทรา แอปเปิ้ล ฝรั่ง งดเครื่องดื่มที่หวานจัด น้ำอัดลม ควรใช้น้ำตาลเทียม เติมในเครื่องดื่มแทนน้ำตาลทราย



การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การออกกำลังกายที่ดีไม่ใช้แรงมาก ไม่ควรเป็นการวิ่งหนักๆ ซึ่งจะส่งผลต่อข้อเข่าและสะโพก ควรเป็นการออกกำลังกายเบาๆ ที่มีการออกแรงสม่ำเสมอ เช่น การเดิน แอโรบิกช้าๆ ไทเก๊ก การออกกำลังกายในน้ำ เป็นต้น
สำหรับการเดิน ต้องเดินติดต่อกันไปเรื่อยๆอย่างน้อย 30 นาที เดินให้เร็ว ก้าวขายาวๆ แกว่งแขน และควรเดินให้ได้ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง กรณีผู้ที่มีปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบตันควรปรึกษาแพทย์ และช่วงแรกควรกระทำภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ประโยชน์ของการออกกำลังกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์และกลูโคสในเลือด เพิ่มระดับไขมันชนิดที่ดี HDL และระดับสารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ลดภาวะเครียดจากออกซิเดชั่น ซึ่งเป็นผลโดยตรงในการลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ






แนวทางการปฏิบัติตนแบบองค์รวมเพื่อลดความรุนแรงของโรคและสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจและกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ

1.โภชนาการ ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำ โดยมีปริมาณไขมันไม่เกินร้อยละ 10 ของอาหารที่บริโภคทั้งหมด การบริโภคผักและผลไม้ปริมาณมากเพื่อเพิ่มเส้นใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ

2. ควบคุมน้ำหนักตัวและดัชนีมวลร่างกายไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน

3. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยพิจารณาเลือกการออกกำลังกายที่ไม่ใช้แรงมากอย่างรวดเร็ว เช่น การเดิน การฝึกโยคะ การรำมวยจีน โดยฝึกให้ต่อเนื่อง 30 นาทีอย่างน้อยวันเว้นวัน

4. ลดความเครียด เช่น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อและการสร้างจินตภาพ การทำสมาธิ การพบปะผู้คนการเข้ากลุ่มพูดคุยเพื่อปรึกษาและให้กำลังใจ

5. หลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น การเลิกสูบบุหรี่และเลิกดื่มเหล้า






การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และการสร้างจินตภาพ สำหรับผู้สูงอาย

Progressive muscle relaxation and Guilded imaginary

โดย ศ. ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์ นางสาว เอมอร แสงศิริ และ รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ
(ฝ่ายชีวเคมี หอผู้ป่วยไอซีซียู ฝ่ายการพยาบาล และหน่วยโรคหัวใจ ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์)



การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การออกกำลังกายที่ดีไม่ใช้แรงมาก ไม่ควรเป็นการวิ่งหนักๆ ซึ่งจะส่งผลต่อข้อเข่าและสะโพก ควรเป็นการออกกำลังกายเบาๆ ที่มีการออกแรงสม่ำเสมอ เช่น การเดิน แอโรบิกช้าๆ ไทเก๊ก การออกกำลังกายในน้ำ เป็นต้น
สำหรับการเดิน ต้องเดินติดต่อกันไปเรื่อยๆอย่างน้อย 30 นาที เดินให้เร็ว ก้าวขายาวๆ แกว่งแขน และควรเดินให้ได้ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง กรณีผู้ที่มีปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบตันควรปรึกษาแพทย์ และช่วงแรกควรกระทำภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย



ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์และกลูโคสในเลือด เพิ่มระดับไขมันชนิดที่ดี HDL และระดับสารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ลดภาวะเครียดจากออกซิเดชั่น ซึ่งเป็นผลโดยตรงในการลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ



การจัดการกับความเครียด

การจัดการกับความเครียดกระทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล ที่ปฏิบัติแล้วสามารถช่วยลดความเครียด ทำให้รู้สึกผ่อนคลายลงได้ ได้แก่ การปฏิบัติสมาธิ(Meditation) การผ่อนคลาย(Relaxation): การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (progressive muscle relaxation: PMR) การสร้างจินตภาพ (Guide imaginary) เป็นต้น
การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (progressive muscle relaxation) คิดค้นขึ้นโดยนายแพทย์ Edmund Jacobson ในช่วงปี ค.ศ. 1930 เป็นกระบวนการฝึกการเกร็งและการคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อฝึกฝนการควบคุมการคลายกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Active progressive muscle relaxation การควบคุมให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เกร็งขึ้นช้าๆ จนตึงเครียดสูงสุด จากนั้นคลายการเกร็งเพื่อให้อยู่ในท่าที่ผ่อนคลายและสบายที่สุด กลุ่มกล้ามเนื้อที่จะควบคุมแบ่งเป็นกล้ามเนื้อขาน่อง กล้ามเนื้อต้นขา กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อไหล่ กล้ามเนื้อคอและใบหน้า
Passive progressive muscle relaxation เทคนิคนี้ เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อโดยไม่ต้องเกร็งก่อน โดยการใช้ความรู้สึก หรือจิตไปสัมผัสแต่ละส่วนของร่างกาย ให้มีสติกำหนดรู้ว่ากล้ามเนื้อส่วนนั้นๆผ่อนคลาย และสบาย

ประโยชน์ของการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ คือ ผู้ฝึกจะรู้จักการควบคุมคลายกล้ามเนื้อ เมื่อเกิดความตึงตัวจากภาวะความเครียด ให้ผ่อนคลายลงได้





การสร้างจินตภาพ (Guide imaginary)



การสร้างจินตภาพ


คือ การสร้างจินตนาการในความคิดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นภายหน้าในทางที่ดี เพื่อให้รู้สึกถึงความทุกข์ทรมานและความท้อแท้ลดลง เช่น คิดถึงร่างกายที่มีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงในขณะที่มีความเจ็บป่วย หรือกล้ามเนื้อที่ผ่อนคลายทั่วลำตัวในขณะที่มีความเครียด การศึกษาในประเทศไทยพบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม (ปริญญา สนิกะวาที 2540) และผู้ป่วยที่มีบาดแผลไฟไหม้ (แสงหล้า พลนอก 2539) ที่สร้างจินตภาพสามารถลดความทุกข์ได้ทั้งทางกายและทางใจได้ชัดเจนกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กระทำ ประโยชน์ของการสร้างจินตภาพ เชื่อว่าสามารถลดความเครียดที่เกิดขึ้นภายใน ทำให้การทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกายและฮอร์โมนกลับสู่สภาวะปกติ หัวใจเต้นช้าลง การต้องการใช้ออกซิเจนของสมองและหัวใจลดลง ทำให้ระดับอนุมูลอิสระที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานและออกซิเจนลดลง
คณะวิจัยจากภาควิชาชีวเคมี ทำการศึกษาระดับไขมันในเลือดและภาวะ เครียดทางออกซิเดชั่น ในกลุ่มนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 ในสภาวะปกติ เทียบกับภายหลังปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิต โดยเพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ที่มีกากใยอาหารสูง ร่วมกับการผ่อนคลาย ความเครียดโดยการฝึกคลายกล้ามเนื้อ การทำโยคะ และการสร้างจินตภาพ พบว่า ภายหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงหนึ่งสัปดาห์ ระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์และ LDL ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในขณะที่ HDL เพิ่มสูงขึ้น เล็กน้อย
ในด้านของความเครียดทางออกซิเดชั่น พบว่า สารต้านอนุมูลอิสระในปัสสาวะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ บ่งชี้ว่าในมีระดับสารต้านอนุมูลมากเกินพอ ในขณะที่สารอนุมูลอิสระ ในพลาสมาและระดับกลูทาไธโอนเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ผลิตภัณฑ์จากอนุมูลอิสระที่เรียกว่า malondialdehyde (MDA) ในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ



ต่อมาคณะวิจัยจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้ศึกษาประสิทธิผลของการสร้างเสริมสุขภาพและการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตอย่างเคร่งครัดต่อการเปลี่ยนแปลงระดับไขมัน ภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นในเลือด สมรรถภาพการทำงานของหัวใจ น้ำหนักของร่างกาย และคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่มาเข้าโปรแกรม เน้นความสามารถในการดูแลตนเอง ได้แก่


1. ให้ความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำ ผัก ผลไม้ ธัญพืช เพื่อเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ
2. การใช้เทคนิคจัดการกับความเครียด โดยการสร้างจินตภาพหรือจินตนาการ
3. การออกกำลังกายโดยการเดิน และฝึกโยคะอาสนะ
4. การจัดกลุ่มให้ความช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษา ให้ความรู้ผู้ป่วยในด้านสุขภาพหลาย ๆ ด้าน
5. การตรวจสมรรถภาพของหัวใจ การตรวจเลือดก่อนและหลังเข้าโปรแกรม
6. การให้ความรู้เรื่องการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ


จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยมีสมรรถภาพการทำงานของหัวใจดีขึ้น โดยเปรียบเทียบการทำงานของหัวใจ พบว่ากลุ่มผู้ป่วย มี ค่าเฉลี่ย functional capacity และค่า six minute walk test เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าดัชนีมวลกายลดลง ค่าเฉลี่ยระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ลดลง (เนื่องจากการควบคุมอาหารไขมันต่ำ) ค่าเฉลี่ยของระดับ HDL ที่เป็นไขมันชนิดดีเพิ่มขึ้น (จากการผ่อนคลายความเครียด) ขณะที่ระดับเฉลี่ยของโคเลสเตอรอลไม่ลดลงแต่เพิ่มขึ้น (ลดลง 5 รายจาก 22 ราย อาจเนื่องจากมีการสร้างขึ้นเองในร่างกาย และไม่ได้รับประทานยาลดไขมัน) ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของระดับ LDL ที่เป็นไขมันชนิดเลวก็เพิ่มขึ้น (เนื่องจากค่า LDL

ได้มาจากการคำนวณจากสูตร C - HDL - (TG/5)) ดังนั้นเมื่อค่าโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น LDL จึงเพิ่มขึ้น การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การให้ความรู้โดยผ่านสื่อการสอน และวิธีปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของผู้ป่วย ร่วมทั้งทีมแพทย์ให้คำปรึกษา การเข้ากลุ่มอย่างต่อเนื่อง มีผลเพิ่มระดับ HDL และช่วยลดน้ำหนักตัวในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่น้ำหนักเกิน และอ้วน ได้ในเวลา 4 เดือน






รูปแสดงการเปลี่ยนแปลงของ Mean functional capacity ของผู้ป่วยโรคหัวใจตีบคงที่ก่อนและหลังเข้าโปรแกรม

Intensive lifestyle modification, ILM เป็นเวลา4 เดือน





คำแนะนำในการบริโภคอาหารเพื่อการป้องกันและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือด


- รับประทานผักและผลไม้อย่างน้อย 5-7 ส่วนต่อวัน
- รับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก ถั่วเหลืองและเต้าหู้ เป็นประจำทุกวัน
- งดอาหารที่ใส่กะทิ (ใช้กะทิธัญพืชแทน) เนยเทียม ครีมเทียม งดอาหารทอดควรใช้วิธีอบหรือนึ่งแทน ควรใช้น้ำมันประกอบอาหารเป็น น้ำมันมะกอก (olive oil), น้ำมันจากเมล็ดคาโนลา (canola oil) น้ำมันมะกอก , น้ำมันรำข้าว (rice bran oil) ในปริมาณที่เหมาะสม
- รับประทานถั่วที่มี monounsaturated fatty acids และ กรดไขมันโอเมก้า-3 เช่น อัลมอนด์, hazelnuts, pecans, walnuts and macadamia nuts
- ลดการบริโภค ไขมันอิ่มตัว, polyunsaturated fat และ transfatty acids
- รับประทานกระเทียมเป็นประจำ - เพิ่มการบริโภคอาหารที่มีเส้นใยให้มากพอ
- ลดการบริโภคเนยและมาการีน (เนยเทียม) - ลดการบริโภคเนื้อติดมัน
- ควรบริโภคนมไขมันต่ำ ลดการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม



นอกจากนี้คณะวิจัยยังพบว่าประสิทธิผลของการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตมีผลต่อค่าของสารต้านอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยเฉพาะ ระดับ antioxidants ในเลือด ( glutathione และ วิตามินซี) เพิ่มมากขึ้น

และการพบค่าวิตามินซีสูงขึ้นน่าจะเป็นผลมาจากการตื่นตัวองผู้ป่วยเน้นการบริโภคผักและผลไม้เพิ่มมาก(จากบันทึกการบริโภคอาหารประจำวันและการสัมภาษณ์) และเป็นที่ทราบดีว่าวิตามินซีมีบทบาทเพิ่มการสร้างของ glutathione ขณะที่พบว่าระดับของโมเลกุลที่ถูกทำลาย (MDA) ลดลง


จากผลการศึกษาทั้งในผู้ป่วยและคนปกติสามารถบ่งชี้ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิตโดยการรับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้นร่วมกับการคลายเครียดโดยวิธีผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โยคะและการสร้างจินตภาพ สามารถลดระดับไขมันในพลาสมาและความเครียดจากออกซิเดชั่น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันในผู้สูงอายุได้
[ ... ]

โรคหัวใจเบื้องต้น

คำว่า “โรคหัวใจ” เป็นคำที่กว้างมาก ฟังดูน่ากลัวมากสำหรับผู้ป่วย ในความเป็นจริงแล้วโรคหัวใจแบ่งย่อยออกได้มากมายหลายชนิด ความรุนแรง และความจำเป็นในการรักษาก็แตกต่างกัน ดังนั้นหากคุณหมอบอกท่านว่าท่านเป็นโรคหัวใจ ท่านควรจะทราบ รายละเอียดเกี่ยวกับความเจ็บป่วย ของท่านมากขึ้น ว่าท่านเป็นโรคหัวใจชนิดใด เกิดจากอะไรและมีแนวทางการรักษาอย่างไร

เราอาจแบ่งชนิดของโรคหัวใจคร่าวๆได้ดังนี้

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นมาตั้งแต่เกิด บางครั้งวินิจฉัยได้แต่แรกคลอด แต่บางครั้งก็ไม่มีอาการใดๆ จนกว่าจะอายุมากก็มี ความผิดปกตินี้อาจเกิดขึ้นกับทุกส่วนของหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจ หรือ ตัวห้องหัวใจเอง มีสภาพไม่สมบูรณ์ เหมือน บ้านที่สร้างไม่เสร็จ มีรอยโหว่ รู้รั่ว ประตูปิดไม่ดี น้ำท่วม เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วเรา ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เชื่อว่าการติดเชื้อไวรัสและการได้รับสารเคมี เช่น ยาบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์อ่อนๆอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง ความผิดปกติเหล่านี้หลายอย่างสามารถผ่าตัดแก้ไขได้ แต่บางครั้งก็ทำอะไรไม่ได้

โรคลิ้นหัวใจ ลิ้นหัวใจพิการอาจเป็นแต่กำเนิดหรือมาเป็นภายหลังได้ ที่มาเป็นภายหลังส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อคออักเสบ และไม่ได้รับการรักษา อย่างถูกต้อง ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อต้านหัวใจตัวเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ และ เกิดลิ้นหัวใจพิการ (ตีบ รั่ว) ตามมา นอกจากนั้นลิ้นหัวใจพิการยัง อาจเกิดจากการติดเชื้อที่หัวใจโดยตรง หรือเกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจเอง โดยมากแล้วเราสามารถผ่าตัดแก้ไขได้

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือ คลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น โรคที่พบบ่อย คือ กล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย บางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น ยังมีโรคของกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ (อาจเกิดจากการ ติดเชื้อไวรัส) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางและบีบตัวอ่อนกว่าปกติมาก การรักษาโรคของกล้ามเนื้อหัวใจนี้ อาศัยการแก้ไขที่สาเหตุ เช่น ขยายหลอดเลือดหัวใจ ผ่าตัดบายพาส ส่วนหากไม่ได้ผลหรือเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุ การรักษาสุดท้ายคือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคกลุ่มเดียวกัน เพราะหลอดเลือดหัวใจจะนำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อหลอดเลือด ผิดปกติจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การทำงานจึงผิดปกติ โรคของหลอดเลือดหัวใจอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการสะสม ของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด (ไม่ใช่มีก้อนไขมันในเลือดลอย ไปอุดตัน ตามที่เข้าใจกัน)

โรคเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย หรือ เชื้อวัณโรค โรคนี้ส่วนใหญ่รักษาได้ ยกเว้นกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มหัวใจ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กลุ่มนี้มีหลายชนิดมาก บางชนิดไม่เป็นอันตราย บางชนิดอันตรายมาก (ส่วนใหญ่ของกลุ่มที่ร้ายแรง มักมีความผิดปกติ ของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจด้วย) สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติไป เช่น มีจุดกำเนิด ไฟฟ้าแปลกปลอมขึ้น หรือ เกิดทางลัด (เรียกง่ายๆว่า ไฟช็อต) ในระบบ เป็นต้น

การติดเชื้อที่หัวใจ พบได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำ หรือ ติดยาเสพติดชนิดฉีด โดยมากเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ซึ่งจะเป็นปัญหาในการรักษา อย่างมาก โรคหัวใจในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีลักษณะของโรคหลากหลายมาก

มะเร็งที่หัวใจ คุณคงได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับมะเร็งตามอวัยวะต่างๆบ่อยๆ เช่น ปอด ตับ กระดูก ไต เต้านม มดลูก และ ปากมดลูก รังไข่ ฯลฯ แต่น้อยครั้ง มากที่จะได้ยิน”มะเร็งหัวใจ” เพราะเนื้องอกที่หัวใจพบได้น้อย ส่วนใหญ่ของมะเร็งหัวใจ เกิดจากมะเร็งอวัยวะข้างเคียงลุกลามมายังหัวใจ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นการจัดกลุ่มใหญ่ๆซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก แต่จะเห็นว่าผมไม่กล่าวถึง “โรคหัวใจอ่อน” “โรคประสาทหัวใจ” “โรคหัวใจโต” เลย เพราะความจริงแล้ว ไม่มีโรคนี้ ขอเน้นอีกครั้งว่า โรคหัวใจอ่อน และ โรคประสาทหัวใจ ไม่ใช่โรคหัวใจ ส่วนใหญ่เกิดจากความกังวล ส่วนหัวใจโตนั้นเป็นภาวะมากกว่าที่จะเป็นโรค และ ต้องทราบ ว่าสาเหตุที่หัวใจโตนั้น เกิดจากโรคอะไร คำว่าหัวใจโตเฉยๆจึงไม่มีความหมายใดๆ

ผู้เขียนหวังว่าท่านคงเข้าใจ “โรคหัวใจ” ดีขึ้น ท่านอาจหาความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ การตรวจพิเศษทางโรคหัวใจ ได้จาก web ที่รวบรวมไว้ใน Heart Links หรือถามคำถามมาได้ครับ
[ ... ]

Tuesday, October 7, 2008

มะเร็งผิวหนัง

เป็นมะเร็งที่พบได้น้อย ประมาณร้อยละ 5 ของมะเร็งทั้งหมด มักพบในผู้ที่มีอายุมาก กว่า 40 ปี และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง



สาเหตุ

ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าการระคายเคืองต่อผิวหนังเป็นระยะเวลานานๆ เป็นสาเหตุ ให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ เช่น
1. แสงแดดและแสงอุลตราไวโอเลต พบว่า ผิวหนังส่วนที่ถูกแสงแดด เป็นระยะเวลา นานๆ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าส่วนอื่น
2. ยาที่มีส่วนประกอบของสารหนู ทั้งยาจีน ยาไทย เมื่อรับประทานนาน ๆ จะทำให้ เป็นโรคผิวหนังและกลายเป็นมะเร็งในที่สุด
3. หูด ไฝ ปาน หรือแผลเรื้อรังที่มีการระคายเคืองเป็นเวลานานๆ อาจกลายเป็นมะเร็ง ได้



อาการ

ส่วนใหญ่เริ่มจากมีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน หรือเริ่มต้นเป็นแผลเล็ก ๆ แล้วค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น ขรุขระ อาจมีสีดำที่ขอบ ๆ และเมื่อเป็นมาก จะเป็นก้อนคล้ายดอก กระหล่ำปลี มะเร็งผิวหนังส่วนใหญ่มักพบที่บริเวณใบหน้า แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว



การตรวจวินิจฉัย

ทำได้โดยการตรวจร่างกาย และตัดชิ้นเนื้อไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์



การรักษา

ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และตำแหน่งของมะเร็ง แพทย์อาจใช้วิธีการผ่าตัดเอาส่วนที่เป็น มะเร็งออก ซึ่งบางครั้งต้องตัดต่อมน้ำเหลืองที่เป็นทางกระจายของมะเร็งออกด้วย การ ใช้ยาเคมีและรังสีรักษาเสริมการผ่าตัด จะทำให้มีโอกาสหายขาดมากขึ้น



การป้องกัน

1.ไม่ควรให้ผิวหนังถูกแสงแดดจนไหม้เกรียม

2.ระมัดระวังการใช้ยาที่เข้าสารหนู

3.สังเกตความเปลี่ยนแปลงของหูด ไฝ ปาน

4. แผลเรื้อรังที่ผิวหนัง รักษาแล้วไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์
[ ... ]

มะเร็งถุงน้ำดี และท่อน้ำดี


มะเร็งของถุงน้ำดี พบได้น้อยกว่ามะเร็งท่อน้ำดี และพบ ในผู้มีอายุ 40 ปี ขึ้นไปและพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนมะเร็งท่อน้ำดีพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

สาเหตุ
พบว่า มีความสัมพันธ์กับนิ่วในถุงน้ำดี ส่วนสาเหตุ ของมะเร็งท่อน้ำดี มักเกิดจาก พยาธิใบไม้ในตับ และสารก่อมะเร็งพวก ไนโตรซามีนส์ ซึ่งอยู่ในสารถนอมอาหาร พวกดินประสิว นิ่วในตับก็มีความสัมพันธ์ ์กับมะเร็งท่อน้ำดีในตับ

อาการ
มักมีอาการเหมือนถุงน้ำดีอักเสบ คือ เจ็บปวด ชายโครงขวา ถุงน้ำดีโต ท้องอืด ปวดท้อง น้ำหนักลด มีไข้ หรือเป็นดีซ่าน อาการของ มะเร็งท่อน้ำดีมักทำให้เกิดอาการของดีซ่าน มีไข้ ปวดท้อง

การตรวจวินิจฉัย
ใช้วิธีการตรวจเลือดดูว่ามีดีซ่านหรือไม่ ใช้ อุลตร้าซาวด์หรือคอมพิวเตอร์ตรวจดูก้อนใน ถุงน้ำดี และ ท่อน้ำดี และในกรณีที่มีอาการ อุดตันท่อน้ำดีจะใช้วิธีการตรวจพิเศษ คือ การฉีดสีเข้าไป ในท่อน้ำดี เพื่อดูว่าส่วน ใดที่มีการอุดตัน และวินิจฉัยแยกจากโรค อื่น การเจาะเลือดเพื่อดูสารที่มะเร็งถุงน้ำดี ปล่อยออกมาที่เรียกว่า ทูเมอร์ มาร์คเกอร์ ก็ช่วยในการวินิจฉัยได้ดี

การรักษา
การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุด มะเร็งถุงน้ำดีจะผ่าตัด โดย ตัดถุงน้ำดี และบางครั้งต้องตัดตับบางส่วนพร้อม ต่อมน้ำเหลืองรอบข้างไปด้วย มะเร็งท่อน้ำดีจะตัด ท่อน้ำดีและอวัยวะข้างเคียงออกด้วย แต่ในกรณีที่ ผ่าตัดออกไม่ได้ การผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการดีซ่านก็ ยังเป็นวิธีการรักษาแบบประคับประคองที่ดีที่สุด การ ลดอาการดีซ่านอาจใช้วิธีใส่ท่อเข้าไปในท่อน้ำดีผ่าน ทางผิวหนัง (PTBD)หรือการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด มักไม่ได้ผลแต่เป็นการบรรเทาอาการ การใช้รังสีรักษา มักใช้ในรายที่ผ่าตัด ไม่ได้แต่ เพื่อบรรเทาอาการและ ประคับประคองเท่านั้น หรือบางครั้งอาจช่วยเสริม การผ่าตัดได้
[ ... ]

มะเร็งตับอ่อน


เป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ เนื่องจาก ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่อยู่หลัง เยื่อบุช่องท้อง การตรวจวินิจฉัยค่อน ข้างยาก และอาการจะปรากฎเมื่อ มะเร็งมักจะลุกลามมากแล้ว

อุบัติการณ์
การเกิดมะเร็งตับอ่อนในประเทศไทย พบว่า มีประมาณ 1 % ของมะเร็งทางเดินอาหาร พบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 4 เท่า อายุที่พบเฉลี่ย 40-70 ปี

สาเหตุ
สาเหตุของมะเร็งชนิดนี้ไม่ทราบแน่ชัด แต่ เนื้องอกในตับอ่อนบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็ง ได้ ปัจจัยบางอย่างที่เชื่อว่าอาจทำให้เกิด มะเร็งตับอ่อนได้ คือ บุหรี่ และโรคเบาหวาน

อาการ
จะมีอาการแล้วแต่ตำแหน่งของมะเร็งที่พบว่า อยู่ส่วนใดของตับอ่อน มะเร็งจะพบมาก ที่ส่วนหัวของตับอ่อน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการของตัวเหลือง ตาเหลือง จากการอุดตันของท่อน้ำดี ที่หัวตับอ่อนเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจจะคลำได้ก้อนที่ท้อง ตับโต ถุงน้ำดีโต เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มะเร็งตับอ่อนที่เกิดขึ้นที่ส่วนตัวและส่วนปลายของตับอ่อน จะมี อาการของการปวดท้องรวมกับปวดหลัง น้ำหนักลด ตับโต หรือมีอาการที่เกิดจากมะเร็ง กระจายไปยังที่อื่น เช่น ต่อมน้ำเหลือง ไหปลาร้า

การตรวจวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือด หรือทางอุลตร้าซาวด์เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ บางครั้งต้องใช้วิธีตรวจพิเศษ คือ การส่องกล้องและฉีดสีเข้าไปในท่อตับอ่อน เรียกว่า การทำ ERCP

การรักษา
การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุด การตัดเอามะเร็งออกพร้อมอวัยวะข้างเคียง เพื่อหวังผลในการ รักษาให้หายขาดได้ กรณีที่ตัดเอาก้อนมะเร็งออกไม่ได้การผ่าตัดเพื่อทำทางเบี่ยงน้ำดีเพื่อ ลดอาการดีซ่าน หรือทางเบี่ยงให้กระเพาะอาหารเพื่อลดการอุดตันของทางเดินอาหารยังเป็น วิธีการที่บรรเทาอาการผู้ป่วยได้ดีที่สุด สำหรับรังสีรักษาและเคมีบำบัดมักใช้ในรายที่ทำผ่าตัด ไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อประคับประคองอาการ

[ ... ]