Wednesday, November 5, 2008

โรคกระดูกพรุน



โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่เนื้อกระดูกทั่วรายกายมีปริมาณมวลกระดูกลดลง
ซึ่งมีผลตามมาทำให้กระดูกสูญเสียความแข๊งแรงและเกิดการหักได้ง่าย

โรค กระดูกพรุนเป็นปัญหาของสตรีผู้สูงอายุทั่วโลก เป็นผลจากการที่ประชากรทั่วไปมีอายุยืนนานขึ้นและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขของ ประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากอุบัติการณ์เกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุมากขึ้น นำมาซึ่งผลเสียทางสุขภาพของผู้สูงอายุเอง เกิดการเจ็บปวด คุณภาพชีวิตที่เสียไปจากทุพพลภาพที่เกิดจากการไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังนำมาซึ่งสาเหตุให้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น

ผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมจากค่าใช้จ่ายใน การรักษาพยาบาลโดยตรง และทุพพลภาพที่เกิดตามมา ซึ่งต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยเสริมการดูแลเป็นพิเศษ

ปัจจัย ที่ส่งเสริมให้มีปริมาณมวลกระดูกลดลงและเกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม การมีประวัติโรคกระดูกพรุนในครอบครัว วิถีการดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่รับประทานอาหารโปรตีนจากสัตว์มาก การ

รับ ประทานอาหารรสเค็มจัด การดื่มกาแฟปริมาณมาก ๆ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ การไม่ได้ออกกำลังกายทั้งหมดล้วนมีส่วนช่วยส่งเสริมให้เกิดกระดูกพรุนได้มาก ขึ้น ในสตรีที่มีรูปร่างผอมเล็ก การหมดประจำเดือนก่อนวัย การออกกำลังกายอย่างหนัก ยาบางชนิด ฮอร์โมนบางชนิดที่ได้รับมากเกินไป และเป็นเวลานานก็ส่งผลให้เกิดกระดูกพรุนได้เช่นเดียวกัน ในสตรีหลังวัยหมดประจำเดือนจะพบว่า มีการลดลงของมวลกระดูกอย่างรวดเร็วใน 10-20 ปีแรกหลังหมดประจำเดือน ผู้สูงอายุที่มีรึกระดูกพรุนเกิดขึ้นมักมีปัจจัยส่งเสริมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน ซึ่งส่งผลให้มีการสลายกระดูกเพิ่มขึ้นและลดการสร้างของกระดูก

โรค กระดูกพรุนเป็นโรคที่ป้องกัน และรักษาได้ การป้องกัน คือ การส่งเสริมให้ร่างกายมีการสร้างมวลกระดูกสูงสุดและมากที่สุดในระยะที่ร่าง กายมีการเจริญเติบโต ได้แก่ ในช่วงวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยหนุ่มสาว โดยการบริโภคอาหารให้มีแคลเซียมเพียงพอ อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาเล็กปลาน้อย ที่รับประทานพร้อมกระดูก กุ้งฝอย ผักใบเขียวชนิดต่าง ๆ งา ถั่วต่าง ๆ ลดการบริโภคโปรตีนจากสัตว์หันมาบริโภคโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง เต้าหู้แทน การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมให้สม่ำเสมอจะช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ ในสตรีหลังหมดประจำเดือน การรับประทานแคลเซียมให้สูงกว่าที่เคยได้รับตามปกติจากอาหาร จะชะลอการลดลงของมวลกระดูกซึ่งจะเกิดมากในช่วง 10 ปีแรกหลังหมดประจำเดือน โดยการรับประทานแคลเซียมเสริมร่วมกับรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนมที่เสริมแคลเซียม ผักใบเขียวแมกนีเซียม เป็นเกลือแร่ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญของการแข็งแรงของกระดูก ควรจะได้รับไปพร้อมกับแคลเซียม อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง ได้แก่ เมล็ดพืชต่าง ๆ ถั่วต่าง ๆ ข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว ผลไม้ เช่น กล้วย แอปเปิ้ล ขณะเดียวกันลดอาหารเค็มจัด หรือมีโซเดียมสูง เนื่องจากโซเดียมทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมไปในปัสสาวะมากขึ้น และจะทำให้กระดูกเปราะเร็วมากขึ้น หมั่นออกกำลังกายให้สม่ำเสมอจะช่วยให้กระดูก และกล้ามเนื้อแข็งแรง ละเลิกการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทั้งสองอย่างจะลดการดูดซึมของแคลเซียมทำให้กระดูกบางเร็ว
สำหรับผู้ที่เกิดกระดูกพรุนแล้ว ควรได้รับการรักษาด้วยยาหรือยับยั้งการสลายตัวของมวลกระดูก เพื่อลดอาการของกระดูกหักขณะนี้มีการค้นคว้าหายาใหม่ ๆ ซึ่งจะนำมารักษาโรคกระดูกพรุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต


วารสารวิชัยยุทธ ฉบับ สุขภาพสตรีและเด็ก
ฉบับที่ 12
http://www.vichaiyut.co.th

0 comments: