Friday, September 4, 2009

โรคชิคุนกุนยา เป็นครั้งเดียวในชีวิต ไม่ถึงตาย

แพทย์ระบุชิคุนกุนยาเป็นครั้งเดียวในชีวิต ไม่ถึงตาย
ย้ำไม่ทำให้ถึงตาย ไม่มีวัคซีนป้องกัน เตือนปชช.นอนกลางวันอย่าให้ยุงกัน เผยอีสานใต้มีผู้ป่วยแล้ว 13 ราย ส่วนใหญ่มีอาชีพทำงานภาคใต้
นายแพทย์ศรายุทธ อุตตมางคพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวถึงสถานการณ์โรคชิคุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อ ล่าสุดว่า มีผู้ป่วยในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัดภาคอีสานตอนล่าง รวม 13 ราย คือ ผู้ป่วย ที่จังหวัดศรีสะเกษ 2 ราย เป็นทหารที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ส่วนผู้ป่วยที่จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวน 1 ราย และผู้ป่วยในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 10 ราย โดยผู้ป่วยดังกล่าวมีประวัติการไปทำงานสวนยางที่ ต.ตาเนาะแมเลาะ อ.เบตง จ.ยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา โดยมีข้อมูลพื้นฐานของราษฎรในพื้นที่ พบว่า กว่าร้อยละ 20 จะมีอาชีพรับจ้างทำสวนยางพาราในจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ โดยราษฎร จะเดินทางไปกลับภูมิลำเนาเป็นระยะๆ สำหรับการป้องกันและควบคุมโรคให้อยู่ในวงจำกัด นั้น ได้เน้นการเฝ้าระวังผู้ป่วยรายใหม่ หากพบรายใดมีไข้ มีผื่นแดงขึ้น และปวดข้อ ขอให้นึกถึงโรคไข้ปวดข้อ และแจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ทันที เพื่อควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาดอย่างทันท่วงที

ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี กล่าวต่อว่า โรคไข้ปวดข้อ ไม่ใช่โรคใหม่ เคยพบในประเทศไทยมานานแล้ว เกิดจากยุงลายสวนกัด เมื่อป่วยแล้วจะมีภูมิต้านทานโรคตลอดชีวิต ไม่ป่วยซ้ำอีก ไม่ทำให้เสียชีวิต ไม่มีวัคซีนป้องกัน ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง โดยอาการไข้จะหายภายใน 3-7 วัน แต่อาการปวดข้อ จะยังอยู่เป็นสัปดาห์หรืออาจถึงเดือน แต่อาการจะหายได้เอง ไม่ต้องกังวลใจ สำหรับการป้องกันโรค ประชาชนต้องป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยนอนในมุ้งขณะนอนกลางวัน ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายทั้งในบ้าน และนอกบริเวณบ้านในรัศมีประมาณ 10 เมตร เพื่อลดปริมาณยุงลาย
[ ... ]