Wednesday, October 1, 2008

สารบ่งชี้โรคมะเร็ง (Tumor markers)

โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการตายของประชากรไทยเป็นอันดับ 3 เนื่องจากโรคมะเร็งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น สารก่อมะเร็งในอาหาร การสูบบุหรี่ การสัมผัสถูกกับสารก่อมะเร็ง ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะมลภาวะของสิ่งแวดล้อมซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ทำให้มีอัตราการเจ็บป่วยจากโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งส่วนมากมักมาพบแพทย์ เมื่อปรากฏอาการชัดหรือมีการลุกลามของโรคมากแล้ว ทำให้การป้องกันรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควร หากถ้าได้มีการตรวจพบโรคมะเร็ง ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกจากการตรวจหาสารที่จะช่วยบ่งชี้หรือมีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง (tumor markers) ในเลือด จะช่วยทำให้แพทย์สามารถให้การรักษาได้ทันการณ์ ผู้ป่วยก็จะมีโอกาสหายจากโรคมะเร็งได้มากยิ่งขึ้นการตรวจหา Tumor markers เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก หรือช่วยในการติดตามผลของการรักษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ป่วยที่จะมีโอกาสหายจากมะเร็งได้มากขึ้นTumor markers คืออะไร ?คือตัวบ่งชี้ ทางชีวเคมีที่จะบอกว่ามีมะเร็งหรือไม่ อาจเป็นสารที่ไม่พบในภาวะปกติ หรือเป็นสารปรกติในร่างกายเรา แต่มีปริมาณเพิ่มสูงมากผิดไปจากปกติ สามารถตรวจพบได้ทั้งในเลือด หรือสารคัดหลั่ง (biological fluid)

•สารที่ไม่พบในภาวะปกติ และเป็นสารที่ผลิตมาจากเซ,มะเร็งโดยตรง เช่น CEA , AFP,PSA, CA 19-9 เป็นต้น

•สารที่มีอยู่แล้วในร่างกายซึ่งผลิตโดยเซลปกติ แต่กลับเพิ่มปริมาณมากขึ้นเมื่อ เซลนั้นกลายเป็นเซลมะเร็ง สารดังกล่าวได้แก่ฮอร์โมนต่างๆ เช่น HCG, Calcitonin, ACTH เป็นต้น หรือเอนไซม์เช่น PAP, ALP, LDH, GGT เป็นต้น
การจัดตารางเวลาสำหรับการตรวจ Tumor markersสำหรับผู้ที่เริ่มตรวจพบแล้วหรือผู้ที่เริ่มต้นจะทำการรักษา ควรตรวจวัด tumor markers ในช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้

.ก่อนการผ่าตัด หรือก่อนเริ่มต้นให้การรักษาใดๆ เพื่อเก็บเป็นค่าเริ่มต้นของผู้ป่วยแต่ละราย

•ภายหลังการผ่าตัด
ปีที่ 1 และ 2
ควรตรวจทุกเดือนในระยะต้น จนกระทั่งค่าลดลงมามากแล้ว จึงเปลี่ยนมาตรวจทุก 3 เดือนปีที่ 3 - 5

ควรตรวจปีละ 1 - 2 ครั้ง
ตั้งแต่ปีที่ 6 ขึ้นไป

ตรวจทุกปี ปีละครั้ง
ตารางเวลาข้างต้นเป็นเพียงข้อแนะนำทั่วๆ ไป เนื่องจากระยะเวลาของการเกิดโรคมะเร็งแต่ละชนิดไม่เท่ากัน แต่การหมั่นตรวจเป็นระยะก็จะช่วยติดตามผลการรักษา และการตรวจพบการกลับมาเป็นใหม่ได้รวดเร็ว ช่วยให้การป้องกัน รักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

•ซึ่งถ้าตรวจได้ค่าเริ่มต้นมีค่าสูง แล้วเริ่มมีระดับลดลงอย่างรวดเร็วหลังการรักษา จะช่วยในการบ่งชี้ว่าการผ่าตัดได้ผล

•ถ้าค่าลดลงเพียงเล็กน้อยตามด้วยค่าที่กลับสูงขึ้นมาใหม่ในภายหลัง แสดงว่า การผ่าตัดรักษาไม่ได้ผลการที่มีค่า tumor markers สูงเพิ่มขึ้นใหม่หลังการให้เคมีบำบัดรอบแรกๆ เป็นสัญญาณบอกให้หยุดยา ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนวิธีการรักษา
เทคนิคการตรวจ tumor markersควรใช้วิธีการทดสอบที่มีความไวสูง ซึ่งจะช่วยสามารถตรวจปริมาณ tumor markers ที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยได้ ชุดทดสอบควรมีความจำเพาะต่อ tumor markers ให้มากที่สุด วิธีที่เหมาะสมในปัจจุบันจึงเป็น Immunoassay โดยอาจเป็นวิธี RIA / EIA /CICAการรบกวนผลการทดสอบ ในปฏิกริยา immunoassay ตามทฤษฏีแล้วจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการรบกวนของผลทดสอบได้ ซึ่งมีหลักที่ควรคำนึงถึงคือ

•High dose Hook Effect


เมื่อใช้ตรวจหาแอนติเจนที่มีความเข้มข้นสูงมากเกินไป จะเกิดผลต่ำปลอม ซึ่งกรณีนี้ปฏิกริยาการจับกันระหว่าง แอนติเจน-แอนติบอดีย์ถูกกีดขวาง โดยแอนติเจนที่มีปริมาณสูงมากเกินไป ซึ่งวิธีแก้ไขโดยการเจือจางตัวอย่างที่มีแอนติเจนสูง ก่อนทำการทดสอบ

•Heterophile antibodies


ในตัวอย่างทดสอบบางรายมี heterophile antibodies อยู่ในน้ำเหลือง โดยเฉพาะ human anti mouse antibodies ซึ่งวิธีการทดสอบส่วนใหญ่จะใช้ monoclonal antibodies จากหนูซึ่งจะทำให้เหมือนเกิดปฏิกริยาขึ้น ถึวแม้ จะไม่มีแอนติเจนในน้ำเหลืองเลย ทำให้ได้ค่าผลบวกปลอมได้


Tumor markers ที่สำคัญในการช่วยตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง

Carcinoembryonic antigen (CEA)CEA เป็นแอนติเจนที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งพบครั้งแรกในปี 1965 โดยพบจาก adenocarcinoma ของลำไส้ใหญ่ต่อมาพบว่ามีในลำไส้ ตับ ตับอ่อน ของทารกในครรภ์ และเริ่มลดลงเมื่อโตขึ้น ในผู้ใหญ่ยังคงมีการสร้าง CEA บ้าง ในปริมาณเล็กน้อย CEA เป็น glycoprotein ที่มีน้ำหนักโมเลกุล 200+/- 20 Kd ประกอบด้วย โปลีเปปไทด์สายเดี่ยวและคาร์โบไฮเดรต 45-60% ผลิตจากเซลมะเร็ง แล้วหลุดออกไปสู่กระแสโลหิต CEA มิได้มีความจำเพาะโดยตรงต่อมะเร็งของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งพียงอย่างเดียว พบได้ทั้งในมะเร็งของ ลำไส้ใหญ่-ไส้ตรง / เต้านม / ปอด / ตับ / ตับอ่อน โดยเฉลี่ยค่า CEA ที่สูงพบได้ 40-80% ของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งข้างต้น แต่ในผู้ป่วยมะเร็งของ ลำไส้ใหญ่-ไส้ตรง มีระดับ CEA ในเลือดสูงมาก และพบได้บ่อยกว่ามะเร็งชนิดอื่นๆ อาจพบค่า CEA สูงได้ ในสตรีมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 6 เดือน คนที่มีอาการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร / ปอด / ตับ โดยไม่ได้เป็นมะเร็งใดๆ เลยAlpha-1-fetoprotein (AFP)AFP เป็น fetal serum protein ตรวจพบในปี 1956 เป็น glycoprotein หลัก ในซีรั่มของทารกในครรภ์ มีขนาด 720 Kd ถูกสังเคราะห์จาก yolk sac /Liver/ ทางเดินอาหาร แล้วผ่านเข้าสู่น้ำคร่ำโดยผ่านทางเลือดของทารก ข้าม placental barrier เข้าสู่เลือดของมารดา ดังนั้นจึงทำให้ซีรั่มของสตรีมีครรภ์มีค่า AFP สูงขึ้นบ้าง และจะแปรผันตามอายุครรภ์ด้วยAFP มิได้มีความจำเพาะต่ออวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่จะพบค่าขึ้นสูงมาก และพบได้บ่อยในมะเร็งของตับ (hepatocellular carcinoma / hepatoma) ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยประมาณ 70% และพบได้บ้างแต่ค่าไม่สูงมากนักใน มะเร็งรังไข่/อัณฑะ มะเร็งปอด มะเร็งทางเดินอาหารและโรคตับอื่นๆ เป็นต้นAFP ในปัจจุบันใช้เป็น tumor markers ในการตรวจกรองตรวจหาผู้ป่วยมะเร็งตับ (hepatoma) ในระยะเริ่มแรกก่อนที่จะมีอาการ ทางคลีนิคใช้ตรวจในประชากรที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูง เช่น ผู้ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ บี / ตับอักเสบเรื้อรัง / ตับแข็ง โดยควรมีการตรวจซ้ำทุก 3-6 เดือน ต่อครั้ง อาจพบค่า AFP สูงได้ในสตรีที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป / ทารกในครรภ์Prostatic Specific Antigen (PSA)PSA เป็นโปรตีนที่จำเพาะต่อเนื้อเยื่อของมะเร็งต่อมลูกหมาก พบครั้งแรกในปี 1971 เป็น glycoprotein สายเดี่ยวที่มีขนาด 34 Kd เป็นโปรตีนที่สร้างจาก epithelial cells บริเวณ acinus และท่อของต่อมลูกหมากเท่านั้น จึงค่อนข้างมีความจำเพาะต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก PSA จะพบมีค่าสูงใน มะเร็งต่อมลูกหมาก ระดับในซีรั่มมีความสัมพันธ์กับระยะและการลุกลามของโรค ใช้ในการพยากรณ์และตรวจหามะเร็ง หรือตรวจหาการลุกลามของโรคภายหลังการรักษา มะเร็งของต่อมลูกหมากจะดำเนินไปอย่างช้าๆ แต่อัตราของโรคจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในชายที่มีอายุเกิน 65 ปี ค่าปกติในคนทั่วไปอยู่ที่ < 10 ng/ml. ความไวของ PSA ต่อมะเร็งต่อมลูกหมากประมาณ 70%Carbohydrate antigen CA 19-9CA19-9 ค้นพบในปี 1981 เป็น carcinoma cell surface antigen ตรวจพบได้ใน fetal epithelium ของลำไส้ใหญ่ / ลำไส้เล็ก / กระเพาะอาหาร / ตับ / ตับอ่อน การตรวจหา CA19-9 จะมีประโยชน์เฉพาะการใช้ซีรั่มหรือพลาสม่า โดยจะตรวจพบมีค่าสูงใน มะเร็งตับอ่อน กระเพาะอาหาร ระยะหลังของลำไส้ใหญ่ (ใช้ตรวจเสริมร่วมกับ CEA)CA19-9 มีประโยชน์ในการแยกมะเร็งตับอ่อนออกจากโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมีอาการทางคลีนิคคล้ายกัน โดยมะเร็งตับอ่อนจะมีระดับในซีรั่มสูงกว่ามาก ภายหลังการผ่าตัดระดับ CA19-9 จะกลับสู่ภาวะปกติภายใน 10-20 วัน การตรวจพบค่ากลับมาสูงซึ่งอาจตรวจพบก่อนมีอาการทางคลีนิค แสดงถึงการกลับมาเป็นใหม่ได้ในช่วง 6-12 เดือนCarbohydrate antigen CA 125CA 125 ค้นพบในปี 1981 เป็น cell surface glycoprotein ขนาด 200 Kd ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งรังไข่ การมีระดับสูงในซีรั่มมักพบใน ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ประมาณ 75% และสัมพันธ์ดีกับขนาดของก้อนเนื้องอกและการกลับมาเป็นใหม่ การตรวจหา CA125 ในการพยากรณ์โรค และติดตามผลการรักษาและการกลับมาเป็นใหม่ของ adenocarcinoma ของรังไข่ในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ อาจพบค่าสูงได้ถึง 13,000 U/ml. และหลังการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกค่า CA125 จะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 1 อาทิตย์ และกลับสู่ระดับปกติภายใน 3 อาทิตย์หลังการรักษาHuman chorionic gonadotropin (HCG)HCG เป็นฮอร์โมนที่พบว่าสัมพันธ์กับ tumor markers ในปี 1930 เป็น glyco protein ขนาด 45 Kd ประกอบด้วย 2 subunits คือ alpha และ beta โดยส่วน alpha subunit มีโครงสร้างคล้ายกับ alpha subunit ของฮอร์โมน LH / FSH และ TSH แต่ส่วนของ beta subunit มีลักษณะเฉพาะและออกฤิทธิ์ทำหน้าที่เฉพาะของแต่ละฮอร์โมน beta subunit ของ HCG และ LH มีลำดับของกรดอะมิโนเหมือนกันถึง 82% ฮอร์โมน HCG มีระดับสูงในซีรั่มในผู้ป่วย มะเร็งเต้านม / Choriocarcinoma และ Testicular carcinoma เป็น tumor markers ที่จำเพาะสำหรับการตรวจวินิจฉัย และติดตามการรักษา Chorio carcinoma และเมื่อใช้ร่วมกับ AFP จะให้ประโยชน์ในการพยากรณ์ติดตามผลการรักษา และตรวจสอบการกลับมาเป็นใหม่ใน testicular germ cell neoplasms ค่าปกติในผู้ชายและสตรีก่อนวัยหมดประจำเดือน มีค่า <5 IU/ml. สำหรับสตรีวัยหมดประจำเดีอนมีค่าปกติ <10 IU/ml.


บทบาทและประโยชน์ของสารบ่งชี้มะเร็ง (tumor markers)


1.เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรค


เนื่องจาก tumor marker ส่วนใหญ่มีความไวสูงจึงสามารถใช้ในการวินิจฉัยโรคได้ แต่ควรจะใช้ร่วมหรือเสริมกับการตรวจอื่นๆ เช่น การใช้ CA19-9 ร่วมกับการตรวจด้วยอุลตราซาวนด์ หรือเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ จะสามารถช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งตับอ่อนได้ดีขึ้น ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ tumor marker มากกว่า 1 ชนิดในการช่วยวินิจฉัยโรค อย่างไรก็ตาม ควรตระหนักว่าการตรวจวัด tumor marker นั้น อาจตรวจได้ผลในลักษณะผลบวก หรือผลลบปลอมได้ เพราะมะเร็งในช่วงเริ่มต้นบางชนิด ระดับ tumor marker ไม่สูงนัก และพอให้ค่าขึ้นสูงก็ต่อเมื่อเกิดการแพร่กระจายของมะเร็งไปมากแล้ว

2.เพื่อการพยากรณ์โรค


สามารถใช้ในการช่วยพยากรณ์ความรุนแรงของโรค เป็นประโยชน์ในการช่วยแพทย์ในการตัดสินใจเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย เช่น ควรให้การรักษาโดยการผ่าตัด หรือโดยการให้รังสีรักษาหรืออาจใช้เคมีบำบัด เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องตรวจระดับ tumor marker ในผู้ป่วยทุกรายก่อนเริ่มต้นให้การรักษา

3.การตรวจคัดกรองโรค (Screening Test)


คุณสมบัติของ tumor marker ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการตรวจกรองเพียงอย่างเดียว แม้ว่าส่วนใหญ่จะมีความไวสูงในการตรวจวินิจฉัยโรคแต่ก็ยังมีความจำเพาะต่ำ เช่น ในผู้ป่วยมะเร็งตับขั้นต้น แม้จะตรวจพบค่า AFP สูงผิดปกติถึง 95% ของผู้ป่วย แต่ค่า AFP ก็สูงผิดปกติได้ในโรคอื่นๆ ของตับ เช่น ตับอักเสบจากการดื่มเหล้า โรคตับแข็ง เป็นต้น แต่ก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี่ด้านอิมมูโนวิทยาอย่างไม่หยุดยั้ง อาจสามารถใช้ในการตรวจกรองโรคมะเร็งได้ในเร็วๆ นี้

4.การตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา


ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดชองการตรวจ tumor marker คือ การติดตามผู้ป่วยมะเร็งในระหว่าง และภายหลังการรักษา ควรมีการตรวจเป็นระยะๆ ทุก 3-6 เดือน หรือถี่กว่านั้นในระยะแรก ค่าที่ตรวจได้ควรนำไปเปรียบเทียบกับค่าที่ได้ก่อนให้การรักษา หากการรักษานั้น ได้ผลดีจะพบว่าระดับ tumor marker ลดลงจนกลับมาสู่ระดับปกติ หากระดับ marker ยังให้ค่าสูงอยู่แสดงว่าการรักษาไม่ได้ผลควรพิจารณาเปลี่ยนวิธีการรักษา

5.การสืบค้นโอกาสการเกิดมะเร็งซ้ำและการกระจายของโรค


ผู้ป่วยมะเร็งทุกรายแม้ว่าจะรักษาจนหายหรือโรคสงบลงแล้ว ควรได้มีการตรวจวัดระดับ tumor marker อย่างน้อยทุก 6 เดือน ผู้ป่วยที่มีระดับปกติแล้ว ต่อมาเริ่มมีระดับสูงขึ้น ควรตรวจซ้ำภายใน 1 เดือน ถ้าพบว่าค่ายังสูงอยู่ให้ตรวจร่วมกับวิธีอื่นๆ ในการวินิจฉัยว่า เกิดโรคว้ำหรือเกิดการกระจายตัวของมะเร็งหรือไม่ tumor marker ที่ดี จะช่วยวินิจฉัยได้หลายเดือนก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดอาการ






แหล่งข้อมูล : www.thailabonline.com

0 comments: