Friday, October 10, 2008

โรคตับอักเสบ

โรคตับอักเสบ

สาเหตุของตับอักเสบ อาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. จากเชื้อโรค ซึ่งมีไวรัสเป็นหลัก
2. จากการดื่มสุรา
3. จากยาหรือสารพิษ มียามากมายเป็นร้อยๆ ตัว รวมทั้งสารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการตับอักเสบ
4. จากการติดเชื้อ เช่น ไข้ไทฟอยด์บางราย เลปโตสไปโรซิส มาลาเรีย
โรค ตับอักเสบจากไวรัส เป็นสาเหตุของตับอักเสบ ในขณะนี้มีมากกว่า 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ A – E และที่เพิ่มนอกเหนือจาก 5 ชนิด เช่น G, GB, F แต่ที่เราทราบพฤติกรรมของมันแน่ๆ จะมีเพียง 5 ชนิด ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส
ไวรัสตับอักเสบ A
ไวรัส ตัวนี้พบในมนุษย์เท่านั้น เชื้อจะเริ่มกระจายจากในตุ่มน้ำตามผิวหนัง ชนิดนี้มีความรุนแรงน้อยที่สุดแต่พบบ่อยมาก มักจะมีการระบาดในกลุ่มของคนที่อยู่รวมกันมาก ๆ การติดต่อของไวรัสชนิดนี้จะติดต่อกันโดยทางอาหารหรือน้ำดื่มเท่านั้น เชื้อจะมีปนเปื้อนออกมา กับอุจจาระและปัสสาวะ คนที่เป็นแม่ครัวหรือพ่อครัว หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรุงอาหาร มีโอกาสจะทำให้เชื้อปนเปื้อนลงสู่อาหารและน้ำดื่ม นอกจากนั้น ก็มีรายงานในนม อาหารทะเล เชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นแล้วจะหายเป็นปกติแทบทุกคน และไม่สามารถเป็นพาหะของเชื้อต่อไปอีกได้ ร่างกายมักจะกำจัดเชื้อได้หมด บางรายอาจจะมีอาการเล็กน้อยจนแทบไม่รู้สึก และหลังจากนั้นแล้ว มักจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคตลอดไป
ไวรัสตับอักเสบ B
เจ้าตัวนี้เรา ต้องป้องกันได้ยากที่สุด และนับเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอันใหญ่มากอันหนึ่ง ของประเทศไทยและทั่วโลก ไวรัสตับอักเสบ B มีทางติดต่อที่สำคัญคือ เพศสัมพันธ์ และสามารถติดจากแม่ไปสู่ลูกตั้งแต่ในครรภ์ ส่วนการรับเลือดนั้น ในปัจจุบันจะมีการตรวจกรองก่อนให้คนไข้ ว่าเลือดที่ได้จะปราศจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ B คนที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ B นั้น อาจจะมาจากผู้ที่ป่วยด้วยโรคตับอักเสบและหายแล้วไม่มีอาการแต่ไม่สามารกำจัด เชื้อได้หมด หรือได้รับเชื้อไปแล้วแต่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยแล้วยังคงมีเชื้ออยู่ในร่างกายตลอดไป มักจะไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ตลอดชีวิต และอาจจะเปลี่ยนไปเป็นโรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง หรือมีปัจจัยเสี่ยงทำให้เป็นมะเร็งตับได้มากขึ้น ในประเทศไทยพบราว 7-10% ของประชากร ทำให้อัตราตายของโรคมะเร็งตับ ในประเทศไทยสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของอัตราตายจากโรคมะเร็งทั้งหลายมาตลอด ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุการฉีดวัคซีนสำหรับตับอักเสบ B ให้เป็นวัคซีนพื้นฐานจำเป็นที่เด็กไทยทุกคนจะได้รับเช่นเดียวกับโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โรคเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบ B จึงมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ในประชากรยุคต่อไป
ไวรัสตับอักเสบ C
ติดต่อกันได้ทางหลักคือ ทางเลือด การแพร่เชื้อส่วนใหญ่ คือ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันของผู้ติดยาเสพติดโดยวิธีฉีด ส่วนการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และจากมารดาไปสู่ทารกในครรภ์นั้นพบได้น้อย ที่เหลือจะมีบ้างเช่นการปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งนานๆ จะพบสักครั้งหนึ่ง เนื่องจากปัจจุบันเราจะตรวจกรองผู้ที่บริจาคอวัยวะทุกรายเช่นกัน ว่าปลอดจากไวรัสตับอักเสบ C ไวรัสตับอักเสบ C นั้นทำให้เกิดโรคตับอักเสบได้ทั้งชนิดเฉียบพลัน เรื้อรัง และมีโอกาสก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับได้ คล้ายกับไวรัสตับอักเสบ B
ไวรัสตับอักเสบ D
ไวรัส ตับอักเสบ D นั้นไม่ได้เป็นตัวเดียวเดี่ยว ๆ มันจะต้องมีเปลือกหุ้มตัวของมันเป็นเปลือกของไวรัสตับอักเสบ B ดังนั้นตัวมันเองจึงทำอะไรไม่ได้ จำเป็นต้องมีไวรัสตับอักเสบ B อยู่ร่วมด้วยจึงจะก่อให้เกิดโรค
ไวรัสตับอักเสบ E
การติดต่อ มักจะติดต่อทางน้ำและอาหาร แต่มีความรุนแรงมากกว่าไวรัสตับอักเสบ A และทำให้เป็นตับอักเสบรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ คล้ายกับไวรัสตับอักเสบ B ตัวนี้มักจะพบการระบาดเป็นพักๆ คือในประเทศที่เรื่องการสาธารณสุขค่อนข้างแย่หน่อย มีความแออัดในชุมชนสูง อาหารและน้ำไม่ค่อยสะอาด
อาการของโรค
หลังจากที่ได้รับเชื้อเข้าไป แล้ว ระยะแรกยังไม่มีอาการ ต้องมีระยะฟักตัวที่เชื้อจะเจริญเติบโต แพร่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีจำนวนมากพอที่จะก่อให้เกิดโรคได้ ระยะฟักตัวคือ ระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อ จนเกิดอาการของโรค ในเชื้อไวรัสแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป

*
ไวรัสตับอักเสบ A มีระยะประมาณ 15-45 วัน เฉลี่ย 30 วัน
*
ไวรัสตับอักเสบ B มีระยะประมาณ 30-180 วัน เฉลี่ย 60-90 วัน
*
ไวรัสตับอักเสบ C มีระยะประมาณ 15-100 วัน เฉลี่ย 50 วัน

อาการของโรคตับอักเสบเฉียบพลัน
มีอาการแบ่งได้เป็น 3 ระยะดังนี้
1. ระยะอาการนำ มีอาการกอ่อนเพลียมีไข้ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ บางรายมีอาการคล้าย ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เบื่ออาหารมาก คลื่นไส้ อาเจียน อาจปวดท้องบริเวณชายโครงขวา มีท้องเสียได้ ปัสสาวะสีเหลืองเข้มผิดปกติ ฯลฯ อาการนำเป็นอยู่นาน 4 - 5 วัน จนถึง 1 - 2 สัปดาห์
2. ระยะอาการเหลือง “ดีซ่าน” ผู้ป่วยมีตาเหลือง ตัวเหลือง อาการทั่วไปดีขึ้น แต่ยังอ่อนเพลียคล้ายหมดแรง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือชายโครงขวา เนื่องจากตับโตบวมขึ้นผู้ป่วยตับอักเสบจากไวรัสพบว่า มีอาการดีซ่านเพียงครึ่งหนึ่งหรือน้อยกว่า
3. ระยะฟื้นตัว อาจยังอ่อนเพลียอยู่ อาการข้างต้นหายไป หายเหลืองโดยทั่วไป ระยะเวลาของการป่วยนาน 2 - 4 สัปดาห์ จนถึง 8 - 12 สัปดาห์
มี อีกกลุ่มหนึ่งที่จะเปลี่ยนเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาการทั้งหลายอาจจะหายไปหมดแล้ว หรือคงเหลือตัวเหลือง ตาเหลืองเพียงเล็กน้อย แต่ตรวจเลือดจะพบว่า ความผิดปกติของเอนไซม์ยังไม่หายไป คงอยู่นานเกินกว่า 3 สัปดาห์ เราจะเรียกว่าตับอักเสบเรื้อรัง มักจะพบในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B ราว 1-2% ของคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคตับอักเสบเฉียบพลัน ส่วนไวรัสตับอักเสบ A ไม่ทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง และไวรัสตับอักเสบ C จะทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรังได้เช่นกัน
ประมาณ 10% ของคนไข้ป่วยด้วยโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบ B จะเป็นพาหะแพร่เชื้อต่อไปได้ ตลอดชีวิต

การวินิจฉัยโรคตับอักเสบจากไวรัส
จากอาการดับกล่าว ร่วมกับ การตรวจร่างกาย และการตรวจเลือด ดังนี้
1. ตรวจเลือดสมรรถภาพตับ (Liver Function test) เอ็นซัยม์ SGOT & SGPT สูงกว่าปกติ ค่า มากกว่าร้อยจน ถึงเป็นพัน ๆ
ค่าของบิลิรูบิน (Bukurybub) สูงกว่าปกติด้วย ถ้าผู้ป่วยมีดีซ่าน
2. ตรวจเลือดว่าเป็นไวรัสชนิดใด เช่น
* IgM Anti HAV
* HBsAG ; IgM Anti Hbc etc.
* Anti HCV
การรักษาโรคตับอักเสบจากไวรัส
ยัง ไม่มียารักษาโรคโดยตรง เป็นการรักษาตามอาการ ได้แก่ การพักผ่อนเต็มที่ในระยะต้นจะทำให้อ่อนเพลียลดลง งดการออกแรงออกกำลังกาย การทำงาน งดการดื่มสุรา รับประทานอาการอ่อน ย่อยง่าย น้ำหวาน น้ำผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงอาการไขมันสูงในระยะที่มีคลื่นไส้ อาเจียนมาก ในรายที่อาการมากอาจให้สารน้ำเข้า เส้นเลือดตำ ให้ยาแก้คลื่นไส้ ยาวิตามิน ฯลฯ
สำหรับโรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส การรักษาทั่วไป ได้แก่
1. ให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ในระยะที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ให้นอนพักบนเตียงจนกว่าจะหายเพลีย เมื่อรู้สึกว่าแข็งแรงแล้วจึงค่อยลุกจากเตียง ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็นการออกกำลังกายต้องค่อย ๆ เริ่มทีละน้อย ๆ ควรให้อาหารบำรุงร่างกาย แต่ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ควรงดอาหารนั้น และควรงดสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตับ เช่น สุรา และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด (จักรพันธุ์ ปัญจะสุวรรณ, 2542)
2. ให้กินอาหารที่ได้แคลอรีมาก ๆ โดยเฉพาะพวกโปรตีนต้องกินให้มาก และลดอาหารพวกไขมันลง
การป้องการทำได้โดย
1. ตรวจเลือดเพื่อทดสอบดูว่า เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ มาก่อนหรือไม่ ถ้าเคยได้รับมีภูมิต้านทานหรือเป็นพาหะของโรค
2. ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบก่อนที่จะได้รับเชื้อ ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันน้องบีสุดน่ารักได้อย่างชะงัด (ประมาณเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว) แต่ก่อนฉีดคุณหมอก็คงจะต้องขอตรวจเลือดคุณก่อนว่าคุณมีภูมิคุ้มกัน (หรือคุ้มดีคุ้มร้ายหรือเปล่า) หรือยัง หรือคุณเป็นพาหะหรือเปล่า ซึ่งหลังจากตรวจสอบแล้วก็คงมีวิธีจัดการต่างๆกันไปตามแต่ละบุคคล
อาจจะต้องขอเจาะเลือดตรวจ
1. HBsAg --> ดูว่าคุณมีเชื้อหรือเปล่า เป็นพาหะหรือไม่
2. IgG anti-HBcAg --> ดูว่าเคยได้รับเชื้อมาหรือไม่
3. Anti-HBsAg --> ดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่
ซึ่ง หากคุณไปตรวจแล้วพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกัน ( คือตรวจไม่พบ Anti-HBsAg ) คุณหมอก็คงจะแนะนำให้คุณฉีดวัคซีนป้องกันเป็นจำนวน 3 เข็ม !!!!
"3 เข็ม!!! จะบ้าเรอะ เข็มเดียวชั้นก็กลัวขี้หดตดหายจะตายอยู่แล้ว นี่ล่อตั้ง 3 คนนะยะไม่ใช้หมอนปักเข็ม"
ใน การฉีดเข็มแรก ภูมิคุ้มกันจะขึ้นนิดหน่อย จึงต้องมีเข็มต่อไปเป็นการกระตุ้นเล้าโลมให้น้องบีคลายภูมิคุ้มกันออกมาทีละ น้อย จนเข็มที่ 3 จะได้ภูมิคุ้มกัน 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม โดยลำดับการฉีดเป็นอย่างนี้
เข็มแรก : เมื่อไหร่ก็ได้ที่ชาติต้องการ
เข็มสอง : 1-2 เดือนหลังเข็มแรก
เข็มสาม : 5-6 เดือนหลังเข็มสอง

โปรดกรุณาจำลำดับนี้ไว้ดีๆ และกรุณาอย่าเบี้ยวเมื่อหมอนัดไปเจ็บตัว เพราะหากคุณเถลไถลฉีดไม่ตรงตามกำหนด ภูมิคุ้มกันอาจไม่ขึ้น และคุณอาจต้องฉีดเพิ่มอีก 1 course ได้
( 1 course คือ 3 เข็มนะจ้ะ ไม่ใช่เข็มเดียว )

หากคุณเบี้ยวฉีดไม่ครบ เท่ากับเจ็บตัวฟรี ต้องไปตรวจภูมิใหม่อีกทีเลย เศร้า ....

"อืม แล้วถ้าเกิดชั้นตรวจเจอว่าเป็น มีน้องบีอยู่ในตับชั้นอยู่แล้วล่ะ จะทำไง"

หากพบเชื้อ ก็ไม่ต้องทำไงหรอกค่ะ นอนรอวันตายอย่างเดียว เอ๊ยไม่ใช่!!!! ทำใจให้สบาย ๆ เพราะโอกาสที่คุณจะเป็นมะเร็งตับอะไรนั่น มีเพียง 1/4 เท่านั้น -->นี่พยายามมองโลกแง่ดีแล้วนะคะ ส่วนอีก3/4 จะอยู่ไปจนแก่เฒ่าขึ้นคาน หรือหน้าจั่วอะไรของคุณนั่นอย่างสบาย ๆโดยไม่มีโรคอะไรรบกวน
3. ไม่รับประทานอาหาร และน้ำดื่มที่ไม่สะอาด และอาหารที่ปรุงไม่สุกทุกชนิด
4. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกันกับผู้ที่ทราบว่าเป็นโรคนี้
5. หลีกเลี่ยงการมีสัมพันธ์ทางเพศ เช่น เที่ยวหญิงโสเภณี หรือการมั่วสุมทางเพศแบบพวกชอบอนุรักษ์ป่าไม้เดียวกัน
5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดของผู้ป่วย เช่น รับการถ่ายเลือด จากผู้บริจาคเลือดที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่ในตัว หรือถูกเข็มที่ใช้เจาะเลือด หรือเข็มฉีดยาผู้ป่วยตำหรือแทง โดยอุบัติเหตุ
6. การงดสุรา และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และยาที่เป็นพิษต่อตับ
7. ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และมีคาร์โบไฮเดรตสูง
8. รับประทานวิตามินเสริม
1. วิตามินซี ช่วยในการฟื้นตัวของตับ
2. วิตามินบีรวม ช่วยในการทำงานของตับในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน
3. วิตามินเค ให้เมื่อผู้ป่วยมีการแข็งตัวของเลือดนานกว่าปกติ ป้องกันการเสียเลือด
9. ยา เช่น ยาที่รักษาตามอาการ ยาช่วยลดการคั่งของน้ำดี ซึ่งในการให้ยาผู้ป่วยตับอักเสบต้องให้ในขนาดน้อย แต่ได้ผล
10. การรักษาภาวะแทรกซ้อนของตับแข็ง ในผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง เช่น การตกเลือดที่หลอดอาหารโป่งพอง, ภาวะบวมน้ำในช่องท้อง
11. การป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
12. การให้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง

ที่มา:
http://www.sukumvithospital.com
http://www.techno.msu.ac.th
http://www.bloggang.com
http://www.malila.com
http://www.arokaya.org
http://www.thaiclinic.com

0 comments: