Thursday, October 8, 2009

มารู้จักสารในสีของผัก และผลไม้ที่เราทานกัน

หลายคนคงเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไม..ผัก และผลไม้ถึงมีสีสันที่แตกกันทั้งสีเขียว สีม่วง สีเหลือง สีแดง ทราบกันหรือไมว่า..สีสวยๆของผักผลไม้เหล่านี้ ยังมีสารที่ให้ประโยชน์แตกต่างกันด้วยนะค่ะ แล้วสารที่ว่าจะอยู่ในผักผลไม้สีอะไรบ้างนั้นต้องตามมาดูกัน>>>

@ คาโรทีนอยด์ @

คาโรทีนอยด์ คือ เม็ดสีเหลือง แสด ที่ละลายในไขมัน ในผักใบเขียว คาโรทีนอยด์อยู่ในคลอโรพลาสต์ ซึ่งมีคลอโรฟิลล์อยู่ด้วย สีเขียวของคลอโรฟิลล์จะกลบสีเหลืองของคาโรทีนอยด์จนมองไม่เห็น

คาโรทีนอยด์เป็นสารพวกไฮโดรคาร์บอนชนิดไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่ประกอบด้วยคาร์บอน 40 อะตอม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แคโรทีน และเบตาแคโรทีน แคโรทีนมีคุณค่าทางโภชนาการ บางครั้งเรียกว่า โพรวิตามินเอ สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอที่ลำไส้เล็ก

การหุงต้มธรรมดาไม่มีผลต่อสี หรือคุณค่าทางอาหาร คาโรทีนอยด์ไม่ละลายน้ำทำให้เป็นการป้องกันไม่ให้สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการ แต่เนื่องจากโมเลกุลของคาโรทีนอยด์ไม่อิ่มตัว จึงถูกออกซิไดส์ได้ เมื่อทิ้งให้ถูกอากาศนานๆ จะทำให้สูญเสียวิตามินเอ และทำให้คาโรทีนอยด์ในอาหารตากแห้งเปลี่ยนสี วิธีป้องกัน คือ การลวกผัก และรมควันกำมะถัน หรือคลุกซัลไฟท์ ก่อนที่จะนำผลไม้ไปตากแห้ง

@ คลอโรฟีลล์ @

คลอโรฟีลล์ เป็นเม็ดสีที่ให้สีเขียวแก่พืช อยู่ในคลอโรพลาสต์คลอโรฟีลล์ใช้ในการสังเคราะห์แสงของพืช คลอโรฟีลล์ดูดพลังงานจากแสงแดดไว้เพื่อสร้างคาร์โบไฮเดรตจากน้ำ และก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์
คลอโรฟีลล์เป็นโมเลกุลใหญ่ ในพืชที่ใช้เป็นอาหาร พอคลอโรฟีลล์เอ และบี ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกับฮีโมโกลบินในเลือด มีข้อต่างคือ ฮีโมโกลบินมีเหล็ก แต่คลอโรฟีลล์มีแมกนีเซียม เมื่อได้รับความร้อนไฮโดรเจนจะเข้าไปแทนที่แมกนีเซียมในโมเลกุลของ คลอโรฟีลล์ได้ง่าย จะได้สารที่ชื่อว่าฟิโอไฟติน ซึ่งมีสีเขียวอมน้ำตาล

เมื่อแมกนีเซียมถูกแทนที่แล้ว จะเติมแมกนีเซียมกลับเข้าไปในโมเลกุลอีกยาก แต่การเติมเกลืออาซีเตค ของเหล็กสังกะสีและทองแดง จะช่วยให้สีเขียวสดใหม่ แต่วิธีนี้ไม่ใช้กันในการหุงต้มผัก เพราะคลอโรฟีลล์ไม่ละลายน้ำ น้ำต้มผักใบเขียวจึงมีสีเขียวเพียงเล็กน้อย คลอโรฟีลล์ที่บริสุทธิ์สามารถถูกทำลายด้วยไขมัน เมื่อใส่ผักใบเขียวลงในน้ำเดือด จะเขียวสด และดูใสขึ้นเพียงพักเดียว ต่อมาจะกลายเป็นสีอมเหลือง

@ ฟลาโวนอยด์ @

ฟลาโวนอยด์ แม้เม็ดสีหลายชนิดที่จัดอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์จะมีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึง กัน แต่ก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันมาก อาจแบ่งฟลาโวนอยด์ออกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มคือ แอนโธซานติน ซึ่งมีสีเหลืองนวล แอนโธไซยานิน ซึ่งมีสีม่วงแดง และแทนนินที่ไม่มีสี แต่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลได้ง่าย

รู้อย่างนี้แล้ว ก็หันมากินผักและผลไม้กันเยอะๆ จะดีกว่า เพื่อสุขภาพที่ดี

แหล่งที่มา:
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=74942&NewsType=2&Template=1

0 comments: