Friday, October 3, 2008

กินเป็น อยู่เป็น ไม่เป็นมะเร็ง

ในทางวิชาการนั้น หากกินเป็นอยู่เป็นจะสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ 30 -40% ทั้งยังสามารถป้องกันโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และโรคกระดูกพรุน

1. ไม่สูบบุหรี่
• ผู้สูบบุหรี่มากกว่า 20 มวน/วัน นาน 10 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคมะเร็งปอด 8 -10 เท่าของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
• 80% ของโรคมะเร็งปอดเกิดจากการสูบบุหรี่
• สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ ถ้าหยุดสูบสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ถึง 60 – 70%
• การสูบบุหรี่ยังเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ และโรคอื่นๆ ด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง

2. ไม่ดื่มสุรา หรือดื่มสุราแค่พอควร ถ้ามีความจำเป็น
• ดื่มไม่ควรเกินปริมาณของ Ethanol 20 กรัม/วัน หรือประมาณวันละ 1 แก้ว
• ผู้ที่ดื่มสุรามากกว่า 60 กรัมของ Ethanol ต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเป็น 9 เท่าของผู้ไม่ดื่ม
• แต่ถ้าดื่มสุรามากกว่า 60 กรัมของ Ethanol และเป็นผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวันด้วย จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเป็น 50 เท่า
3. พฤติกรรมการกิน
• กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย โดยกินอาหารให้หลากหลาย อย่ากินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเป็นประจำ เพื่อให้ได้สารอาหารต่างๆ ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ และหลีกเลี่ยงการสะสมสารพิษอาหาร

- อาหารหมู่ที่ 1 : เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ
- อาหารหมู่ที่ 2 : ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน
- อาหารหมู่ที่ 3 : ผักต่างๆ
- อาหารหมู่ที่ 4 : ผลไม้ต่างๆ
- อาหารหมู่ที่ 5 : ไขมันจากสัตว์และพืช


• เลือกกินอาหารที่ประกอบด้วยธัญพืช เช่น เมล็ดถั่วต่างๆ งา ข้าวโพด ข้าวกล้อง มันฝรั่ง มันเทศ

• กินพืชผัก ผลไม้สดให้มากเป็นประจำตามฤดูกาล กินผัก-ผลไม้สดวันละ 500 กรัม เป็นประจำหรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารที่กิน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้ 20% หรือมากกว่า



ในผัก ผลไม้ มีเส้นใยอาหาร เกลือแร่ วิตามิน และสารหลายชนิด (bioactive compounds) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งขบวนการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งสามารถป้องกันโรคมะเร็งและเพิ่มภูมิต้านทานโรค

• กินอาหารที่มีไขมันต่ำ : ในผู้ใหญ่ผู้ชายควรได้พลังงานวันละ 2,000 แคลอรี ผู้หญิง 1,600 แคลอรี และรับไขมันไม่เกิน 25 – 30% ของปริมาณพลังงานทั้งหมดต่อวัน

• กินอาหารที่เค็มน้อยและหวานน้อย กินเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือ 6 กรัม ในอาหารทั้งหมดของแต่ละวัน ควรกินน้ำตาลไม่เกิน 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน

• อาหารหลายชนิดมีสารก่อมะเร็ง ควรกินให้น้อยลง อาหารเนื้อสัตว์ ปิ้ง ย่าง รมควัน ควรห่อด้วยกระดาษอลูมิเนียมจะช่วยลดสารก่อมะเร็ง ไม่กินส่วนที่ไหม้เกรียม ควรใช้วิธีต้ม นึ่ง อบ หรือใช้ไมโครเวฟ

• อาหารหมักดองเค็มและเนื้อสัตว์เค็มตากแห้ง ที่ใส่ดินประสิว (โปแตสเซียมไนเตรท) สารไนไตรท์ สามารถเปลี่ยนเป็นสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในร่างกายได้ จึงควรกินอาหารเหล่านี้ให้น้อยลง วิตามินซี สามารถป้องกันการเกิดสารไนโตรซามีนในร่างกายได้ จึงควรกินผักสดร่วมกันอาหารประเภทนี้

• อาหารที่มีเชื้อราขึ้น อาจมีสารพิษ Aflatoxin ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับ

• ผักชีฝรั่ง มีสาร polyacetylenes สามารถยับยั้งการสร้างสารส่งเสริมมะเร็งได้ ในท้องถิ่นที่มีการระบาดของพยาธิใบไม้ตับ ไม่กินปลาดิบๆสุกๆ (ลาบก้อย ก้อยปลา) ที่ทำมาจากปลาในตระกูลปลาตะเพียน หรือปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด ถ้ากินเนื้อสัตว์ สีแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู ในปริมาณที่มากเป็นเวลานาน จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ไม่ควรกินเกิน 80 กรัมต่อวัน

• ดื่มน้ำวันละ 8 – 10 แก้ว


4. หลีกการเผาไหม้ : หลีกเลี่ยงการสูดควันจากการเผาไหม้ของน้ำมัน ถ่านหิน ถ่านไม้ หรือจากการทำอาหาร
5. ออกกำลังกาย
6. ไม่อ้วน ไม่ผอม
7. ทำจิตใจให้สบาย


แหล่งข้อมูล : หนังสือ - แม่ไม่รู้หนูเป็นมะเร็ง

0 comments: