Tuesday, December 9, 2008

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด


ในประเทศไทยมะเร็งปอด (lung cancer) เป็นโรคที่เป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆ ทั้งในเพศชายและหญิง สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าคนไทยเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์ว่า ในแต่ละปีทั่วโลกมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ข้อมูลทั่วโลกยังพบว่า มะเร็งปอดเป็นโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตมากติดอันดับ 1 ใน 5 ทุกประเทศ

โรคมะเร็งปอดพบมากในคนอายุ 50-75 ปี เพศชายพบมากกว่าเพศหญิง พบมากในภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งนิยมสูบบุหรี่พื้นเมือง ขี้โย หรือยามวนซึ่งมีปริมาณทาร์และสารก่อมะเร็งอื่นๆ สูง ผลการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบชาวบ้านในพื้นที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดจากหมอกควันพิษและเสียชีวิตมาก เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ สาเหตุเพราะสภาพพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ และความกดอากาศสูง ทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กต่ำกว่า 2 .5 ไมครอน กระจายอยู่ในพื้นที่ราบแอ่งก้นกระทะ รวมทั้งสูดดมก๊าซเรดอน จากแร่ธาตุยูเรเนียม ที่มีอยู่มากผิดปกติกระจายตัวใต้พื้นดินสู่ผิวดิน ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกบ้านติดกับผิวดิน ทำให้สูดดมก๊าซเรดอนโดยไม่รู้ตัว ผลการวิจัยพบผู้ป่วยมะเร็งปอดสูงถึง 80-90 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิตถึง 40 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงเป็น 5 เท่าของค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ

สาเหตุ

  1. การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานาน ๆ
  2. มีส่วนสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปอด กล่าวคือ 80% ของผู้ที่เป็นมะเร็งปอดสูบบุหรี่จัด ซึ่งเกณฑ์ที่ถือว่าสูบบุหรี่จัด ได้แก่ การสูบบุหรี่ อย่างน้อยวันละ 20 มวน ติดต่อกัน 20 ปี ขึ้นไป หรืออย่างน้อย วันละ 10 มวน สูบติดต่อกันประมาณ 30 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 จะเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ และประมาณร้อยละ 5 จะเป็นผู้ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่น การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด ในบุหรี่ 1 มวนจะมีสารซึ่งเป็นส่วนประกอบประมาณ 4,000 ชนิด และในจำนวนนี้จะมีประมาณ 60 ชนิดที่เป็นสารพิษหรือสารก่อมะเร็ง สารเหล่านี้เมื่อผ่านเข้าปอดจะทำลายเซลล์ปอดทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ เมื่อระยะเวลานานขึ้นเซลล์เหล่านี้จะกลายเป็นเซลล์มะเร็งโอกาสในการเกิดมะเร็งปอดในผู้สูบบุหรี่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุที่เริ่มสูบบุหรี่ ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ จำนวนบุหรี่ที่สูบในแต่ละวัน และความลึกในการสูบบุหรี่เข้าปอด จากข้อมูลพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ถึง 10 เท่า และถ้าสูบบุหรี่วันละ 1 ซอง หรือ 20 มวน โอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดจะเพิ่มเป็น 20 เท่า การหยุดสูบบุหรี่จะช่วยลดการเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดได้และจะเห็นผลชัดเจนเมื่อหยุดสูบบุหรี่ได้นานมากกว่า 5 ปี ขึ้นไปการสูบซิการ์หรือไปป์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติเช่นกัน ระยะเวลาที่สูบ ปริมาณแต่ละวัน และความลึกของการสูบ ล้วนมีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากน้อยต่างกัน สำหรับผู้ที่ไม่ได้สูบเข้าปอดก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในช่องปากได้อีกด้วย
  3. ผู้ที่สูบบุหรี่และเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอด แผลเป็นในปอด อันเป็นผลมาจากการเป็นโรคเรื้อรังมานาน เช่น วัณโรคปอด อาจจะเป็นจุดก่อให้เกิดมะเร็งได้
  4. ผู้ป่วยส่วนน้อยอีก 10-15% ที่ไม่สูบบุหรี่อาจมีประวัติได้รับสารก่อมะเร็งบ่อยๆ เช่น
  5. มลภาวะในอากาศจากอุตสาหกรรมโลหะหนัก ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเหมืองแร่ เช่น
  6. แอสเบสตอส แร่เรดอน เยื่อหิน (asbestos) พบได้ในเหมืองหรือโรงงานที่ผลิตหรือใช้สารนี้ เช่น โรงงานที่ผลิตหรือใช้สารนี้ เช่น โรงงานผลิตผ้าเบรค คลัทช์ ฉนวนกันความร้อน และโรงงานทอผ้า ละอองของสารเยื่อหินสามารถล่องลอยในอากาศ เมื่อสูดดมเข้าไปสารจะไปตกค้างในปอด ทำอันตรายต่อเซลล์ปอด ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดตามมา ผู้ที่สูดดมสารนี้จำนวนมากมีโอกาศเกิดโรคมะเร็งปอดได้มากกว่าคนปกติถึง 3 – 4 เท่า ผู้ที่สูดดมเอาสารแอสเบสตอส ซึ่งพบในฉนวนกันความร้อนในบ้าน ผ้าเบรค และคลัส
    ก๊าซเรดอน (radon) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส เป็นก๊าซธรรมชาติที่พบในดินและก้อนหิน ก๊าซชนิดนี้สามารถทำอันตรายต่อปอดและทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ ผู้ที่ทำงานในเหมืองอาจได้รับอันตรายจากก๊าซนี้ได้แอสเบสตอส นิเกล และสารกัมมันตรังสี
  7. ควันมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ความสกปรกของอากาศในเมืองใหญ่ ๆ ทำให้ภาวะอากาศเป็นพิษ เกิดจากควันดำของท่อไอเสีย ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ
  8. ปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งปอด ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นผลร่วมกัน จาก
  9. ลักษณะเสี่ยงทางพันธุกรรม กับ สารที่ระคายต่อเซลล์ของปอดจากภายนอก ที่สำคัญคือ สารพิษจากควันบุหรี่ สารกัมมันตภาพรังสี และอาจจะเกี่ยวกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
  10. การรับประทานอาหารเสริมวิตามินอีในปริมาณมากๆ เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด การรับวิตามินอีเพิ่มขึ้นทุกๆ 100 มิลลิกรัมกรัม/วัน จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด ร้อยละ 7
  11. เซลล์มะเร็ง

    ปกติเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเมื่อเสื่อมและตาย ร่างกายก็จะสร้างเซลล์ใหม่มาทดแทนภายใต้การควบคุมของร่างกาย 
    แต่เมื่อไม่สามารถควบคุมได้ ร่างกายจะสร้างเซลล์ให้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นก้อนเนื้อที่ผิดปกติ หรือเนื้องอก แต่หากเนื้อส่วนนั้นเข้าไปแทรกแซง ทำลายอวัยวะอื่นๆ ก็จะเรียกว่า เนื้อร้ายหรือมะเร็ง

  1.  
    1. ข้อมูลทางการวิจัยพบว่า ความผิดปกติแรกเริ่มจะเกิดในระดับโครโมโซมของเซลล์ ซึ่งในเซลล์ที่เป็นปกติอยู่จะสามารถแก้ไขความผิดปกตินั้นได้เอง แต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดความผิดปกติบ่อยครั้งขึ้น หรือเซลล์นั้นไม่สามารถแก้ไขความผิดปกติที่เกิดได้ก็จะทำให้เกิดเซลล์ที่ผิดปกติอย่างถาวร ซึ่งจะเจริญเติบโตแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด

โรคมะเร็งปอดแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้สองกลุ่มคือ non-small cell lung cancer (NSCLC) และ small cell lung cancer (SCLC)

ซึ่งมะเร็งปอดทั้งสองกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโต และแพร่กระจายของโรคแตกต่างกัน วิธีที่ใช้รักษาจึงมีความแตกต่างกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

non-small cell lung cancer (NSCLC) เป็นมะเร็งปอดที่พบได้บ่อยกว่า small cell lung cancer (SCLC)

แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 3 ชนิด คือ squamous cell carcinoma (epidermoid carcinoma) , adenocarcinoma และ large cell carcinoma

small cell lung cancer (SCLC) เป็นกลุ่มมะเร็งที่พบได้น้อยกว่า non-small cell lung cancer (NSCLC)

แต่มะเร็งกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโตได้เร็วและมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้บ่อยกว่ากลุ่ม non-small cell lung cancer (NSCLC)

ชนิดของมะเร็งปอด

 

 

ในส่วนของมะเร็งปอด มักเกิดจากเซลล์ของเยื่อบุหลอดลม แบ่งได้ 2 กลุ่ม

 

 

 

 

 

  1. กลุ่มมะเร็งชนิดที่มีเซลล์ขนาดเล็ก พบได้ร้อยละ 15-20 เป็นก้อนเล็กที่มักจะใช้ยาเคมีบำบัดในการรักษา
  2. กลุ่มมะเร็งชนิดเซลล์ขนาดใหญ่ พบสูงถึงร้อยละ 80 ของมะเร็งปอด ก้อนเนื้ออยู่ได้นานกว่าชนิดแรก มักจะพบในปอดส่วนกลางใกล้ขั้วปอด ในผู้ที่สูบบุหรี่จัด ถัดไปมักพบที่ปอดส่วนนอก ของคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ บางครั้งเป็นผลจากการเป็นแผลที่ปอด เช่น แผลวัณโรค แผลปอดบวม

อาการ

มะเร็งปอดส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้อาจมีอาการไอ หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด ปอดอักเสบบ่อยๆ เจ็บลึกที่หน้าอก และอาการเสียงแหบ เป็นต้น ผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกอาจไม่แสดงอาการใดๆ ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ในระยะโรคลุกลามและโอกาสรักษาหายขาดลดลง

ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดบางราย อาจมีอาการแรกเริ่ม คือ ไอเรื้อรัง มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักตัวลด เสียงแหบ เสมหะมีเลือดปน และหายใจหอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก เพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ส่วนใหญ่เมื่อผู้ป่วยมีอาการข้างต้นก็ยังไม่ยอมพบแพทย์เพื่อตรวจ จนทำให้ร้อยละ 85 เสียชีวิตในเวลาต่อมา

ผู้ป่วยเป็นมะเร็งปอดในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ ต้องมีอาการรุนแรงหรือรู้ตัวอีกทีมะเร็งก็อยู่ในระยะลุกลามและแพร่กระจายแล้ว ดังนั้น ผู้ป่วยมะเร็งปอดกว่า 90 % จึงเสียชีวิตภายใน 1 - 2 ปี ระยะเริ่มแรกของโรค ไม่มีอาการใดๆ ที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นมะเร็งปอด แต่อาจพบอาการไอเรื้อรัง

อาการต่างๆที่อาจพบ ได้แก่

  1. ไอแห้งๆ อยู่นานกว่าธรรมดา ลักษณะไอแห้งๆ นานกว่าธรรมดา บางครั้ง มีเสมหะ หรือมีเลือดออกเป็นเพียงสายๆติดปนกับเสมหะออกมา
  2. ไอมีเสมหะ
  3. ไอเป็นเลือด แต่เลือดมักออกปนมากับเสมหะ
  4. ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยไม่มาพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา ทำใหโอกาสที่จะรักษาหายลดน้อยลง
  5. น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ซีด อ่อนเพลีย
  6. เสียงแหบ เพราะมะเร็งลุกลามไปยังประสาทบริเวณกล่องเสียง
  7. บวมที่หน้า คอ แขน และอกส่วนบน เนื่องจากมีเลือดดำคั่ง
  8. หายใจลำบาก และหอบเหนื่อย เนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อที่ปอดสำหรับหายใจเหลือน้อยลงไม่เพียงพอกับ 
    ความต้องการของร่างกาย
  9. กลืนลำบาก เนื่องจากหลอดอาหารถูกกด
  10. เจ็บปวด เนื่องจากมะเร็งลุกลามแพร่กระจายไปในกระดูกผนังอก
  11. อัมพาด เนื่องจากมะเร็งแพร่กระจาย ไปยังสมองหรือไขสันหลัง
  12. การวินิจฉัย

    1. ถ่ายภาพเอกซเรย์ปอด
    2. ตรวจเสมหะที่ไอออกมาเพื่อหาเซลล์มะเร็ง การตรวจเสมหะเพื่อหาเซลล์มะเร็งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดและเมื่อต้องการยืนยันผลการวินิจฉัยในกรณีที่ยังไม่ทราบแน่ชัด จะต้องมีการตัดเนื้อเยื่อมาตรวจเพิ่มเติม
    3. ส่องกล้องตรวจภายในหลอดลม แพทย์จะทำการส่องกล้องซึ่งมีขนาดเล็ก ผ่านทางช่องปาก หรือจมูกเข้าไปในท่อหลอดลมลงไปยังหลอดลมย่อย และสามารถเก็บเสมหะหรือตัดก้อนเนื้องอกผ่านทางกล้องนี้ได้เพื่อนำไปตรวจวินิจฉัย
    4. ใช้เข็มเจาะปอดแทงผ่านผนังทรวงอก โดยการแทงเข็มผ่านผิวหนังที่บริเวณทรวงอกไปยังก้อนที่ปอดเพื่อตัดชิ้นเนื้อมาตรวจ การเจาะน้ำในช่องปอดในกรณีที่มีน้ำในช่องปอด สามารถใช้เข็มแทงผ่านเข้าไปในช่องปอด เพื่อนำน้ำในช่องปอดมาตรวจหาเซลล์มะเร็งได้
    5. ขลิบชิ้นเนื้อจากหลอดลม หรือต่อมน้ำเหลืองเหนือไหปลาร้า เพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา บางรายอาจต้องทำการผ่าตัดทรวงอกเป็นการผ่าตัดเปิดเข้าไปในช่องทรวงอก เพื่อตัดเนื้อเยื่อที่สังสัยมาตรวจ ซึ่งเป็นการผ่าตัดใหญ่ วิธีนี้จะทำก็ต่อเมื่อไม่สามารถทำด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นได้

    เมื่อปี พ.ศ. 2550 นักวิทยาศาสตร์จากเมืองไทเป ไต้หวัน ประสบความสำเร็จในการพัฒนาชุดตรวจมะเร็งปอด โดยได้วิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อปอดที่นำมาจากผู้ป่วยมะเร็งปอด 125 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการรักษา และแยกเอายีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งปอด มาใช้พัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัย โดยใช้เทคโนโลยีดีเอนเอไมโครอาเรย์ (DNA Microarray) ด้วยเทคโนโลยีนี้ ทำให้ทีมวิจัยวินิจฉัยยีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปอดได้ถึง 672 ยีน ในจำนวนนี้ มียีนสำคัญ 4 ยีนที่เกี่ยวข้องกับโอกาสของการหายจากโรค และยีนสำคัญอีก 12 ยีน ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิดโรค ความรู้ที่ได้จากการศึกษายีนที่เกี่ยวข้องกับโรค นำไปสู่การพัฒนาเทคโลยีสำหรับชุดตรวจวินิจฉัยมะเร็งปอดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีทำให้แพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยมะเร็งปอดเป็นมะเร็งในระยะใด แม้กระทั่งในระยะที่ยังไม่มีอาการ ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่วิธีการรักษาด้วยวิธีต่างๆ อย่างเหมาะสม

    การรักษา

     

    1. ส่วนการรักษาในผู้ที่พบว่าเป็นโรคมะเร็งปอดแน่นอนแล้ว แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะรักษาด้วยวิธีใดจึงจะเหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาถึง อายุ ภาวะความแข็งแรงของร่างกาย ระยะของโรคชนิดของชิ้นเนื้อ และการยอมรับของผู้ป่วย
    2. การรักษาอาจใช้วิธีการผ่าตัด การฉายแสง เคมีบำบัด รวมทั้งการรักษาแบบประคับประคอง แพทย์จะทำการประเมินในขั้นต้นว่า ผู้ป่วยอยู่ในระยะเริ่มต้น หรือระยะลุกลามของโรค โดยการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของปอด รวมไปถึงตับและต่อมหมวกไต และการตรวจหาการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่พบบ่อยคือ กระดูกและสมอง
    3. มะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายได้ ถ้ามาพบแพทย์ในระยะเริ่มแรก และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเริ่มต้นของโรค การรักษาที่ดีที่สุดคือ ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก อาจร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด และการฉายแสง แต่ทั้งนี้สภาพร่างกายทั่วไป โดยเฉพาะสมรรถภาพการทำงานของปอดและหัวใจ จะต้องดีพอสำหรับการผ่าตัดด้วย
    4. หลังจากตรวจพบและทำการรักษา ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับการตรวจพบและการเริ่มรักษาในระยะใด ซึ่งมีผลต่อผู้ป่วยมะเร็งชนิดเซลล์ขนาดใหญ่
    5. ส่วนการป่วยเป็นมะเร็งชนิดเซลล์ขนาดเล็ก การคาดการณ์เวลาที่เหลือของชีวิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับการรักษาในระยะใด เพราะโรคจะแพร่เร็ว เมื่อโรคอยู่ในระยะลุกลาม การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและ/หรือการฉายแสง หวังผลให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้นบ้าง และไม่ทุกข์ทรมานมากนัก แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง และมีผลแทรกซ้อนจากการรักษาได้บ่อย แพทย์จำเป็นต้องคัดเลือกผู้ป่วยให้เหมาะสมในผู้ป่วยบางราย แม้หลังการรักษาอาการทุเลาลงแล้ว แต่วันดีคืนดีมะเร็งที่เหลือต้นตอเพียงน้อยนิดก็แบ่งตัวได้อีก ...อย่างรวดเร็ว และไม่หยุดยั้ง รอดพ้นจากการควบคุมของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยมะเร็งที่เคยเข้ารับการรักษาแล้วมีอาการดีขึ้น จำเป็นต้องเข้ารับตรวจติดตามผลการรักษาสม่ำเสมอ พยาธิแพทย์จำเป็นต้องมีวิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งชนิดนี้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การรักษาเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง

      การป้องกัน

    1. วิธีป้องกันโรคมะเร็งปอดที่ดีที่สุดคือการไม่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่สูบบุหรี่อยู่แล้วก็ให้เลิกสูบบุหรี่
    2. ตรวจร่างกายประจำปี โดยเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นมะเร็ง มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม เหมือง ผู้ที่สูบกัญชา สูดดมควันน้ำมันดีเซลจากท่อไอเสีย คนกรุงที่ต้องเผชิญกับมลภาวะเป็นพิษต่างๆ สำหรับการค้นหาโรคในกลุ่มเสี่ยง คือผู้ที่สูบบุหรี่มาก การตรวจเอกซเรย์ปอดประจำปี อาจจะมีประโยชน์บ้าง โดยช่วยให้พบรอยโรคได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะในรายที่เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังขึ้นแล้ว หรือในรายที่เป็นมะเร็งในช่องปากและกล่องเสียงมาก่อน
    3. ใส่ใจในอาหารการกินให้ถูกต้อง ไม่กินอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารที่มีรอยไหม้จากการปิ้ง-ย่าง อาหารหมักดอง มีดินประสิว ของทอดที่ใช้น้ำมันเก่าทอดซ้ำ ไม่กินปลาน้ำจืดดิบ เพราะที่เกล็ดและที่เนื้อปลามักจะมีตัวอ่อนพยาธิใบไม้ตับหากกินแบบสุกๆ ดิบๆ ไม่สูบหรือสูดดมบุหรี่ ไม่มีเซ็กส์มั่ว ไม่มัวเมาสุรา ไม่ตากแดดจ้า
    4. หมั่นสังเกตความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่น หากพบว่ามีก้อนเนื้อขึ้นที่บริเวณใดก็ตาม ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา รวมทั้งการออกกำลังกาย มองโลกในแง่ดี มีจิตใจที่สดชื่น ร่าเริง สร้างความสุขเพื่อเป็นเกราะกั้นความทุกข์ที่จะนำโรคภัยไข้เจ็บมาหาอีกต่อหนึ่ง

    ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
    ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

    0 comments: